วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พระนามองค์นาคราช และรายละเอียดเฉพาะองค์




พระนามองค์นาคราช และรายละเอียดเฉพาะองค์




(พญานาคเก้าเศียรแห่งอาณาจักรขอม)
พระนาม : พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี
พญานาคราชเจ้าแห่ง 3 โลก
(สวรรค์/ พิภพ/ บาดาล)
เพศ : หญิง (นาคเทวี) 
จำนวนเศียร 9 เศียร : 
เรียงสีตามลำดับของเศียรที่ 1-9 ดังนี้ (ชมพู - เขียว - ม่วง - ขาว - แดง - น้ำเงิน - เหลือง - ฟ้า - ส้ม)

คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- สิริโฉมงดงาม
- ดวงจิตอันเป็น 1 เดียว  (จากการรวมดวงจิตของพญานาคราชเจ้าผู้เป็นเศียรทั้ง 9)
- เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว
- มีวาจาสัตย์
- มีญานบารมี  ตามคุณลักษณะประจำองค์ของพญานาคราชเจ้าผู้เป็นเศียรทั้ง 9
- บูชาความรัก และมั่นคงในรัก

ฐานันดรศักดิ์ :
- พญานาคราชเจ้าที่กำเนิดจากการเสกด้วยอาคมของ
เทพสามตา (ฤาษี)
- พญานาคราชเจ้าผู้ถูกถ่ายทอดวิชา และพระเวทย์จากเทพสามตา (ฤาษี)
- พญานาคราชเจ้าผู้เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรขอม
- พญานาคราชเจ้าต้นตระกูลอาณาจักรขอม 9 เศียร
ชายานาคเทวีของพระฤาษีผู้เป็นองค์ศิวะเทพอวตาร (พระชัยวรมันที่ 7)

หน้าที่ :
- ควบคุมการสร้างปราสาทในพระราชวังทั้งหมดที่อยู่ในอาณาจักรขอม กลุ่มนครวัด-นครธม
- ปกครองอาณาจักรขอม
- ขยายเผ่าพันธุ์ ให้กำเนิดประชากร (ร่างเป็นมนุษย์ แต่มีอิทธิ์ฤทธิ์ พลังวิเศษจากพญานาค)
- สร้างความอุดมสมบูรณ์ทรัพยากร และแหล่งน้ำ
- สร้างอาณาจักร และความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ

สถานที่ประทับ :
- (เดิม) ปราสาทวิเมียนอากาศ หรือ ปราสาทพิมานอากาศ จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
- (ปัจจุบัน) ปราสาทภูเพ็ก (จังหวัดสกลนคร) ประเทศไทย

ฉลองพระองค์ :
ภาคพญานาค :
- พญานาคราชแผ่พังพาน 9 เศียร เศียรทั้ง 9 มีสีทองอมส้ม
- พระวรกายสีเขียวอ่อนเลื่อมน้ำตาลเข้มอมแดง เกล็ดสีทอง

ภาคมนุษย์ :
- พระพักตร์กลมมน ผิวกายขาวเหลือง รูปร่างผอมบาง
- เกศาหยักศกสีน้ำตาลทอง เกล้าครึ่งศีรษะเป็นมวยสูง ปล่อยปลายสยาย
- สวมผ้าแถบสีน้ำตาลทอง
- ผ้านุ่งสีน้ำตาลทอง
- สวมแหวนอัญมณีสีแดงที่นิ้วชี้ขวา สวมรัดแขนเป็นทองเกลี้ยง
- สวมกำไลพญานาคข้อมือซ้าย
- สวมกำไลข้อเท้าเป็นทองเกลี้ยง
- สวมสร้อยคอเป็นแบบห่วงทองเกลี้ยง มีอัญมณีตรงกลางรูปทรงแปดเหลี่ยมสีแดง

ภาคอิทธิฤทธิ์ :
- ดวงตาสีแดงอมส้ม เป็นเลื่อมสลับสี
- เฉพาะมุมพระโอษฐ์บนทั้ง 2 ข้าง ปรากฎเขี้ยวสีขาวยาวลงมาประมาณ 1 เซ็นติเมตร ขณะแย้มพระสรวล

บัลลังก์ประทับ :  
- พระแท่นส่วนพระองค์  จะอยู่ด้านทิศเหนือเป็นแบบเรียบ ไม่มีการแกะสลักใด ๆ ด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นห้าเหลี่ยม บุด้วยผ้าสีเทาควันบุหรี่ ทอลวดลายบนเนื้อผ้าด้วยดิ้นสีเงิน  (พระนางนาคฯ จะแบ่งร่างเป็นมนุษย์ส่วนบน  ส่วนล่างเป็นพญานาค  และบรรทมหลับโดยการนั่ง)

- ห้องและพระแท่นบรรทมด้านทิศตะวันออก  ไว้ใช้สำหรับบรรทมร่วมกับพระชัยวรมันที่ 7  เพื่อให้กำเนิดประชากรพญานาค (ในขณะบรรทมบนพระแท่นบรรทมนี้พระนางนาคฯ จะแบ่งร่างเป็นมนุษย์)

- ห้องและพระแท่นบรรทมด้านทิศตะวันตก  
ไว้ใช้สำหรับบรรทมร่วมกับพระชัยวรมันที่ 7  เพื่อให้กำเนิด
ประชากรกึ่งมนุษย์-กึ่งพญานาค (ในขณะบรรทมบนพระแท่นบรรทมนี้พระนางนาคฯ จะแบ่งร่างเป็นมนุษย์)

- ห้องด้านทิศใต้  มีจำนวนทั้งสิ้น 10 พระแท่น   เป็นที่ประทับของพระนางนาคฯ แ
ละพญานาคราชเจ้าทั้ง 9 องค์  ผู้เป็นเศียรของพระนางนาคฯ

อื่น ๆ :
- องค์เทพสามตา (ฤาษีที่มีรอยสักอักขระยันต์สีแดงตามร่างกาย เป็นผู้สร้างตัวตนของพระนางนาคเก้าเศียรให้กำเนิดขึ้น โดยการเสกด้วยอาคม เพื่อสร้างประชากร ความเจริญ รุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ และอาณาจักร 

- องค์เทพสามตา อัญเชิญองค์อาทิตยสิทธิ์มหานาคราช (พญานาคราชเจ้า 7 เศียรแห่งเมืองนครวัด นครธม) มากำหนดเขตพื้นที่ สำหรับทำพิธีกรรมอัญเชิญดวงจิตให้กับพระนางนาคเก้าเศียร

- บริเวณปราสาทวิเมียนอากาศ (พิมานอากาศ) และพื้นที่โดยรอบในปัจจุบัน คือ สถานที่ที่องค์อาทิตยสิทธิ์มหานาคราชกำหนดเขตไว้สำหรับประกอบพิธีกรรม

- องค์เทพสามตาอัญเชิญดวงจิต และวิญญาณแห่งเทพพญานาคราชเจ้าทั้ง 9 ที่อยู่ในวัง และตามสถานที่ประทับของแต่ละองค์ เข้าสู่กายนิมิตของพระนางนาควันละ 1 เศียร จนครบ 9 เศียร รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน

- องค์เทพสามตา ตั้งชื่อพระนางนาคเก้าเศียรองค์นี้ว่า "โสมา” และมอบมนต์ไว้ใช้กำกับพญานาคราชเจ้าทั้ง 9 เศียรของท่าน จำนวน 1 บท (แต่พระนางนาคโสมาไม่เคยนำมาใช้)

- เมื่ออัญเชิญดวงจิตครบ 9 วัน สรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่ประกอบพิธีกรรม ต่างก็ได้รับญาน บารมีที่สูงขึ้น  กลายเป็นพญานาคทั้งหมด รวมไปถึงพญางูจงอางที่มีนามว่า "สักกะ" และ "แสงนิล"        ผู้เป็นคู่ครอง โพรงอาศัยของท่านก็อยู่ในตำแหน่งที่มีการประกอบพิธีกรรมด้วย

- พญานาคราชเจ้าทั้ง 9 เศียรทำหน้าที่เพื่อพระนางนาคโสมา ดุจมีดวงใจเป็นหนึ่งเดียว และเรียกพระนางนาคโสมาว่า "เจ้านางน้อย"

- พระนางนาคโสมา และองค์อินทรนาคราช (ผู้เป็นเศียรที่ 2)  มีความผูกพันต่อกันเป็นคู่รัก

- องค์อินทรนาคราช (พญานาคราชเจ้าแห่งพนมบุรี) ได้สร้างปราสาทวิเมียนอากาศขึ้น เพื่อให้เป็นที่ประทับของพระนางนาคโสมา

- พระนางนาคโสมาปั้นแต่งที่ประทับภายในปราสาทวิเมียนอากาศ (พิมานอากาศ) ด้วยอาคม มีลวดลายลงรักสีเงิน (ขาวเหลือบมุก) บนผนังปราสาทสีน้ำตาลเข้มอมแดง

- พญางูจงอาง "สักกะ" สำนึก และชื่นชมในพระบารมีของพระนางนาคโสมา ที่ทำให้ตนได้กลายเป็นพญานาค จึงจงรักภักดี และเฝ้ามองที่จะใกล้ชิดท่านด้วยใจปฏิพัทธ์

- เมื่อพระนางนาคโสมา รับรู้ถึงความจงรักภักดีของพญานาคสักกะ จึงรับเข้าเป็นทหารนาคของท่าน ด้วยความเก่งกล้าจึงถูกแต่งตั้งให้เป็น "ขุนสักกะนาคราช" ทหารเอกในความปกครองขององค์อาทิตยสิทธิ์มหานาคราช (เศียรที่ 5)

- ความจงรักภักดีของขุนสักกะนาคราช ทำให้พระนางนาคโสมา มอบหมายให้เป็นผู้ทำงานสำคัญที่ไม่เป็นทางการ ขุนสักกะนาคราช จะใช้คำเรียกแทนองค์พระนางนาคโสมาว่า "แม่นางเจ้า"

- พระนางนาคโสมาถูกกำหนดให้พบกับฤาษี (ผู้เป็นองค์ศิวะเทพอวตาร) และบริวาร เพราะต้องมีหน้าที่สืบขยายเผ่าพันธุ์ตามความประสงค์ขององค์เทพสามตา

- พระนางนาคโสมา จึงมีหน้าที่ ๆ ต้องร่วมบรรทมกับฤาษี (ผู้เป็นองค์ศิวะเทพอวตาร) เพื่อสร้างประชากร โดยใน 1 วัน จะจุติประชากรได้เพียง 1 ชีวิตเท่านั้น 

- หลังร่วมบรรทม ประชากรของพระนางนาคโสมา  จะจุติเป็นกายนิมิต  แล้วกำเนิดออกจากหน้าท้องของท่านในทันที  ประชากรที่กำเนิดนี้จุติเป็น  2 ลักษณะ  สลับกันวันเว้นวัน  ระหว่างประชากรที่เป็นพญานาค กับประชากรที่เป็นกึ่งมนุษย์-กึ่งพญานาค ตามคุณลักษณะ  ดังนี้

    แบบที่ 1 (ประชากรที่เป็นพญานาค) จะมีชีวิตอาศัยอยู่ในพิภพใต้ดิน หรือในบาดาลได้ตลอดเวลา แต่จะอยู่บนพื้นดินติดต่อกันได้เพียงครั้งละ 7 วัน โดยจะต้องกลับลงสู่พิภพ หรือบาดาลก่อน จึงจะขึ้นมาบนพื้นดินได้ใหม่)

    แบบที่ 2 (ประชากรที่เป็นกึ่งมนุษย์-กึ่งพญานาค) จะมีชีวิตอาศัยอยู่บนพื้นดินได้ตลอดเวลา แต่จะลงไปในพิภพใต้ดิน หรือบาดาลติดต่อกันได้เพียงครั้งละ 7 วัน โดยจะต้องกลับขึ้นไปบนพื้นดินก่อน จึงจะลง ไปในพิภพใต้ดิน หรือบาดาลได้ใหม่) ประชากรทั้งสองแบบสามารถกลายร่างเป็นมนุษย์ และเป็นพญานาคได้ ท่านตั้งชื่ออาณาจักรแห่งนี้ว่า "อาณาจักรขอม"

- การร่วมบรรทม และการให้กำเนิดนั้น  มีความสำคัญแก่อาณาจักรขอม  เพราะจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ตามมาด้วยทุกครั้งไป  จากคุณลักษณะพิเศษที่ประชากรของท่าน  สามารถลงไปอยู่ในมิติใต้พิภพ  ซึ่งด้านล่างจะเป็นทางเชื่อมต่อกันไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้   ทำให้ประชากรพญานาคของท่านถูกกล่าวขานว่าเป็นพวก "ขอมดำดิน"

- พระนางนาคโสมา ได้ประทานทรัพยากรความอุดมสมบูรณ์ แหล่งน้ำ และความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ ประทานกำลังพลที่เป็นทหารนาคจากเมืองของพญานาคราชทั้ง 9 เศียร   ที่ล้วนมีความเก่งกล้า  และพละกำลังวิเศษในการ สู้รบ  กอปรกับบารมีของฤาษี (ผู้เป็นองค์ศิวะเทพอวตาร) จึงทำให้ฤาษี (ผู้เป็นองค์ศิวะเทพอวตาร) ได้รับชัยชนะ และความสำเร็จในการยึดตีเมืองต่าง ๆ มากมาย  มีการแผ่ขยายอาณาจักรออกไปอย่างยิ่งใหญ่  จนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระชัยวรมันที่ 7

- พระนางนาคโสมาสั่งให้พญานาคราชเจ้าแต่ละเศียร  สร้างปราสาทหลังใหญ่แต่ละแห่งให้กับพระชัย     วรมันที่ 7  เพื่อใช้ในการต่าง ๆ ตามความประสงค์  โดยหินที่ถูกนำมาสร้างปราสาทแต่ละแห่งนั้นจะเกิดจากการยกเคลื่อนภูเขาหินทั้งลูก แล้วใช้ความคมของหางพญานาคตัดแท่งหินออกเป็นก้อน  รอยตัดจึงเรียบคมบาง  หินที่ตัดจะถูกลำเลียงผ่านลำน้ำ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างปราสาท  การเคลื่อนย้าย และยกหินก้อนใหญ่ขึ้นตั้งไว้บนยอดปราสาทสูง  ล้วนต้องใช้พละกำลังจากประชากรที่จุติจากพระนางนาคโสมา และทหารนาคจากเมืองขององค์พญานาคราชเจ้าทั้ง 9  ซึ่งเป็นเศียรของพระนางนาคโสมาทั้งสิ้น  หินทุกก้อนที่ถูกนำไปสร้างปราสาท  จะมีน้ำลายของพญานาคที่มีลักษณะเป็นเมือกฟองสีขาวคล้ายน้ำลายมนุษย์ทาเคลือบไว้  เพื่อรักษาสีของหินให้สวยงามสม่ำเสมอ  ไม่ซีดจาง  เมื่อการสร้างปราสาทแล้วเสร็จ  ภูเขาที่เคยใช้เป็นแหล่งตัดหิน  จะถูกปิดด้วยมนต์ของพญานาคให้ปกคลุมไปด้วยผืนป่า  ไม่สามารถมีใครล่วงรู้  ว่าปราสาทนั้นถูกสร้างด้วยหินจากที่ใด  ความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ  ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งน้ำ  ความยิ่งใหญ่  เกรียงไกรของอาณาจักรขอมเรืองอำนาจ  ภายใต้การปกครองของพระชัยวรมันที่ 7  ที่ไม่มีอาณาจักรใดจะทัดเทียมได้ จึงบังเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว

- เมื่อพระชัยวรมันที่ 7 ได้รับชัยชนะในการสู้รบ อาณาจักรอื่นต่างถวายธิดาและบริวารมาเป็นเครื่องราชบรรณาการ พระชัยวรมันที่ 7 ทรงรับไว้ไม่ปฏิเสธ เป็นเหตุที่ทำให้พระองค์มีมเหสีอื่นที่เป็นมนุษย์

- บริวารของพระชัยวรมันฯ และบริวารที่มาจากต่างเมืองของมเหสีต่าง ๆ ได้สืบพันธุ์ และให้กำเนิดมนุษย์ขึ้นในอาณาจักรขอม

- มเหสีที่เป็นมนุษย์ เกิดความริษยาที่พระชัยวรมันฯ ต้องร่วมบรรทมกับพระนางนาคโสมาทุกคืน จึงรังเกียจ กล่าวหาพระนางนาคโสมา และประชากรของท่านว่าไม่ใช่มนุษย์ อีกทั้งพระชัยวรมันฯ ที่ไม่ทรงยึดมั่นในหน้าที่ และคำพูดที่เคยให้ไว้ต่อกัน พระนางนาคโสมาจึงได้ชื่อว่า “รักกับกษัตริย์ที่ไม่ได้มีใจดวงเดียว”

- ความเสียใจ จึงได้มอบหมายให้ขุนสักกะนาคราช ข้ารองบาทคนสนิทไปลอบปลงพระชนม์พระชัยวรมันที่ 7

- ด้วยพระบารมีของพระชัยวรมันที่ 7 ขุนสักกะนาคราชไม่สามารถสังหารพระองค์ได้ แต่ด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อพระนางนาคโสมา จึงได้พ่นพิษของตน (ลักษณะเป็นกลุ่มควันสีขาว มีฤทธิ์เป็นกรด) ใส่พระชัยวรมันที่ 7 แล้วหลบไปปลิดชีพด้วยสังวาลย์จากอกของตนสิ้นใจตายใต้โพรงหิน

- เมื่อพระนางนาคโสมา ทราบว่าขุนสักกะกระทำการตามคำสั่งไม่สำเร็จ และหนีไปปลิดชีพตนเอง ท่านจึงปิดปราสาทวิเมียนอากาศ และสาปตนเองด้วยอาคม ให้จมลงสู่พื้นล่างใต้พิภพ ประชากรที่เป็นพญานาคจำนวนมากที่รักท่าน ทั้งหมดจมตามท่านลงไปพร้อมกันในโพรงมิติซ้อนมิติลึกลงไปใต้พื้นดิน ณ บริเวณด้านล่างใต้ปราสาทวิเมียนอากาศในประเทศกัมพูชา (อาณาจักรขอมล่มสลาย ณ บัดนั้น) 

- หลังจากพระนางนาคโสมาล่มสลายอาณาจักรขอมลงสู่ใต้พิภพ พระชัยวรมันที่ 7 มเหสี และบริวารที่เป็นมนุษย์ทั้งหมดบนพื้นดิน เปลี่ยนเป็นอาณาจักรเขมร หรือประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เมื่อความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสลายลง ผู้คนที่เหลืออยู่บนพื้นดินโกรธแค้น ต่างสาปแช่งพระนางนาคโสมา และขุนสักกะนาคราชที่ได้พ่นพิษใส่พระชัยวรมันที่ 7 ไว้ จนเป็นเหตุให้มือของพระชัยวรมันที่ 7 ได้รับผลจากพิษของขุนสักกะฯ (มีบางบทความเขียนไว้ว่า ขณะที่พระชัยวรมันที่ 7 สังหารนางนาคเก้าเศียรนั้น เลือดของนางนาคฯ กระเด็นถูกพระองค์จนเป็นเหตุให้พระองค์เป็นโรคเรื้อนก็มี) 

- ผู้คนและแผ่นดินเขมรต้องคำสาปของพระนางนาคโสมามาอย่างยาวนาน เกิดภัยสงคราม ความยากจน พระพุทธศาสนาไม่เข้าถึง คนเขมรในปัจจุบันไม่สามารถหาหลักฐาน เครื่องมือ และวิธีการสร้างปราสาทในสมัยอาณาจักรขอมได้ การสร้างปราสาทน้อยใหญ่ โดยฝีมือมนุษย์เขมรหลังสมัยอาณาจักรขอมของพระนางนาคโสมา จึงไม่มีความแข็งแรงของตัวปราสาท  ปราสาทที่ถูกค้นพบล้วนแต่ผุพังลงแทบไม่เหลือโครงสร้างหลัก 

- ดวงจิตของขุนสักกะนาคราชได้ถูกชุบชีวิตในบารายณ์สระน้ำหลวงข้างปราสาทวิเมียนอากาศ และขมาต่อพระชัยวรมันที่ 7 ณ ลานพระเจ้าขี้เรื้อน ประเทศกัมพูชา (เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555)

- ดวงจิตขุนสักกะนาคราชหลุดพ้นจากคำสาป (เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2557)

- ทุกดวงจิตของประชากรพญานาคแท้ที่จุติจากท้องของพระนางนาคโสมา ถูกปลดปล่อยให้พ้นจาก     คำสาป ณ ยอดปราสาทวิเมียนอากาศ  ดวงจิตพระนางนาคโสมาได้รับการถอนอาถรรพณ์สะกดจาก   องค์พญาครุฑที่คนเขมรได้กระทำไว้ต่อท่าน   และอโหสิกรรมต่อพระชัยวรมันที่ 7  ณ บริเวณลาน พระเจ้าขี้เรื้อน (เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555)

- พระนางนาคโสมา สื่อเรื่องราวความรักของท่านไว้ว่า

   "เรามีหน้าที่  เรามีคนที่เรารัก  เรามีคนที่รักเรา"

อธิบายความว่า :-

(เรามีหน้าที่) หมายถึง ท่านมีหน้าที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ สร้างประชากร เพื่อขยายอาณาจักรให้เรืองอำนาจแก่พระชัยวรมันที่ 7 ตามความประสงค์ของเทพสามตา เมื่อพระชัยวรมันที่ 7 ไม่มีวาจาสัตย์ตรงตามที่ให้ไว้ ท่านก็เข้มแข็งในการตัดสินใจยุติทุกอย่างลงด้วยความเด็ดเดี่ยว

(เรามีคนที่เรารัก) หมายถึง พระนางนาคโสมา มั่นคงในรักต่อพญานาคราชเจ้าผู้เป็นคนรักของท่าน คือ องค์อินทรนาคราช (ผู้เป็นเศียรที่ 2) ด้วยการอธิษฐานจิต ขอตามไปจุติเป็นคนรักขององค์อินทรนาคราชในทุกชาติภพ (สื่อ ณ บริเวณด้านหลังสถูปพระธาตุพนมองค์เดิม)

(เรามีคนที่รักเรา) หมายถึง ขุนสักกะนาคราช ผู้จงรักภักดี และมีใจปฏิพัทธ์ต่อพระนางนาคโสมา สละครอบครัวถวายงานเป็นข้ารับใช้ในงานสำคัญที่พระนางนาคฯ ประสงค์ด้วยความซื่อสัตย์ เมื่อกระทำการไม่สำเร็จได้แสดงความจงรักภักดี โดยวิธีปลิดชีพตนเอง

- ดอกไม้ของพระนางฯ มีชื่อว่า "ทิวายัณห์" เป็นดอกไม้ที่อยู่ใต้ดิน มีกลีบดอกสีขาวครีม กำเนิดขึ้นในป่าหิมพานต์   ในทุกคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ   พระจันทร์เต็มดวง ดอกไม้นี้จะผุดขึ้นมาจากใต้ดิน   เพื่อบานรับแสงจันทร์   แล้วหุบกลับคืนลงสู่ใต้ดินเช่นเดิม


บทอัญเชิญ : " โอม โสมา สีวิกาเทวะ นาคะเทวี "

ผู้เกี่ยวข้อง 
: มีปรากฎแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ : http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post.html และ http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_8220.html


เศียรลำดับที่ 1
สีชมพู
จำนวนเศียร 1 เศียร 
พระนาม : มณีนครทรรธนาคราช
 (พญานาคสวรรค์) เพศ : ชาย-หญิง (นาคะ-นาคี)

คุณลักษณะเด่นประจำองค์
:
- มุ่งมั่นรักษาศีล
- ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- กลายร่างเป็นอะไรก็ได้ทั้งชายและหญิง เมื่อกลายร่างแล้วจะมีฤทธิ์เทียบเท่ากับคน ๆ นั้น

ฐานันดรศักดิ์
: เจ้าเมืองม่านฟ้า ประเทศพม่า

สถานที่ประทับ
: ดูแลและปกปักรักษาพระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า

ฉลองพระองค์
:
ภาคพญานาค : เป็นพญานาคราชสีชมพู พระวรกายเกล็ดสีขาวส้ม ครีบสีทอง เศียรสีแดง นัยน์ตาสีส้ม

ภาคมนุษย์ :
พระพักตร์สีขาว แต่งองค์ชุดคล้ายเทวราชประจำทิศ สวมกางเกงแพร ชุดขาว-ชมพูเลื่อม
สวมรัดแขนมีจีบยก สังวาลย์สีชมพู สายสังวาลย์สีทอง

อื่น ๆ
:
ลักษณะเศียรทางภาคเหนือ, พระแม่มนสาเทวีในศาสนาฮินดู

บทอัญเชิญ : " จันทมณี สุริยะโชติ เอหิจิตตัง ม่านฟ้าปะทัง จุติ "

ผู้เกี่ยวข้อง
: --

ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ 
http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_8972.html


เศียรลำดับที่ 2
สีเขียว
จำนวนเศียร 3 เศียร
พระนาม : อินทรนาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- เนรมิตตนให้มีขนาดใหญ่โตและยาวได้มากตามความต้องการ
- เดินทางไปไหนก็ได้ ได้รับพรจากพระอิศวร (อวตาร)

ฐานันดรศักดิ์
: เจ้าเมืองแห่งพนมบุรี (ใต้บาดาลสามารถเชื่อมไปยังวิมานบนอากาศ)

สถานที่ประทับ
: บึงใต้ฐานสถูปพระธาตุพนมองค์เดิม
(วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ประเทศไทย
(ใต้บาดาลสามารถเชื่อมไปยังวิมานบนอากาศ)

ฉลองพระองค์
:
ภาคพญานาค :
เป็นพญานาคราชสีเขียว
พระวรกายสีเขียว
เศียรสีทอง
นัยน์ตาสีแดงเข้ม
ภาคมนุษย์ :
แต่งองค์สวมสังวาลย์สีเขียว
พระพักตร์คมเข้ม  มีเครา มีเศียรพญานาคไทย 3 เศียรแผ่พังพาน
เศียรทั้ง 3 เปรียบเสมือนช้างสามเศียร (ช้างเอราวัณ) พาหนะของพระอิศวรเจ้า

อื่น ๆ
:
อิศวรครอบร่าง

บทอัญเชิญ : " อินทรราชา นาคะพุทธา พนมราชจุติ "

ผู้เกี่ยวข้อง
:  มีปรากฎแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_7721.html



เศียรลำดับที่ 3
สีม่วง
จำนวนเศียร 5 เศียร
พระนาม : ฉัตรบำเพ็ญสุทัศน์นาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- มีญานบารมีสูง
- รักความยุติธรรม
- เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้

ฐานันดรศักดิ์ : เจ้านาคราชแห่งพิมายนคร ชายาพระนามว่า ศิริจันทรานาคราช

สถานที่ประทับ : ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

ฉลองพระองค์ :
ภาคพญานาค : เป็นพญานาคราชสีม่วง พระวรกายสีม่วง ครีบสีทอง ท้องสีฟ้า
ภาคมนุษย์ : ยังไม่ปรากฎ

อื่น ๆ : นาคราชขอมเก่า

บทอัญเชิญ : " สุทัศน์นาคราช ชัยยะพุทธา โอมมหาเตโช จุติ "

ผู้เกี่ยวข้อง :  --
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ 



เศียรลำดับที่ 4
สีขาว
จำนวนเศียร 5 เศียร
พระนาม : สุวรรณทนาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
ขาวดุจผู้ทรงศีล
- กำหนดญานบารมีได้สูงมาก
- สามารถชุบชีวิตคนได้
- ดูแลประชาชนของพระนาง

ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าบาดาลแห่งพนมรุ้งนคร

สถานที่ประทับ : พนมรุ้ง (เทวราชดูแลทั้ง 9 ทิศ)

ฉลองพระองค์ : พระวรกายเป็นสีขาวขลิบทอง
เศียรสีขาวอมชมพู ครีบสีทอง แต่งชุดสีขาวเมื่อเป็นคน หมั่นบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ สร้อยสังวาลย์เป็นสีทองอมชมพู

บทอัญเชิญ : "สุวรรณมัชชะ ปะมะทัง สักกะระยานัง เอหิพุทโธ"

ผู้เกี่ยวข้อง :  มีปรากฎแล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_8227.html

เศียรลำดับที่ 5
สีแดง
จำนวนเศียร  7 เศียร
พระนาม : อาทิตยสิทธิ์มหานาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- วาจาสิทธิ์
- พระเวทย์
- อยู่หลังเมื่อพระนางออกว่าราชการ นำหน้าพระนางเมื่อมีภัย
ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าแห่งเมืองนครวัด นครธม
เจ้าแห่งลุ่มน้ำทั้ง 9 ในเขมร
พญานาคราชขอม 7 เศียร
สถานที่ประทับ : ปราสาทนครวัด นครธม จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
ฉลองพระองค์
ภาคพญานาค : ตาสีแดง เศียรสีแดงเข้ม ท้องสีขาวอมแดง (มีให้เห็นตามปราสาททั่วไปในเขมร)
ภาคมนุษย์ : เสื้อสีขาว กางเกงสีแดง สวมกำไลที่ข้อเท้าข้างขวา ใบหน้ามีเครา และหนวด ใบหน้าคม รูปร่างสันทัด มีพลังจิตที่เข้มแข็ง   เข้าถึงยาก ชี้นิ้วไปข้างหน้าปราบศัตรูและหมู่มาร
บทอัญเชิญ : "อาทิตยะ มะยะสะภา สุยาธินัง สุปะนัตตัง เอหิจิตติ"
ผู้เกี่ยวข้อง :  --
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ 



เศียรลำดับที่ 6
สีน้ำเงิน
จำนวนเศียร 1 เศียร
พระนาม : เอนกอังกูรจันทนาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- ชอบความเงียบ สันโดด
- ไม่ยอมใคร มีอาคมเก่งกล้า
- หายตัวได้
ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าเมืองแห่งขุนเขาและสายน้ำ
สถานที่ประทับ : ปราสาทเมืองสิงห์ ถ้ำ และ เขื่อนต่าง ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ฉลองพระองค์ :
ภาคพญานาค : เป็นพญานาคราช 1 เศียร ลำตัวและเกล็ดเป็นสีน้ำเงิน ใต้ท้องเป็นสีดำ เศียรเป็นสีแดง นัยน์ตาสีน้ำเงินเข้ม
ภาคมนุษย์ : แต่งองค์ชุดสีขาวคล้ายฤาษี มีเครายาวมาก
อื่น ๆ : วันเพ็ญในเขื่อนท่านจะลอยขึ้นผิวน้ำ มีบุญถึงได้พบท่าน
บทอัญเชิญ : " สิงหราชเดโช จุติมะยัง เอหิจิตตัง จุติ จุติ "
ผู้เกี่ยวข้อง : --
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ 




เศียรลำดับที่ 7
สีเหลือง
จำนวนเศียร เศียร
พระนาม : จันทผ่องอำไพนาคราช
เพศ : หญิง (นาคี)

คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
-  สั่งเป็น สั่งตายได้
-  คนเขมรกลัวยิ่ง
-  พูดน้อย
-  มีเสียงหวานไพเราะ แต่เข้มด้วยพลัง 
-  เขียนอักขระและร่ายพระเวทย์ได้แกร่งกล้า 

หน้าที่ :
-  ให้คำปรึกษาแก่พระนางในการคัดเลือกเหล่าทหาร
-  ประทานพรอันเป็นมงคลให้แก่กองทัพหน้า ก่อนที่ทหารจะออกทำสงคราม

-  ควบคุมเหล่านาคทหารในการสร้างปราสาทแม่บุญตะวันออก

ตำแหน่งในร่างกายที่สถิตย์ และดูแลรักษา :

-  แผ่นอก

ฐานันดรศักดิ์
 :


-  พญานาคราชเจ้าเมืองอุบลศรีนครรามเทพ
-  พญานาคราชขอม เศียร 

สถานที่ประทับ :

-  จังหวัดอุบลราชธานี และประเทศกัมพูชา (เขมรตอนต้น)
-  วัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี-  ปราสาทธาตุนางพญา  อ.บุณฑริก  จ.อุบลราชธานี่

บัลลังก์ที่ประทับ :
-  เป็นหินใต้ฐานสลักเห็นเป็นรูปหกเหลี่ยม  

ฉลองพระองค์ :

ภาคพญานาค :
-  พระวรกายสีเหลือง
-  ครีบสีทอง
-  ท้องสีขาว
-  เศียรสีทอง
-  นัยน์ตาสีเหลือง

ภาคมนุษย์ :
-  แต่งองค์ชุดแบบชาวอีสานใต้ (ชุดโบราณ)
-  สไบสีทอง
-  สวมกำไลนาคราช เศียรที่ข้อมือขวา

อื่น ๆ :
-  พูดได้ทั้งภาษาไทย และภาษาเขมร  ดูแลแม่น้ำโขงส่งให้เขมร

บทอัญเชิญ : " จุติปุระ อำไพผ่องศรี จันทนาคี เอหิ มะมะ "

ผู้เกี่ยวข้อง : --    มีปรากฏ



เศียรลำดับที่ 8
สีฟ้า
จำนวนเศียร 3 เศียร
พระนาม : จันทรคุปต์นาคราช
เพศ : ชาย (นาคะ)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- รักษาคำพูด
- มนตรานาคราช มีพิษที่ร้อนแรง
- ดูแลท้องฟ้า และ ผืนน้ำ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ดุจภูเขาได้ในพริบตา
- เสกสิ่งของให้กลายเป็นหินได้
ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าเมืองเวียงจันทร์ (เชียงตุง)
สถานที่ประทับ :
1. กลางลำน้ำโขง บริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของโรงแรมมงคล อ.เวียงจันทร์ ประเทศลาว
2. ใต้พระธาตุหลวง อ.เวียงจันทร์ ประเทศลาว
3. วัดพระแก้ว อ.เวียงจันทร์ ประเทศลาว
ฉลองพระองค์ :
ภาคพญานาค : เป็นพญานาคราชสีฟ้า-ขาว 3 เศียร
ภาคมนุษย์ : พระหัตถ์ซ้ายถือกริช สวมเสื้อสีฟ้า สวมกางเกงสีขาว สวมรองเท้าสีทอง
อื่น ๆ :
บทอัญเชิญ : " จันทมนตรา ธาตุหลวงบูชา จุติ จุติ "
ผู้เกี่ยวข้อง : --
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ 



เศียรลำดับที่ 9
สีส้ม
จำนวนเศียร 1 เศียร
พระนาม : มณีรัชตินาคราช
เพศ : หญิง (นาคี)
คุณลักษณะเด่นประจำองค์ :
- ปิดเปิดญานบารมี
- สิริโฉมงดงาม
- แสนงอน ชอบของสวยงาม
- จัดสรรตกแต่งเครื่องทรงให้กับพระนาง
ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าเมืองน่าน
สถานที่ประทับ : ใต้เจดีย์พระธาตุแช่แห้ง ในจังหวัดน่าน
ฉลองพระองค์ :
ภาคพญานาค : เป็นพญานาคราชสีส้ม พระวรกายเกล็ดสีขาวส้ม ครีบสีทอง เศียรสีแดง นัยน์ตาสีส้ม
ภาคมนุษย์ : แต่งองค์ชุดไทยภาคเหนือ สีส้ม ผิวขาว สวมอัญมณีชุดใหญ่ ชอบสีทอง
อื่น ๆ :
บทอัญเชิญ : " มะสุธิยะ จะนะสะยา มณีรัตนะ จุติ "
ผู้เกี่ยวข้อง : --
ข้อมูลเพิ่มเติ่มสถานที่ประทับ :
http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/blog-post_24.html ภาค1 และ
http://phimeanakas.blogspot.com/2012/05/2_24.html ภาค 2
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

1 ความคิดเห็น:

ผู้เกี่ยวข้องกับพระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี, พญานาคราชเจ้าทั้ง 9 องค์ รวมถึงขุนสักกะนาคราช ได้มาปรากฎบรรจบพบกันครบแล้วในภพภูมินี้ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2557 ดวงจิตซึ่งเป็นตัวแทนของทุกพระองค์ต้องเฝ้ารอคอยกายสังขารที่กลับไปเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารภพแล้วภพเล่า เพื่อรอช่วงเวลาที่กายสังขารของท่านเหล่านั้นจะได้มาจุติเป็นมนุษย์พร้อมกัน ถึงแม้กายสังขารเหล่านั้นจะกลับมาจุติในช่วงอายุที่แตกต่างกัน แต่เมื่อคนเหล่านั้นได้มาบรรจบพบกันแล้ว หมายถึง การรวมดวงจิตของทุกพระองค์นั้นได้สำเร็จลง เพื่อวัตถุประสงค์ของการเริ่มต้นใหม่ในภารกิจที่ท่านจะได้มอบหมายในการช่วยเหลือลูกหลานที่เคยกำเนิดเป็นพญานาคขอมในลำดับต่อไป (ปัจจุบันทีมงานได้พบบุคคลมากมายที่นำพระนามของท่านไปกล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนของท่านในสื่อหลายๆ ช่องทาง ทางทีมงานขอยืนยันว่าล้วนเป็นพฤติกรรมการแอบอ้างทั้งสิ้น) ขอให้ทุกท่านที่มีบารมี ระลึกได้ มีศรัทธาอันบริสุทธิ์ ไม่ลังเลสงสัย พึงพอใจในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ทั้งอดีตและปัจจุบัน จงได้มีสติ กระทำการโดยสุจริต ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย-บิดามารดา-ครูบาอาจารย์ จงดำรงชีพโดยสุจริต รักษาประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล 5 ไม่เบียดเบียนผู้อื่นผู้ใดด้วยกาย วาจา ใจ มีความกตัญญูรู้คุณ มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป และเชื่อในกฎแห่งกรรม ให้ระลึกบูชาท่านด้วยการปฎิบัติ อุทิศบุญ ให้ทาน ถือศีล ภาวนารวมทั้งการทำความดีต่างๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ตั้งใจสืบทอด และทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ก็เสมือนหนึ่งท่านได้มีบุญสัมพันธ์ต่อกัน ได้มาเป็นลูกหลานของท่านแล้ว องค์พญานาคราชเจ้าทุกพระองค์ ท่านจักรักษาคุ้มครองคนดี ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายและภัยพิบัติทั้งปวง ไม่อดอยาก ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

แสดงความคิดเห็น

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์