วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

4. ปราสาทที่เป็นผลงานของ องค์สุวรรณทนาคราช

อ่าน: กลุ่มปราสาทในอาณาจักรของพระนางใครเป็นคนสร้าง

ปราสาทนาคพัน

ปราสาทนาคพัน (เนี๊ยกปอน)1 ปราสาทนาคพัน (เนี๊ยกปอน)2

ปราสาทนาคพัน (เขมร: ออกเสียงว่า "เนียกปวน" ; อังกฤษ: Neak Pean) เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง 4 ทิศ
ปราสาทนาคพัน สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันน่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว
ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อเรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว
คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันมีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทน

นาคพัน...Neak Pean...เสียมราฐ กัมพูชา
นาคพัน....Neak Pean...ตามเส้นทางสีแดง อยู่ทางขวาของพระขรรค์ ( ตัว D )สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


จากถนนต้องเดินเข้าไป 2-3 ร้อยเมตร เราเข้าทางทิศเหนือ แต่ปราสาทหันไปทางทิศตะวันออกนะ
ที่เห็นคือเป็นบ่อเก็บน้ำ 5 บ่อ
บ่อกลาง ใหญ่ที่สุด เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละด้านก็ตรงตามทิศ เหนือ ใต้ ออก ตก...เปรียบเป็นสระอโนดาตในสวรรค์ ซึ่งจะไม่มีวันเหือดแห้งตราบถึงวาระสุดท้ายของกัลป์
แต่ละด้าน จะมีอีก 4 บ่อ เล็กกว่าบ่อกลาง ทีทางน้ำออกมาจากบ่อกลาง...เปรียบเป็นแม่น้ำคงคา ยมนา สินธุ และพรหมบุตรที่ไหลมาจากสวรรค์


กลางบ่อใหญ่จะมีปรางค์ประธานฐานกลม มีนาคสองตัว ( ชื่อ นันทะ กะ อุปานันทะ แต่เราไม่รู้เด้อว่าตัวไหนชื่ออะไร ) เอาหางเกี่ยวกันทางทิศตะวันตก ลำตัวอ้อมรอบมา เศียรทั้งเจ็ดของแต่ละตัวหันไปทางตะวันออก ข้างบนจะเป็นเหลี่ยมสี่ทิศ ทางเข้าอยู่ทางตะวันออก... เปรียบเป็น หิมาลัย ...


ทิศอื่นเป็นประตูหลอก เป็นรูปพระโพธสัตว์ อวโลกิเตศวล ตรงมุมเป็นรูปครุฑ


ตรงกลางบ่อใหญ่ ทิศตะวันออก เป็นรูปม้าพลาหะ ความว่ามีพ่อค้าจากอินเดียไปค้าขานที่ศรีลังกาเรือล่มแล้วไปติดเกาะที่มีนางยักษ์กินคนอยู่จึงอธิฐานขอพระโพธิสัตว์มาช่วย พระโพธิสัตว์จึงอวตารเป็นม้าพลาหะมาช่วย


ทิศอื่นก็มีเรื่องราวนะ แต่เหลือแต่ร่องรอย หินอยู่รูปนี้เห็นร่องรอยทิศตะวันตก และใต้ หางนาคก็ทิศตะวันตก


ให้เทียบขนาดบ่อใหญ่ค่ะ


ระหว่างบ่อใหญ่กลางและบ่อเล็กจะมีสันกั้น ตรงกลางของด้านจะมีทางให้น้ำผ่านมาบ่อเล็กโดยซุ้มนี้


นอกซุ้มก็มีเรื่องราว


น้ำจากบ่อใหญ่ จะล้นมาลงตรงช่องนี้ ( เปรียบเทียบนะอยู่ในห้องใต้หลังคาซุ้ม )


แล้วไหลลงผ่านท่อไปออกในซุ้ม หน้าบรรณของซุ้มก็มีเรื่องพระพุทธเจ้า แต่ในสมัยถัดมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 นับถือฮินดู ก็อาจสะกัดแขนออกให้เหลือเป็นแท่ง ๆ คล้ายศิวะลึงก์


ทิศเหนือในซุ้มเป็นรูปช้าง .... ธาตุน้ำ


ทิศตะวันออก เป็นรูปคน แต่เขาคิดว่าเดิมน่าจะเป็นรูปวัว ... ธาตุดิน ไม่มีรูปนะ
ทิศตะวันตกเป็นรูปม้า ... ธาติลม ไม่มีรูปเช่นกันแต่มีบ่อ


ทิศใต้เป็นรูป สิงห์ ... ธาตุไฟ


ซุ้มและบ่อทิศใต้

ขอขอบคุณ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tuk-tukatkorat&month=03-2009&date=27&group=17&gblog=13

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์