วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

3. ปราสาทที่เป็นผลงานของ องค์ฉัตรบำเพ็ญสุทัศน์นาคราช

 
ปราสาทพระขรรค์
 
ปราสาทพระขรรค์

ปราสาทพระขรรค์ เสียมราฐ กัมพูชา

ปราสาทพระขรรค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1734 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ณ บริเวณที่พระองค์ทรงสังหาร กษัตริย์จามได้ และเพื่อเป็นการถวายแด่ พระบิดาของพระองค์
ปราสาทพระขรรค์ มีชื่อทางราชการว่า ปราสาทชัยศรี หรือโชคลาภแห่งชับชนะ ซึ่งก็หมายถึง ชัยชนะที่มีต่อพวกจามซึ่งเป็นอริราชศัตรู
ต่อมาก็ได้รับการขนานนามใหม่เป็น ปราสาทพระขรรค์ เนื่องจากเป็นสถานที่เก็บ พระขรรค์ชัยศรี ซึ่งเป็นพระแสงดาบที่พระองค์ทรงใช้สู้ศึกนั่นเอง
สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทพระขรรค์ได้แ่ก่
- เสานางเรียง ซึีงมีรอยสลักที่สมบูรณ์
- ศิวลึงค์ ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรขอม
- รูปสลักครุฑ ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ (พระนารายณ์)


ปราสาทพระขรรค์ ... Preah Khan ตั้งตามชื่ออาวุธ ที่รบ
อยู่บริเวณที่เป็นสมรภูมิที่ รบชนะพวกจาม มีชื่อปราสาทอีกชื่อว่า " ชัยศรี "
สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อุทิศถวายแด่พระบิดา หลังสร้างปราสาทตาพรหมที่อุทิศให้พระมารดา
วันนี้ไปตามเส้นทางสีแดง พระขรรค์อยู่บนสุดตรงกลาง ที่มีอักษร D อยู่


เราเข้าด้านทิศตะวันตก ทางเดินมีเสานางเรียง ตรงสู่ปราสาท จริง ๆ แล้วปราสาทจะหันหน้าไปตะวันออก ยกเว้นนครวัด


สุดเสานางเรียง จะเป็นสะพานข้ามคู คือสพานนาคราช คือ จากโลกมนุษย์ไปสู่สวรรค์ ราวสะพานเป็นรูปเทวดา และยักษ์ยุดนาค กวนเกษียรสมุทรเพื่อนทำน้ำอมฤต


ด้านล่างของสะพานก็มีรูปสลัก เพิ่งเห็นก็เมื่อกลับมาดูรูปนี่แหละค่ะ


กำแพงทำด้วยศิลาแลง มีรูปปั้นครุฑ ( พาหนะของพระนารายณ์ ) เหยียบนาค ทั้งสองข้างของซุ้มประตู


ทับหลังซุ้มประตูกำแพงศิลาแลง ตรงกลางที่ถูกกระเทาะออกไปเป็นพระพุทธรูป เพราะในสมัยต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 นับถือพระศิวะจึงให้กระเทาะรูปพระพุทธรูปออกหมด....ซ้ายขวา เป็นรูปพระโพธิสัตว์


เจอแผนผังก็ถ่ายไว้ก่อน เราเข้ามาทางเลข 1 ค่ะ


ลอดซุ้มประตูมาก็เป็นอันนี้ค่ะ สองข้างประตูมีรูปปั้นยักษ์คู่ถือประบองเพื่อพิทักษ์ปราสาท


ซุ้มประตู ตรงไหนจำไม่ได้ค่ะ


ช่องประตู จะเตี้ยลงเรื่อย ๆ เพื่อให้เราก้มลงเรื่อย ๆ


ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์


อันนี้งง ดูเอาเองเนาะ


ด้านข้าง ก็ยังไม่ได้คุ้ยก็มาก


หน้าบรรณ เดานะ พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ กั้นฝนให้คนเลี้ยงวัว


ในส่วนหมายเลข 4 ตรงกลางมีศิวลึงค์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดอันหนึ่ง


ออกไปทางทิศใต้ของส่วน แถว ๆ เลข 4 ในแผนผัง มีสถูปเล็ก ๆ ที่แกะสลักอย่างสวยงามค่ะ


ออกไปทางทิศเหนือของส่วนนี้มีรูปสลัก ฤษีนั่งสมาธิ >>> โยคาสนะ


นางอัปสร...เทียบกับคนที่ยืนข้างหลังนะคะ


หน้าบรรณ ???


เป็นเจดีย์ที่เชื่อว่าบรรจุอัฐิของพระบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่แบบไม่เข้ากับสมัยนั้นเลยเนาะ บ้างก็ว่าสร้างทีหลังตามแบบอยุธยา


ตรง ตา หลอด


ทับหลังเหนือประตู ที่ออกไประเบียง ขวา และซ้าย เป็นรูปนางรำ ส่วนรูปพระพุทธ ถูกกระเทาะออก


ศาลานี้แปลกที่เสากลม เหมือนศิลปโรมัน อยู่ทางทิศเหนือของประตูเข้าด้านทิศตะวันออก


ที่นี่ก็มีตันสะปง


พลับพลาทางเข้า ด้านทิศตะวันออก


อโรคยาศาลาอยู่ทางทิศเหนือของทางเดินหน้าพลับพลาด้านตะวันออก ตรงไปประตูรั้ว หรือบ้านมีไฟ ที่ตาพรหมก็มี เหมือนกัน


กำลังจะออกประตูรั้ว ด้านทิศตะวันออก


ด้านนอกกำแพงมีครุฑเหยียบนาคเหมือนกันค่ะ


ออกมานอกซุ้มประตูรั้ว ก็เป็นสะพาน เทวดาและยักษ์กวนเกษียรสมุทรเหมือนทางตะวันตก


แล้วก็เป็นเสานางเรียงออกไปค่ะ


แต่เสานางเรียงสุดท้ายที่ติดสพานนาคราชที่มี รูปพระพุทธรูปเดียวที่ไม่ถูกทำลาย


กองหินที่เห็นนั่นแหละค่ะที่ตะกี้เราลอดผ่าน จากขวามาซ้าย

ขอขอบคุณ:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=25-03-2009&group=17&gblog=12

+ + + ทับหลังศิลปะบายน ที่ ปราสาทพระขรรค์ : Lintels at Prasat Preah Khan + + +


เข้าเรื่องเลยนะครับ ปราสาทพระขรรค์ สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อายุก็เกือบพันปีแล้ว เป็นพุทธสถาน ประกอบด้วยหมู่อาคารขนาดใหญ่ มีอะไรให้ชมเยอะแยะ คราวนี้ผมขอเจาะเฉพาะส่วนของ ทับหลัง อาศัยหนังสือ Images of Gods ช่วยให้ข้อมูลของทับหลังที่น่าสนใจ จะได้ไม่เสียเวลา
แต่พอเอาเข้าจริง มีทับหลังให้ดูเยอะมากๆ  ทั้งที่ยังประดับอยู่บนปราสาท กับที่วางอยู่ข้างทาง รวมไปถึงที่เขายกไปวางรวมกันเป็นกองภายนอก เช้าวันพุธผมเริ่มสำรวจจากโคปุระตะวันตก เดินเข้าสู่ศูนย์กลาง แล้วเลี้ยวไปโคปุระทางทิศใต้ ก่อนจะวนย้อนเข็มนาฬิกาไปทางทิศตะวันออกและกลุ่มอาคารทางทิศเหนือ เพียงแค่ดูส่วนของ ทับหลัง ยังไม่พอเลยครับ ไม่ต้องพูดถึงส่วน หน้าบัน ลายสลักส่วนอื่นๆ มาเขมร 3 รอบ ไม่เคยพลาดที่จะมาชมปราสาทพระขรรค์แห่งนี้ทุกครั้ง แต่ก็ยังไม่จุใจซะที
ตำแหน่งและชื่อเรียก

จากภาพเป็นประตูหนึ่งทางทิศใต้ของปราสาทพระขรรค์
สามเหลี่ยมสีแดง ด้านบนคือ หน้าบัน
สีน้ำเงิน เหมือนเสา คือ เสาประดับประตู
กรอบสีเขียวด้านซ้ายคือ กรอบประดับประตู คราวที่แล้วพาชมที่นครวัด นั่นล่ะครับ
ส่วน กรอบสีเหลือง เหนือประตู คือ *** ทับหลัง *** ที่จะพาเที่ยวดูวันนี้ล่ะครับ
ตามผมมาชมปราสาทพระขรรค์กันครับ

ทับหลังที่จะพาชมวันนีเป็น ทับหลังประดับ นะครับ ใช้ในการประดับด้านบนประตูศาสนสถาน อ. ทรงธรรม คณะโบราณคดีให้ความรู้ว่า ทับหลังที่รับน้ำหนักจริงๆ เป็นโครงสร้างด้านใน แต่ช่างขอมได้คิดค้นสลักเสลาเพิ่มเติมความงดงามภายนอกด้วย ทับหลังประดับ ที่เราเรียกกันติดปากว่า ทับหลัง นั่นเอง
ทับหลังแบบบายนมีลักษณะเด่นดังนี้ครับ

พวงมาลัย (ลูกศรสีแดง)
ไม่ต่อกันเป็นเส้นยาว แต่ละวกลงเป็นวงโค้งซ้ำกันไปจนสุดด้านยาว หลายชิ้นจะโค้งม้วนเป็นวงกลมเรียงแถวด้านล่างเลย
ภาพบุคคลตรงกลาง (ลูกศรสีเขียว)
ส่วนใหญ่เล่าเรื่องพระพุทธศาสนา แต่ภาพสลักพระพุทธรูปตรงกลางถูกกระเทาะออกหรือสลักเปลี่ยนเป็นศิวลึค์ในสมัยต่อมา
หน้ากาล (ลูกศรสีน้ำเงิน)
ตำแหน่งอยู่ตรงกลาง ตกลงมาอยู่นอนแยกเขี้ยวด้านล่างสุด สมัยก่อนหน้าบายนหน้ากาลจะลอยอยู่กลางๆ ทับหลัง ไม่นอนแอ้งแม้งแบบสมัยนี้
ด้านบนพวงมาลัยจะมี ลายใบไม้ (ลูกศรสีเหลือง) ประดับเต็มไปหมด
ชิ้นนี้ด้านล้างขดเป็นวงกลม มีเทพพนมแทรกตามลายใบไม้ด้านบน

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
มาดูกันว่าที่ปราสาทพระขรรค์นี้มีทับหลังอะไรน่าสนใจบ้างนะครับ

จากประตูตะวันตก อันแรกที่เห็นคือ ทับหลังภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรพร้อมผู้ทำความเคารพด้านล่าง มี 2 จุด ซ้ายขวา ส่วนภาพตรงกลางที่หายไปน่าจะเป็นรูปพระพุทธเจ้าครับ เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนับถือกันว่าเป็นผู้มาโปรดสัตว์โลก มีสี่กร จะพบเห็นภาพสลักบ่อยๆ

ถึงจะเป็นพุทธศาสนสถานแค่ก็มีภาพสลักของทางศาสนฮินดูอยู่ด้วย แต่จะสลักเรื่องทางพระนารายณ์เสียมาก อวตารต่างๆ ของพระองด์และเรื่องราวในมหากาพย์รามเกียรติ์ ภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ ยอดฮิตติดท็อปชาร์ตตลอดครับ คงเพราะสื่อให้เห็นว่าพระเจ้าให้การคุ้มครองคนของพระองค์

พระกฤษณะ องค์ใหญ่ตรงกลาง ทรงมงกุฎ 3 ยอด ยกพระกรซ้ายขึ้นรับน้ำหนักของภูเขาโควรรธนะ เพื่อเป็นร่มกั้นฝนที่พระอินทร์ส่งมาลงโทษบรรดาคนเลี้ยงวัวที่เลิกบูชาพระองค์ เบื้องขวาองค์เล็กกว่าหน่อยคือ พระพลรามพระอนุชาต่างมารดา เหมือนคู่พระรามพระลักษณ์น่ะครับ ขนาบสองข้างเป็นรูปคนเลี้ยงวัวและโคตัวน้อย
ทับหลังเล่าเรื่องรามเกียรติ์ โดยมีพระรามประทับยืนโน้มพระองค์ลงกับคันศร พระลักษณ์ยืนประทับอยู่ด้านข้าง และนายพลวานร น่าจะเป็นหนุมาน นั่งหน้าลิง รอรับคำสั่งอยู่

ชิ้นนี้งามดีครับ รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ถือสิ่งของไว้ครบทั้งสี่กร หน้ากาลและสิ้งคายพวงมาลัยยังทำหน้าที่อย่างขมีขมัน ลายใบไม้ด้านบนดูอ่อนช้อย รับกับกลีบที่รองรูปพระผู้โปรดสัตว์

ศิวะลิงค์ประดับตามจุดในปราสาทพระขรรค์ แต่ ณ ศูนย์กลางปราสาทประธานเป็นพระเจดีย์ทรงลังกา

ภายในมีทับหลังตอน พระกฤษณะปราบนาคกาลียะอยู่บนพื้น วางทับด้วยชิ้นส่วนเสาประดับประตูอีกที ดูว่างานยังหยาบอยู่นะครับ แกะยังไม่ถึงเนื้อลึก

หินสลักที่วางอยู่นี่ไม่ใช่เสานะครับ เป็นทับหลังที่ทานแรงโน้มถ่วงไม่ไหว ภาพตรงกลางเป็น ฤาษี หรือ โยคี กำลังถวายของแก่เทพเจ้า หรือกำลังให้พรแก่กันก็ได้ เสียดายภาพด้านบนกร่อนหมดแล้ว เลยไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันแน่

ทับหลังที่ยังอยู่ประจำที่นี้ เกือบสมบูรณ์ รูปเทพตรงกลาง ทำท่าโปรดคนขนาดเล็กด้านล่าง อาจจะเป็นภาพพระโพธิสัตว์ หรืออาจเป็นเรื่อง พระเวสสันดร ตอนประทานกัญหาชาลีก็เป็นได้ แต่ก็ไม่ปรากฏรูปชูชกนะครับ หนังสือ Images of Gods บอกว่ามีทับหลังวางบนพื้นทิศตะวันออก แต่ผมหลงหูหลงตาหาไม่เจอ สิงห์คายพวงมาลัยสองข้าง ก่อนม้วนลง มีช่ออุบะมีคั่นแทรก บนอุบะมีช่อดอกบัวทำเป็นบัลลังค์ให้พระพุทธเจ้า ช่องด้านบนที่แหว่งไปคือ ภาพพระพุทธเจ้าที่ถูกกระเทาะออกไปภายหลังครับ

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
ณ มุมหนึ่ง ผมหลบแดด อยู่มุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่ต้นมะละกอโผล่ออกมาจากปราสาท ประตูหลอกมีคนเอาท่อนไม้มารับน้ำหนักที่บีบอัดไว้ และทับหลังบนประตูก็งามน่ายล

เป็นรูปบุรุษอุ้มสตรีบนตัก ด้านล่างเป็นบุรุษกำลังสู้กับม้า

และก็มาถึงจุดไฮไลท์ของปราสาทพระขรรค์ (ที่ผมทึกทักเอาเอง) อิอิ คือภาพการออกผนวชของเจ้าชายสิทธิทัตถะ คร้าบบบบบ
หน้าบันและทับหลังแบบเต็มๆ

ชิ้นทับหลังแบบเน้นๆ ครับ วงกลมสีแดงด้านบน เจ้าชายสิทธิทัตถะกำลังจะบั่นพระเมาลีเพื่อเข้าสู่สภาพนักบวช ขณะที่กรอบสีเหลืองด้านล่างคือ นายฉันนะ และม้ากัณฐกะพาหนะพาเจ้าชายหลบออกมาจากพระราชวังกลางดึก

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
ทับหลังนี้เจอบ่อยพอๆ กับภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธณะ เป็นรูปชาย 2 คนชูแขนขึ้น ในมือเหมือนกำไม้ยาวเหมือนเลื่อยไว้บนเศียรของบุรุษที่คาดว่าน่าจะเป็นพระพุทธเจ้า ตถ้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะดูคล้ายเป็นรูปคนกำลังสลักพระพุทธ หรือ กำลังทุบพระองค์อยู่ก็ได้ ภาพพระพุทธเจ้าตรงกลาง ถูกกำจัดออก

ตามที่หนังสือ Images of Gods บอกไว้ว่าเป็นภาพตอน ทรมานพระพุทธเจ้า / พระเตมีย์

แต่ภาพสลักบางภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ปรากฏตรงกับในคัมภีร์ใดๆ เลย ก็ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือไม่เคยมีกว่าว่ามีอสูรใดมาทรมานพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเลื่อย  มีเพียงตอนที่เสวยชาติเป็นพระเตมีย์ใบ้ ที่ถูกทหารทรมาณเพื่อพยายามจะให้พระองค์พูดให้ได้ แต่ในชาดกตอนนั้นอาวุธที่ใช้เป็นดาบคมกริบ ไม่ใช่ไม้ยาวๆ เหมือนที่เขมรนี่ ฉะนั้นจึงต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ยืนยันกันต่อไป

ภาพพระพุทธเจ้าภายหลังถูกทำลายไปเสียมาก

ส่วนทับหลังที่เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่ตรงกลาง จะเหลือประมาณนี้ครับ วางอยู่ข้างทางในปราสาททิศใต้

ด้านล่างจะเป็นผู้ที่นำของมาถวาย หรือจะเป็นเหล่าเทวดา ส่วนใหญ่จะเป็นพระพรหมและพระนารายณ์ โดยพระพรหม สี่กร สี่พักตร์อยู่ทางด้านขวา พระนารายณ์ สี่กร เหมือนกัน อยู่ทางด้านซ้าย ซึ่งเป็นการแสดงว่าพระพุทธศาสนาอยู่เหนือศาสนาฮินดู ณ ช่วงเวลานั้นนะครับ

ทับหลังนี่น่าจะอยู่ทางทิศใต้ เห็นมั้ยเอ่ย

ที่รอดมาเยอะคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเพราะมีสี่กร คล้ายกับพระเจ้าในศาสนาฮินดู มองเผินๆ ก็นึกว่าเป็นพระนารายณ์ แต่ถ้าเป็นภาพสลักขนาดใหญ่อย่างที่ปราสาทนาคพัน เขาก็แค่เติมตาที่ 3 ที่หน้าผากให้เป็นพระศิวะไป เลยมีทับหลังรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเหลือให้เราชมกัน

มีที่เป็นเทพประจำทิศก็มี พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ โผล่พ้นกองหินปรักหักพัง


+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
เมื่อมองออกมาจากอาคารทิศใต้ จะเห็นทางเดินเล็กๆ ผ่านป่าเขียวครึ้มเรื่อยไปจนถึงโคปุระทางทิศใต้ ตอนเดินไปนี่ก็หวั่นๆ อยู่ เพราะระยะทางพอสมควร ข้างๆ ก็เป็นป่ารกทึม เสียงนก แมลงสลับกับเสียงกิ่งไม้หักทำให้คิดไปต่างๆ นานา แต่ก็ไปถึงจนได้ สะพานด้านนี้ไม่เหลือยักษ์และเทวดายุดนาคระหว่างการกวนเกษียรสมุทรที่สมบูรณ์ให้ดูแล้ว กำแพงผุพังและคูน้ำก็ติ้นเขินพอๆ กับโคปุระที่ยังไม่ได้รับการบูรณะ แต่ก็ให้บรรยากาศน่าค้นหา


ที่นี่มีทับหลังรูปพระพุทธเจ้าเหลืออยู่บ้างครับ ไม่รู้ตอนที่เขาทำลายรูปพระพุทธองค์หลังสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น หลงหูหลงตาไปได้ยังไง

แต่ก็เป็นงานหนักเหมือนกันเพราะพระองค์สร้างปราสาทไว้มากมาย และสลักภาพพระพุทธเจ้าไว้เต็มไปหมด คนที่รับคำสั่งมาคงจะเหนื่อยเป็นเหมือนกัน อะ กลับมาดูโคปุระทิศใต้กัน ทับหลังชิ้นงาม วางเอียงกะเท่เร่บนไม้ค้ำยันประตูด้านข้าง

เป็นรูปตอน พระกฤษณะปราบนาคกาลียะ ตอนที่ช่างสมัยก่อนนิยมสลักกันมาก เสียดายส่วนเศียรหักหายไป แต่ยังพอมองเป็นเป็นรูปบุคคล ด้านหลังเป็นนาคหลายเศียร

ย้อนกลับไปทางกลุ่มอาคารด้านในอีกรอบ ทับหลังชิ้นนี้หล่นบนพื้น ข้างๆ ป้ายเตือนอันตราย

ดูชัดๆ ซิ ตอนอะไรน้อ ตรงกลางเป็นรูปสตรี พระกรขวาถือดอกบัว ด้านล่างมี เทวดา / กินรี / ยักษ์ ? 2 ตน ถ้าผมเดาก็อาจเป็น พระลักษมี แต่ ด้วยเจ้าตัวด้านล่างถืออาวุธเหมือนจะฆ่ากัน คงจะเป็นตอน อสูรสองตน แย่งนางอัปสร ติโลตตมา (Tilottama)

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
เดินมาถึงทิศตะวันออก มองดูเวลาที่กระชั้นเข้ามา นัดคนขับรถตอนเที่ยง แต่คงไม่ทันแหงๆ ดูทับหลังกันดีกว่า ชิ้นนี้ถูกวางไว้บนพื้น น่าสนใจ

ไปดูใกล้ๆ เป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประกอบด้วยเทพพนมทั้งสองข้าง งานสมัยบายนจะไม่ค่อยละเอียดเท่าใดนัก คงเพราะต้องรีบสร้าง และสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อบราบรื่น สู้รบกันบ่อยๆ

วนเข้ายังหมู่อาคารทางทิศเหนือ ส่วนใหญ่ยังแกะสลักไม่เสร็จสิ้น ขนาดตัวอาคารยังเป็นหินหยาบยังไม่โกลนให้เรียบเลย แต่ส่วนทับหลัง ช่างก็ทำเสร็จไปบางส่วน อย่างเช่นชิ้นนี้ครับ วางทอดพักเอาไว้บนฐานหินสองฟาก ตรงกลางเป็นรูปผู้บูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

ข้างในหมู่อาคารไม่สูงมาก ต้องก้มหัว เหมือนเป็นการคารวะ ที่ทางเข้านี้ท่าทางน่าสนใจ เห็นหลายแขนซะด้วย

น่าจะเป็นตอนพระนารายณ์จับอสูรที่แอบเข้ามาขโมยน้ำอมฤต หลังกวนเกษียรสมุทรนะครับ เพราะคล้ายที่ปราสาทบายน แต่ไม่ยังกะเห็นหม้อน้ำอมฤต ดูว่างานยังไม่เสร็จดี หรือจะเป็นตอนยักษ์วิราธจับพระรามพระลักษณ์

อ้า นี่ก็สวยครับ  ด้านบนเป็นทับหลังรูป พระศิวะนาฏราช (พระอิศวรเต้นรำ) ลดสายตาลงมาที่ทับหลัง เป็นตอนอะไรเอ่ย

เห็นยกแขนข้างเดียวนี่ เดาไม่ยากแล้วใช่มั้ยครับ เจอกันบ่อยคือตอน พระกฤษณะยกเขาโควรรธณะ คราวนี้พระพลรามอยู่ข้างซ้าย เห็นรูปคนและวัวหมอบลางๆ ตรงด้านล่าง

ทับหลังชิ้นนี้ ผมดันดูแต่ตรงรูปครุฑยุดนาคด้านบนครับ เด่นเชียว แต่มาเห็นภายหลังว่าจริงๆ แล้วกำลังเล่าเรื่องด้วยนา ถ้าจำได้จากบล็อก นครวัด ที่ ปลายเท้า จะคุ้นกับรูปบุคคล 2 คน ถูกจับขาไว้โดยสัตว์ประหลาด Kabandha

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +
ตกหล่นตรงไหน ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์กังวล อาจารย์ทรงธรรม และทุกท่านที่ให้ความรู้ และขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบล็อกนะครับ

คำค้น: ปราสาทพระขรรค์ ทับหลัง พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 Prasat Preah Khan, Lintel, Buddha, Bodhisattva Avalokitesvara, Jayavarman 7th

ขอขอบคุณ:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=derek&month=19-08-2008&group=1&gblog=43

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์