เทวาลัยพิมานอากาศจำลอง

ปราสาทพิมานอากาศ เป็นศิลปะแบบคลัง ฮินดู ไศวนิกาย สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๕ รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ปลาย ๑๗)

องค์พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี

พระนางเกิดขึ้นได้จากการที่องค์เทพสามตา ได้เสกด้วยอาคมอันเชิญจิตเทพนาคราชทั้ง ๙ มากำเนิดเป็นนางนาคชื่อ โสมา

พระนามองค์นาคราช และรายละเอียดเฉพาะองค์

ลักษณะเด่นประจำองค์ ฐานันดรศักดิ์ สถานที่ประทับ ฉลองพระองค์ และผู้เกี่ยวข้อง

กว่าจะเป็นเทวาลัย

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในทีมงาน ผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์พญานาคราชในอดีตชาติตามญานนิมิต และตามประสบการณ์ตรงที่ได้รับของแต่ละบุคคล

เลือดนาคราช

เลือดนาคราช จากการที่ปู่เปิดญาณนาคราชทั้ง 9 ในวันที่ 25/06/55 และปู่ได้ทำน้ำมนต์นี้ขึ้น และปรากฎว่ามีเกร็ดเลือดจากนาคราช ทั้ง 9 ให้ได้เห็นกัน

เทวาลัยพิมานอากาศ ในปัจจุบัน

ปฏิปทา ศรัทธา ของ ทีมงานทุกคน ในการร่วมสร้างเทวาลัยพิมานอากาศ และเพื่อสืบสานศรัทธาในองค์นาคราช ศูนย์รวมนาคราชองค์ที่มีเชื่อสายขอมจะมาสักการะ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ต้นสาละและต้นลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกันแต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ (รศ.ดร. นริศ ภูมิภาคพันธ์)

นำเรื่อง

ความสับสนระหว่างต้นไม้ 2 ชนิด คือ ลูกปืนใหญ่ (Cannon Ball Tree; Couroupita guianensis Aubl.) บางครั้งเรียกว่า สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ต่อมามีผู้นำไปปลูกในดินแดนต่างๆ รวมทั้งประเทศศรีลังกา กระทั่งมีการนำจากศรีลังกาเข้ามาปลูกในประเทศไทย เราสามารถพบเห็นปลูกตามวัดต่างๆ ในประเทศไทย และติดป้ายว่าเป็น สาละ (Sal; Shorea robusta C.F. Gaertn.) ซึ่งผมมีโอกาสได้พบเห็นหลายครั้งทั้งวัดในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัดปลูกต้นลูกปืนใหญ่ ในบริเวณลานวัด และบรรยายความรู้ว่าเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาประทับ ก่อนดับขันปรินิพพาน และเมื่อเร็วๆ นี้ผมได้ผ่านเข้าไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสาละ (Sal; Shorea robusta) ได้พบเห็นแต่ภาพของต้นลูกปืนใหญ่ แฝงอยู่ในชื่อของสาละ (Sal; Shorea robusta) มีอยู่ค่อนข้างมาก และมีภาพที่ถูกต้องจริงๆ อยู่น้อยมาก นั่นหมายถึงการกระจายข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนออกไปค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะเป็นผลเสียต่อผู้รับข่าวสาร และข้อมูล และกระทบต่อความรู้ในพุทธประวัติ เรื่องนี้น่าที่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามความจริง

ความรู้เรื่องต้นสาละ กับพระพุทธองค์

โดยนัยของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพพาน ใต้ ต้นซาล หรือสาละ ในเมืองกุสินารา ป่าซาล หรือป่าสาละ (Sal forest) ซึ่งเป็นป่ายางผลัดใบ (Dry dipterocarp forest) คล้ายกับป่าเต็งรัง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พบว่ามี ไม้ซาล เป็นไม้เด่นประจำป่า นอกจากนั้นหลายๆ หลายบทความที่อ่านพบ หรือนำเผยแพร่ใน Internet ได้อธิบายลักษณะต่างๆ ของสาละได้ถูกต้องในชนิดของ สาละ (Sal; Shorea robusta) แต่พบว่าการเลือกใช้ภาพประกอบเป็นชนิด ต้นลูกปืนใหญ่ การนำต้นลูกปืนใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับ ความเป็นจริงทั้งในเรื่องพุทธประวัติ และเขตการกระจายทางพฤกษภูมิศาสตร์ (Plant Geography) ของไม้ลูกปืนใหญ่ ซึ่งมิได้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศเนปาล อินเดีย และศรีลังกาแต่ประการใด แต่อยูไกลถึงทวีปอเมริกาใต้

มีหลายท่าน เช่น วัฒน์ (2550) พยายามที่จะสื่อให้ความรู้นี้ ในรูปบทความ และเผยแพร่ในสื่อตาม Website แต่ยังไม่แพร่หลาย จึงขอนำมากล่าวไว้อีก ครั้ง และสามารถ คลิกเข้าไปอ่านหรือชมภาพได้ตาม Website ต่างๆ ที่ได้ Link ไว้ในบทความนี้ ละเอียดของต้นไม้ 2 ชนิด มีดังนี้

1. ลูกปืนใหญ่ หรือสาละลังกา
ชื่อสามัญเรียก Cannon Ball Tree
ชื่อพฤษศาสตร์ Couroupita guianensis Aubl.
วงศ์ Lecythidaceae


[ดอกและลำต้น ลูกปืนใหญ่หรือสาละลังกา]

ลักษณะพืช เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร เรือนยอดกลมหรือรูปไข่หนาทึบ เปลือกต้นขรุขระตกสะเก็ดเป็นร่อง คล้ายหนามตามลำต้น เปลือกสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ลักษณะใบยาวรูปหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักสั้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลีบค่อนข้างแข็ง ดอกตูมจะเป็นสีเหลือง เมื่อบานดอกจะมีสีแดง หรือสีชมพูอมเหลือง กลิ่นหอมฉุน ออกดอกเกือบตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกแข็ง ลักษณะคล้ายลูกปืนใหญ่สมัยโบราณ มีเมล็ดจำนวนมาก ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง ดอกมักดกมากในช่วงหน้าฝน ดอกบานและร่วงในวันเดียว ตอนเย็น

2. ซาล, สาละ
ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae


[ใบ ดอก และป่าต้นสาละ]

ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น

ที่มา : http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782

ทางออกเบื้องต้นสำหรับการแก้ไขปัญหานี้

สาละ และลูกปืนใหญ่ พันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน และมีถิ่นกำเนิดพบกระจายอยู่ห่างไกลต่างทวีปกัน แต่เข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยบังเอิญ เนื่องจากความเข้าใจผิดในชื่อเรียกขาน ปัจจุบันความเข้าใจดังกล่าวได้แพร่กระจายออกไปไกล ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้น่าจะช่วยกันเผยแพร่ความรู้นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และตามวัดต่างๆ ที่ปลูกต้นลูกปืนใหญ่ หรือที่เรียกและรู้จักในชื่อ สาละลังกา เป็นพันธุ์ไม้ที่มิได้เกี่ยวข้องใดใดกับพุทธประวัติ อาจเปลี่ยนป้ายที่บรรยายว่าเป็นพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อพ้องกับสาละอินเดีย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่บุคคลทั่วไป หรืออาจเสาะหา สาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) มาปลูกเปรียบเทียบด้วย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนผู้พบเห็น สุดท้ายนี้ ท่านผู้ใดที่มีต้นสาละ (Shorea robusta C.F. Gaertn.) น่าที่จะนำไปถวายวัด เพื่อปลูกเป็นต้นไม้แห่งความรู้ที่เป็นวิทยาทานที่ถูกต้องต่อไป น่าจะเป็นกุศล และเป็นประโยชน์ไม่น้อย

เอกสารอ้างอิง และสิ่งอ้างอิง

วัฒน์. 2550. ข้อแตกต่างระหว่างต้นบัวสวรรค์ ต้นสาละลังกา ต้นสาละอินเดีย. Available source: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maipradab&topic=4782 http://www.geocities.com/indiatrees/talforest.jpg http://www.thummada.com/cgi-bin/iB315/ikonboard.pl?act=Print;f=9;t=1671 http://www.tradewindsfruit.com/cannonball_tree_pictures.htm http://www.treknature.com/gallery/Asia/Malaysia/photo9564.htm

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โพธิญาณพฤกษา : ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ) พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้

ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โกณฑัญญพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 พระนามว่า พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้สาละใหญ่

ต้นสาละใหญ่ (ต้นสาละอินเดีย) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea robusta Roxb." อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae ในภาษาบาลีเรียกว่า "ต้นมหาสาละ" มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ซาล" (Sal, Sal of India) เป็นไม้พันธุ์ที่อยู่ในตระกูลยาง มีมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ำยมุนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 10-25 เมตร และสามารถสูงได้ถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ

เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

สาละใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียมักนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย คือ ยางใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น, ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น

สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Shorea siamensis Miq." และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน 15 อัน เส้นแขนงใบย่อยมี 10-12 คู่ ผลมีเส้นปีก 10-12 เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี 14-18 คู่ ผลมีเส้นที่ปีก 7-9 เส้น และไม่มีขนปกคลุม

[ภาพดอกสาละ]

รวมทั้งยังเข้าใจว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นสาละ (ลังกา) หรือต้น ลูกปืนใหญ่ หรือต้นแคนนอนบอล ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Couroupita guianensis Aubl." มีดอกขนาดใหญ่สีแดงอมส้ม ซึ่งมีผู้นำมาจากประเทศศรีลังกา และได้รับการบอกเล่ามาว่าเป็นต้นสาละ ดังนั้น ในบางแห่งจึงได้เขียนบอกไว้ว่า ต้นสาละ (ลังกา) เพื่อป้องกันความสับสนนั่นเอง

ในประเทศไทย หลวงบุเรศรบำรุงการ ได้นำเอาต้นสาละใหญ่หรือต้นซาลมาถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น กับได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต.กระทิงลาย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีก 1 ต้น

อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละใหญ่มาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อ.งาว จ.ลำปาง

พระพุทธทาสภิกขุ ก็ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำมาปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จ.สระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผลเพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร

ต้นสาละอินเดียกับพระพุทธศาสนา

สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละใหญ่ว่า "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้

ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ

ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ (ที่การคลอดบุตร ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิง) เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า "สวนลุมพินีวัน" เป็นสวนป่าไม้ "สาละใหญ่"

พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท (ปัจจุบันคือตำบล "รุมมินเด" แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ซึ่งตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี คำว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"



[ต้นโพธิ์ Bohd tree (ลังกา) ส่วนประเทศอินเดียเรียก Pipal tree ]

ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้และแสดงธรรมเทศนา

เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชลาได้ เมื่อทรงอธิษฐานแล้วได้ทรงลอยถาด ปรากฏว่าถาดทองคำนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละใหญ่ ตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นก็เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ร่มเงาต้นโพธิ์ และได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุณยามสาม ณ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี

ครั้นวันเพ็ญเดือน 8 สองเดือนหลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละใหญ่อันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยจึงเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ตอนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เมื่อมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก ได้เสด็จถึงเขตเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญเดือน 6 วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช ได้ประทับในบริเวณสาลวโณทยาน พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดพระที่บรรทม โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ระหว่างต้นสาละใหญ่ 2 ต้น แล้วพระองค์ก็ทรงเอนพระวรกายลง ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้าย โดยพระปรัศว์เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน



[ภาพถ่าย ๓ ภาพ] ต้นสาละที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน




[ภาพถ่าย ๒ ภาพ] ต้นสาละที่วัดเบญจมบพิตร เป็นต้นที่ในหลวงทรงปลูกไว้เมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๖
มาให้ดูครับ ต้นยังไม่ใหญ่ ยังไม่มีดอก เป็นหลักฐานว่าคือต้นสาละ

ต้นลูกปืนใหญ่ หรือ ต้นสาละลังกา (Cannon-ball Tree)

ต้นลูกปืนใหญ่ หรือ ต้นสาละลังกา หรือต้นแคนนอนบอล (Cannon-ball Tree) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Couroupita guianensis Aubl." เป็นพืชอยู่ในวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae (ปัจจุบัน จิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae)

ต้นลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ Guiana และประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปเอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในสวนพฤกษศาสตร์

เป็นพันธุ์ไม้นำมาจากประเทศคิวบา ศรีลังกาได้นำมาปลูกประมาณปี พ.ศ.2422 ส่วนประเทศไทยปลูกเมื่อปี พ.ศ.2500 เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามปลายกิ่งรูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ มน ขอบใบจักตื้นๆ

ดอกช่อใหญ่ ยาว ออกตามโคนต้น ดอกสีชมพูอมเหลืองและแดง กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น กลีบดอก 4-6 กลีบ แข็ง หักง่าย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 ซม. โคนของเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นรูปโค้ง ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ผลแห้งเปลือกแข็ง ผิวสีน้ำตาลปนแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. ผลสุกมีกลิ่นเหม็น ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่ ออกดอกเกือบตลอดปี ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท

ต้นลูกปืนใหญ่ หรือต้นสาละลังกา กับพระพุทธศาสนา

ถือว่าเป็นต้นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา เนื่องจากชาวลังกาเห็นว่าดอกมีลักษณะสวยและมีกลิ่นหอมจึงนำไปถวายพระ อีกทั้งนิยมปลูกภายในวัดมากกว่าตามอาคารบ้านเรือน

............................................................

ที่มา ::
1. ผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2548 14:35 น.
2. http://www.rspg.thaigov.net/

 

ขอขอบคุณ:http://www.watsai.net/sal_tree.php

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริต ๖

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ
จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ
          ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ
กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด
ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด
          ๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร
หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโสใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
          ๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า
อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือกมีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
          ๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย
ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
          ๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ  เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา
          ๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี
การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง
         

อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖
ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมีที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละมีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

          นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการของจริตที่จิต
ของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติเพื่อการละด้วยการ
เจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของ
อารมณ์  ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณอารมณ์จิต
เกิดฟุ้งซ่าน ไปปรารถนาความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ผูกพันในทรัพย์สมบัติบ้าง วิตกกังวลถึง
เหตุการณ์ต่างๆ บ้าง เกิดอารมณ์สัทธาหวังในการสงเคราะห์ หรือมุ่งบำเพ็ญธรรมบ้าง เกิด
อารมณ์แจ่มใส น้อมไปในความเฉลียวฉลาดบ้าง เมื่อรู้ในอารมณ์อย่างนี้ ก็จะได้น้อมนำเอา
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือ 
หักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อผลให้ได้ญาณสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมที่
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีรวมทั้งหมด
๔๐ อย่างด้วยกัน ท่านแยกไว้เป็นหมวดเป็นกองดังนี้
          อสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ กสิณ ๑๐ อาหาเรฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑


พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ รวมเป็น ๔๐ กองพอดี

แบ่งกรรมฐาน ๔๐ ให้เหมาะแก่จริต
           เพราะอาศัยที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมี มีมาเพื่อเป็นศาสดาทรงสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์เพื่อให้บรรลุมรรคผล ด้วยหวังจะให้พ้นจากทุกข์อันเกิดจากการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏความเป็นสัพพัญญูของสมเด็จผู้ทรงสวัสดิ์ พระองค์ทรงทราบถึงความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ด้วยตรัสเป็นพระพุทธฎีกาไว้ว่า เมื่อใดอารมณ์
จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใดก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป ฉะนั้น ขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงสนใจเรียนรู้กรรมฐาน ๔๐ กอง และจริต ๖
ประการ  ตลอดจนกรรมฐานที่ท่านทรงจัดสรรไว้เพื่อความเหมาะสมแก่จริตนั้นๆ ท่องให้ขึ้นใจไว้และอ่านวิธีปฏิบัติให้เข้าใจ เพื่อสะดวก เมื่อเห็นว่าอารมณ์เช่นใดปรากฏ จะได้จัดสรรกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดว่าเหมาะสมมาหักล้างอารมณ์นั้นๆ ให้สงบระงับ ถ้านักปฏิบัติทุกท่านปฏิบัติ
ตามพระพุทธฎีกาตามนี้ได้ ท่านจะเห็นว่า การเจริญสมถะเพื่อทรงฌานก็ดี การพิจารณาวิปัสสนาญาณเพื่อมรรคผลนิพพานก็ดี ไม่มีอะไรหนักเกินไปเลย ตามที่ท่านคิดว่าหนักหรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัยนั้นถ้าท่านปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจะเห็นว่าไม่หนักเกินวิสัยของคนเอาจริงเลย
กับจะคิดว่าเบาเกินไปสำหรับท่านผู้มีความเพียรกล้าเสียอีก กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ท่านจำแนกแยกเป็นหมวดไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตนั้นๆ  มีดังนี้  คือ

๑. ราคจริต

          ราคจริตนี้ ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กับกายคตานุสสติกรรมฐาน อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ อย่างในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิตจงนำกรรมฐานนี้มาพิจารณา โดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ  จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นอะไรเลย ถ้าจิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์  เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงาม กลายเป็นของ น่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเราโดย  เอาอสุภกรรมฐานหรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัยทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใดก็จะเข้าถึงมรรคผล
นิพพาน การทำถูกไม่เสียเวลานานอย่างนี้

๒. โทสจริต

          คนมักโกรธ  หรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้นขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่
การเจริญฌาน ท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔ ได้แก่  นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง  ปีตกสิณ  เพ่งสีเหลือง  โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว   กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้  เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ ท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมแก่ท่าน คือตามแต่ท่านจะพอใจเอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัว
ระงับไป

๓. โมหะ และ วิตกจริต

          อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด ท่านให้เจริญอานาปานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว  อารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต

          ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติ หรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่าง  คือ  อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน (๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน  (๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน  (๔) สีลานุสสติกรรมฐาน  (๕) จาคา- นุสสติกรรมฐาน  (๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน  อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้  จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส

๕. พุทธิจริต

          คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์  และมีปฎิภาณไหวพริบดี  ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔
อย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) มรณานุสสติกรรมฐาน (๒) อุปสมานุสสติกรรมฐาน (๓) อาหาเรปฏิกูลสัญญา  (๔) จตุธาตุววัฏฐาน  รวม ๔ อย่างด้วยกัน 


          กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กอง กรรมฐาน ทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐ กอง คือ อรูป ๔ ภูตกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณ  เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ  ๔ อย่างนี้เรียกภูตกสิณ  อาโลกสิณ  ๑  และอากาศกสิณอีก ๑  รวมเป็น ๑๐ พอดี  กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้  ท่านตรัสไว้เป็นกรรมฐานกลางเหมาะแก่จริตทุกอย่าง  รวมความว่าใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคน  แต่สำหรับอรูปนั้นถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน  ๔  เสียก่อน  แล้วจึงเจริญในอรูปได้  มิฉะนั้นถ้าเจริอรูปเลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่

ขอขอบคุณ : http://www.palungjit.com/smati/k40/jarit6.htm

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเห็นสิ่งต่างๆในสมาธิ : สมเด็จพระพุฒาจารย์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ยอดพระนักปฎิบัติธรรมชั้นสูงของประเทศไทย ได้ให้แนวทางอันเป็นหัวใจ แห่งการทำสมาธิ ไว้ในหนังสือประชุมโอวาสฯ ตอนหนึ่งว่า

ข้อสำคัญมีอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นหัวใจแก่การทำสมาธิ สิ่งนั้นประเภทแรกคือศีลที่จะ
ต้องปฏิบัติ" เมื่อรักษาศีลให้ครบไม่ด่างพร้อยแล้ว การกระทำสมาธิย่อมสำเร็จได้โดยเร็ว

ศีลที่จะให้ปฏิบัติในขั้นแรกก็มีเพียง ๕ ประการเท่านั้น รักษาศีลทั้ง ๕ นี้ให้บริสุทธิ์คงอยู่เสมอ
ไปแล้ว การทำสมาธิ ก็ไม่เป็นเรื่องยากเย็นอะไร ข้อสำคัญพึงจำไว้ว่า การที่จะรักษาศีลนั้น จะมีวิธีการทำการละเว้นไม่ปฏิบัติในทางที่ผิดศีล และประพฤติปฏิบัติที่จะรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการ

ประการที่ ๑ เรียกว่า เจตนาวิรัช ได้แก่ตั้งเจตนาที่จะละเว้นการกระทำอันเป็นการผิดศีลของตัวเอง โดยไม่ต้องไปกล่าวคำให้ผู้อื่นฟัง
คือหมายความว่าโดยไม่ต้องมีการสมาทานศีลนั้น ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ภายในอย่างมั่นคง ว่าจะรักษาศีลทั้ง ๕นี้ไว้ให้บริสุทธิ์

ประการที่ ๒ เรียกว่า สมาทานวิรัช หมายความว่าการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยวิธีที่กล่าวคำขอศีลจากพระภิกษุ เป็นต้น การขอศีลจากพระภิกษุนั้น

เมื่อ ได้รับศีลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุจะอนุโมทนาศีลและให้พร จงรับทั้งศีลและพรนั้น มิใช่ตั้งใจรับแต่พรแต่ศีลนั้นปล่อยไปหาประโยชน์อันมิได้
เมื่อสมาทานศีลนั้นแล้วก็พึงประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวปฏิญาณว่าจะรักษาศีลนั้นให้บริสุทธิ์

ประการที่ ๓ เรียกว่า สมุทเฉทวิรัช คือการละเว้นโดยสิ้นเชิง มิให้มีสิ่งใดเหลืออยู่อีก เป็นการกระทำขั้นสูงสุด พยายามที่จะกระทำจิตและกาย วาจาให้บริสุทธิ์อย่างสูง
คือ เป็นสิ่งที่รักษากาย วาจาให้เป็นปกติอยู่ เมื่อกาย วาจาอันเป็นปกติแล้ว จิตย่อมเข้าสู่ความสงบอันเป็นปกติด้วย กิเลสพอกพูนอยู่ในดวงจิตก็ดี

อาสวะคือเครื่องดองอันดวงจิตด้ตกลงไปหมักอยู่ก็ดี ย่อมจะลดน้อยถอยลง และเสื่อมสูญไป ทำให้ดวงจิตผ่องใสปราศจากธุลีเศร้าหมอง เป็นจิตที่มีความรุ่งโรจน์ เป็นจิตที่เจริญด้วยการอบรมเนืองๆจากศีลนั้น

การประพฤติปฏิบัติ ด้วยการตั้งจิตเจตนาที่จะละเว้นการปฏิบัติในการผิดศีลทั้ง ๓ ประการที่กล่าวนี้

หากเกิดแก่ผู้ใดนั้นย่อมจะได้สมความมุ่งมาดปรารถนา ดังที่มีคำอนุโมทนาและอวยพร

อิมินา ปัจสิกขาปทานิ สีเลน สุคติง ยันติ สีเลน โภคสัมปทา สีเลน นพพุติ ยันติ ตัสมา สีบัง วิโสธเย

เมื่อจะแปลเป็นข้อความโดยย่อแล้วก็ย่อมจะกล่าวได้ว่า อันศีลทั้งหลายที่ได้ยึดถือและรักษาไว้นี้ ศีลย่อมจะรักษาผู้มีศีลให้มีความสุข ศีลย่อมจะอำนวยผู้มีศีลให้ประสบซึ่งความมั่งคั่งสมบูรณ์

ศีลนำจิตเข้าสู่ที่อันสงบคือพระนิพพานได้ดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ทำตนให้เป็นผู้มีศีลไว้ดังนี้
เป็นต้น ศีลย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการที่จะทำจิตให้เกิดสมาธิ

ด้วย เหตุนี้ผู้ที่จะตั้งใจกระทำสมาธิจิต นอกจากจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องประกอบไปด้วยพรหมวิหาร๔ มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ควร จะต้องแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ ญาติมิตร อริศัตรู บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพชนต้นตระกูล ครูบาอาจารย์
ท่าน ผู้มีอุปการคุณ อารักขาเทวดา และทวยเทพเทวา พรหมมา เป็นต้น และอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นต้น


การเห็นในสมาธิ หลังจากที่บำเพ็ญจิตให้บังเกิดสมาธิอันแน่วแน่แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้ประทานข้อแนะนำไว้ว่า....

การเห็นในสมาธิมี ๓ อย่าง

๑.การเห็นในสมาธิที่ตั้งใจหมายไว้อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากความปารถนาของจิตเอง อันนี้ไม่ถือว่าเป็นสมาธิ หากเป็น อุปทาน ต้องลบภาพที่เห็นเช่นนี้

๒.การเห็นอย่างที่๒ เป็นการเห็นเพื่อขอส่วนบุญ หรือชักนำไปสู่ ความกำหนัด เกิดกามราคะ เพราะเหตุแห่งมารนำจิตไป
หรือ มิฉะนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายที่มีความทุกข์ต้องการมาติดต่อขอส่วนบุญ เพื่อบรรเทาความทุกข์เดือดร้อนอดอยาก การเห็นเช่นนี้เห็นโดยจิตมิได้ปารถนา มิ ได้ตั้งปณิธานหรืออุปทานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เมื่อเกิดภาพนี้ขึ้นให้แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลแก่เขาไป อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

๓.การเห็นในสมาธิอย่างที่ ๓ นั้น เป็นการเห็นโดยนิมิตอันประเสริฐ เช่น เห็นพุทธนิมิต เทพนิมิต พรหมนิมิตทั้งหลาย เป็นต้น
การเห็นแสงสว่างทั้งปวงก็ดี การเห็นเช่นนี้เป็นเครื่องบอกว่า ได้เดินเข้าไปในทางที่จะสามารถติดต่อกับทิพย์วิญญาณทั้งหลายได้

พึงพิจารณาแยกให้ออกว่าอันไหนเป็นนิมิต อันไหนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญ อันไหนเป็นอุปทานที่เกิดจากความปารถนาของดวงจิต

จง มีสติตั้งมั่นคุ้มครองดวงจิตโดยที่ไม่ต้องคิดหรือหวังจะให้เกิดนิมิต อันเป็นที่พึงปารถนาในทางที่จะชักนำดวงจิตเข้าไปสู่ทางอกุศลได้ต่อไป

ขอขอบคุณ: http://board.palungjit.com/f132/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-333686.html

ตรวจศีล (ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย)

ตรวจศีลข้อ1

ศีลข้อ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาดจากโทสะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 1 เพื่อล้างโทสะ ละเบียดเบียน

ศีลขาด
คือ เจตนาทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง และแสดงออกซึ่งอาการโทสะทางกาย เช่น เตะหมา ตีแมว ต่อยคน ประทุษร้ายใครด้วยความโกรธ ฯลฯ (อริยกันตศีลเป็นศีลละเอียดกว่าศีลสามัญญตา)

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาด้วยโทสะ หรือโกรธ เช่น สั่งฆ่า สั่งทำร้าย หรือพูดกระแทกแดกดัน ยั่วกันด้วยโทสะ ด้วยความไม่ชอบใจ หมั่นไส้ และวาจาใดอันอดมิได้ต่อโทสะภายใน

ศีลด่าง
คือ มีใจโกรธ อึดอัด ขัดเคือง อาฆาต พยาบาท ถือสาชิงชัง รังเกียจ ไม่ชอบใจหรือปรุงใจเป็นไปด้วยโทสะ (ยังครุ่นคิดแค้น คิดทำร้าย คิดทำไม่ดีไม่งามกับผู้อื่นอยู่)

ศีลพร้อย
คือ มีใจเบื่อ ซึม เซ็ง ซังกะตาย ถดถอย ท้อแท้ ไม่ยินดี โลกนี้เป็นสีเทา (อรติ)

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโทสะละเบียดเบียนนี้ ซึ่งจะรู้ชัดได้ดี เมื่อมีเมตตาสมาทานอย่างต่อเนื่อง



ตรวจศีลข้อ2

ศีลข้อ 2 อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากโลภะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 2 เพื่อลดโลภะ ละตระหนี่ แม้ตน

ศีลขาด
คือ เจตนาขโมย โกง ปล้นจี้ ตีชิง ฉกฉวย แม้ที่สุดหยิบของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา เลียบเคียง ลวงเล็ม หลอกล่อ หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมโลภ

ศีลด่าง
คือ มีใจเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ คิดอยากใคร่ของคนอื่น หรืออาศัยนิมิตสมมุติ เพื่อให้ได้มาเพื่อให้ได้อยู่โดยไม่สมคุณค่าฐานะแห่งนิมิตสมมุติ (รูปแบบ, ตำแหน่งแต่งตั้ง) นั้นๆ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีทรัพย์สินของโลก ของคนอื่น หรือมอบตนอยู่บนทางแห่งการได้มาสมโลภ

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่หลงใหลยินดีทรัพย์สินของโลก และสิ้นความผลักใส ชิงชังทั้งไร้ตระหนี่ตน เป็นคนขวนขวายใฝ่สร้างสรร ขยันชนิดทำงานฟรี ไม่มีเรียกร้องสนองตอบ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโลภะละตระหนี่นี้ +++ (ฆราวาสครองเรือนจะพ้นศีลพร้อยได้ยากมาก แต่สามารถตรวจจับดับความยินดีในการได้มาได้...เมื่อต้องอยู่กับทรัพย์สินก็ ควรอยู่เหนือทรัพย์สิน)




ตรวจศีลข้อ3

ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

ศีลขาด
คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศ หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัสกับผู้มิใช่คู่ครองของตน แม้ในคนที่ไม่ได้แต่งงานกัน (การบริโภคกามตามสถานค้าประเวณีจัดเป็นความผิดขั้นนี้)

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อผูกพัน หรือบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน ทั้งที่ผู้นั้นมิใช่คู่ครองของตน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ หรือมีอารมณ์แปรปรวนป่วนฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหล อยู่ในใจกับใครอื่นซึ่งไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดต้องจบจิตคิดใคร่)

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่กับผู้อื่น หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึงจากเพศตรงข้ามที่ไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดจบสนิทจิตยินดีในกาม)

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้ (ต้องศีล 8 จึงมีสิทธิเป็นไท)



ตรวจศีลข้อ4

ศีลข้อ 4 มุสาวาท เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความเท็จ ความไม่แท้
เจตนารมณ์ศีลข้อ 4 เพื่อลดมุสา พัฒนาสัจจวาจา

ศีลขาด
คือ เจตนากล่าวคำเท็จ โกหก หลอกลวง บิดเบือนไปจากความจริง หรือสัจจะ

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา ระบายโทสะ บำเรอโลภะ บำรุงราคะ เป็นคำหยาบ

ศีลด่าง
คือ มีวาจาส่อไปในทางเสียด เสียดสีเชิงโทสะบ้าง เสียดสีเชิงโลภะบ้าง เสียดสีเชิงราคะบ้าง เสียดสีเชิงมานะทิฏฐิบ้าง เสียดสีเชิงมานะอัตตาบ้าง แม้จางบางเบา หรือพูดกบคนโน้นทีคนนี้ที เพื่อให้เกิดวิวาทบาดหมาง แยกก๊ก แบ่งเหล่า ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาส่อเสียด

ศีลพร้อย
คือ มีวาจาเรื่อยเปื่อยเฉื่อยฉ่ำไป เพ้อไป พล่อยไป พล่ามไป จะโดยแรงเร้าจากโทสะที่จากบางเบา โลภะที่จางบางเบา ราคะที่จางบางเบา หรือมานะทิฏฐิที่จางบางเบา มานะอัตตาที่จางบางเบา ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาเพ้อเจ้อ

เป็นไทโดยศีล
ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี มีวาจาประชาสัมพันธ์ เป็นไปโดยสามารถของตนไร้อิทธิพลจากโทสะ โลภะ ราคะ มานะทิฏฐิ มานะอัตตามาครอบงำ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องราว ลดมิจฉาสู่สัมมา หรือลดมุสา (วาจาอันเป็นเท็จจากสัจจะ) พัฒนาสัจจวาจา




ตรวจศีลข้อ5

ศีลข้อ 5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากเสพติด ชีวิตมืดบอด
เจตนารมณ์ศีลข้อ 5 เพื่อลดโมหะ ละประมาท เพิ่มธาตุรู้หรือสติ

ศีลขาด
คือ เจตนาเสพสิ่งเสพติดมัวเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน สังสรรกับคนชั่ว ปล่อยตัวเกียจคร้านอย่างตั้งใจ

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่อบายมุขหรือโน้มน้าวอบายมุขมาสู่ตน คนอื่น และกล่าววาจาพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งอบายมุข (ทั้ง6)

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในอบายมุข ปรุงใจถวิลไปในอบายมุข หรือเรื่องราวคราวก่อนตอนเสพอบายมุขลามไหลอยู่ในใจ เก็บสัญญาเก่าก่อนตอนเสพอบายมุขมาย้อนเสพ

ศีลพร้อย
คือ ยังมีใจยินดีในอบายมุข เห็นคนเสพอบายมุขยังยินดี มีใจริษยา มิได้เกิดปัญญา เห็นภัยในอบายมุขและการเสพอบายมุข

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นอารมณ์ชิงชังในอบายมุข หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายมัวเมามือบอดนี้



ตรวจศีลข้อ3 (สำหรับศีล8)

ศีลข้อ 3 อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

ศีลขาด
คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่น หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัส แม้ที่สุดกับตนเองทางกาย หรือข่มเหงตนเองโดยกามราคะขับดัน

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อการผูกพัน หรือพูดบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ มีอารมณ์อันแปรปรวนป่วนปั่น ฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหลอยู่ในใจ หรือกามสัญญาเก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่ หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึง จากเพศตรงข้าม เพศเดียวกัน แม้ที่สุดตนเอง

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้



ตรวจศีลข้อ6

ศีลข้อ 6 วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากการบริโภคอันไม่ควรกาล
เจตนารมณ์ศีลข้อ 6 เพื่อลดหลงติดในอาหาร และรู้ประมาณการบริโภค

ศีลขาด
คือ เจตนาบริโภคเกินหนึ่งมื้อด้วยความหลงติด สำหรับผู้ยังไม่เข้มแข็งสมาทานสองมื้อก็เจตนาบริโภคเกินสองมื้อ หรืออดมิได้ต่อความยั่วยวนชวนชิมของอาหาร

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา เรียกร้อง เลียบเคียง หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมตัณหาในอาหารอันตนชอบรับประทาน และพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งอันตนชอบรับประทาน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดคำนึงหาอาหารอันตนชอบรับประทาน หรืออยากในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารอันยวนใจ และดึงสัญญาในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารจากกาลก่อนย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ ยังมีใจยินดีในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหาร ยามได้เห็น หรือได้มาสมอุปาทานยังปลาบปลื้มประโลมลิ้นยินดีพึงใจอยู่

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้กำหนัดยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังใน รส หรือ ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือ ขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องอาหารการบริโภคนี้



ตรวจศีลข้อ7

ศีลข้อ 7 นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิลเปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากส่วยเสริมกามราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 7 เพื่อลดส่วยเสริมกามราคะ ละกำหนัดในกาย ธุลีเริงทั้งหลายและความเป็นเด็ก

ศีลขาด
คือ เจตนา เต้น ร่ายระบำ รำฟ้อน หรือทำท่าทางยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (นัจจะ) ขับร้อง เอื้อนเอ่ยบรรเลงเพลงยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (คีตะ) ประโคมดนตรี เครื่องเสียง เครื่องเคาะ เครื่องสายต่างๆ ยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วาทิตะ) หาอ่าน หาดู หารู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจเร้าให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วิสูกะทัสสะนา) และเจตนาประดับตบแต่งด้วย ดอกไม้ พวงดอกไม้ (มาลา) กลิ่นหอมเครื่องหอมเครื่องสำอาง (คันธะ) หรือลูบไล้พอกทาแต้มเติม (วิเลปะนะ) หรือสวมใส่ทรงไว้ทรงจำ (ธาระณะ) หรือแต่งเสริมเติมแต้มด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ (มัณฑะนะ) ด้วยการประดับแต่งเสริมเติมแต้มที่ไม่สมควรไม่ใช่ฐานะอันควร (วิภูสะนัฏฐานา) ทั้งหมดจะเจตนายั่วคนอื่น หรือบำเรอตนก็จัดอยู่ในข้อศีลขาด

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การขับร้อง ประโคมดนตรีอันเป็นมหรสพ หรือเป็นข้าศึกแก่กุศล หรือชวนอ่าน ชวนดู รับรู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจ และโน้มน้าวกล่าวชวนแต่งเติมเสริมประดับด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องสำอางทั้งเครื่องประดับต่างๆ ที่ไม่สมควร ไม่สอดรับกับฐานะ หรือพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งดังกล่าว

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในส่วยเสริมกามราคะ ปรุงใจถวิลไปในบันเทิงเริงรมย์ เชิงร่ำร้อง ประโคมดนตรี หรือสิ่งดู รับรู้อันเป็นข้าศึกแก่ใจ ทั้งเครื่องลูบไล้ ดอกไม้ของหอม เครื่องสำอางต่าง ๆ หรือประสบการณ์เก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือยังมีใจยินดีในส่วยเสริมกามราคะ เห็นผู้อื่นเสพส่วยเสริมกามราคะ ยังยินดีบ้าง มีใจริษยาบ้าง มิได้เกิดปัญญาเห็นโทษภัยในส่วยเสริมกามราคะ และการเสพสิ่งดังกล่าว

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังในการร้องรำ ประโคมดนตรี และการปรับปรุงระดับต่างๆ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องส่วยเสริมกามราคะ หรือการบันเทิงเริงประดับนี้ (การทำท่าทางเพื่อให้ละหน่ายคลายจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นมงคลอันอุดมไม่ใช่มหรสพ)




ตรวจศีลข้อ8

ศีลข้อ 8 อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความมักใหญ่
เจตนารมณ์ศีลข้อ 8 เพื่อลดมานะ ละอัตตา (โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา)

ศีลขาด
คือ เจตนาเสพที่นอน ที่นั่ง บัลลังก์ ที่อยู่อาศัยใหญ่โตเขื่องหรู หรืออยู่และนั่งในยศตำแหน่งแห่งงาน การดำรงชีพอันเขื่องโข เพื่ออวดใหญ่อวดโต โดยเกิดจากใจอุจาด

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวนโน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การนั่ง การนอน การอยู่อันเขื่องหรู ใหญ่โต โดยใจมักใหญ่ หรือกล่าววาจายกตนข่มคนอื่น สำแดงความเป็นใหญ่ โอ่ประโลมอัตตายิ่ง ๆ ขึ้นไป พร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งที่นั่งที่นอนที่อยู่อันหรูหราใหญ่โต และวาจาใดอันอดมิได้ต่อความมักใหญ่ภายใน

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในความใหญ่ ปรุงใจถวิลไปในที่นั่ง ที่นอน ที่อยู่ ยศตำแหน่งแห่งปรารถนาอันใหญ่ (มโนมยอัตตา) และเรื่องราวคราวใหญ่ในกาลก่อน นึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในความเป็นใหญ่ อยู่ใหญ่ของตน คนอื่น แม้เห็นคนอื่นเสพ หรือเป็นอยู่เป็นไปในความใหญ่ ทั้งนั่งใหญ่ นอนใหญ่ หรือยศตำแหน่งแห่งที่เขื่องหรู ยังมีใจยินดีที่ตนเป็นใหญ่ มีใจริษยาเมื่อคนอื่นใหญ่ มิได้เกิดปัญญารู้แก่นรู้กาก ของการเป็นอยู่เป็นไปในชีวิตที่พอเหมาะพอควร พอดีสมฐานะ รวมไปถึงอรูปอัตตาที่ยึดเป็นตะกอนนอนนิ่งในจิตทั้งปวง

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี แม้พัฒนาตนได้ดียิ่งขึ้น เก่งยิ่ง เป็นเลิศยิ่ง ก็ไม่มีความหลงใหลในการเป็นอยู่ เป็นไป ในที่นั่ง ที่นอน ยศตำแหน่งแห่งการงาน การดำรงชีวิตหรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายอัตตามานะนี้

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผลกรรมจากการผิดศีล 5 อย่างละเอียด


ผิดศีลข้อ 1 ( ฆ่าสัตว์,เบียดเบียนทำร้ายสัตว์,กักขังทรมาณสัตว์) ผลกรรมคือ
1. มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2. มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3. อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4. กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาณ ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมาณสัตว์ไว้
6. อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่างๆก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่นไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจะขายให้คนไปทำกิน ให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ ซื้อยาสมุนไพร ยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและ ของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาล บริจาคเลือดและร่างกายให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่างๆ และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อที่ 2 (ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์) ผลกรรมคือ


1. ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2. มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3. ทรัพย์หายบ่อยๆหลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4. มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อยๆทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5. ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อยๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำค่าไฟวัด เพื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัยส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์ อย่างสุจริต รวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพไม่ฉ้อโกงใครแม้แต่สลึงเดียว และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง



ผิด ศีลข้อ 3 (ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น,กีดกันความรักคนอื่น,นอกใจคู่ครอง,หลอกลวง, ข่มขืน,ค้าประเวณี, ล่วงเกินทางเพศต่างๆ) ผลกรรมคือ
1. หาคู่ครองไม่ได้ ,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์ ,โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2. เป็นหม้าย ,ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง,คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3. คนรักนอกใจ ,คนรักมีชู้ ,มีเมียน้อย ,คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้ ,โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี ,โดนข่มขืน
4. ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก ,พ่อแม่ทอดทิ้ง ,ชีวิต
ขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย,ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศทางร่างกาย,ทางจิตใจ,ถูกกีดกันทางความรัก,สังคมไม่ยอมรับความรักของตน,มีความรักหลบๆซ่อนๆ
6. ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ(ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิด
ทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจ
เดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง
หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จัก เอาใจใส่คู่ครองคนรัก เอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญทำให้ความรักของเราสดใสไม่ เจ็บช้ำ หากทรมาณพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอๆกับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้



ผิด ศีลข้อ 4 (โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่น ใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญา สาบานแล้วไม่ทำตาม ) ผลกรรมคือ
1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา โดย” ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียด นินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่าไม่เถียงไม่นินทาผู้มีพระคุณเช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ให้คำสัญญาใครไว้ต้องรักษา อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่างๆก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและ ตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อยๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะ พูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูดไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น



ผิดศีลข้อ 5 (ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด) ผลกรรมคือ
1. สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2. เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3. หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4. ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5. เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6. มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา โดย” ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่าย จ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทานวิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไป และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง

ขอขอบคุณ:http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-341412.html

บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากพุทธภาษิตนี้ พระพุฒโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย ได้นำมาเขียน สรุปไว้ในผลงานของท่านว่า ขึ้นชื่อว่าผลกรรมแล้วไม่มีใคร สามารถห้ามได้  นั้นก็ หมายความว่า คนเราเมื่อทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ถึงคราวที่ความดีความชั่ว จะให้ผลนั้นย่อม ไม่มีใครห้ามได้ แม้พระพุทธเจ้า ของเราเองก็ทรงห้ามไม่ได้"
ความจริงข้อนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 32 (ขุททกนิกาย อปทาน) ซึ่งในพระไตร ปิฏกเล่มนี้ มีกล่าวไว้ว่า ...พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่มาให้ผลแก่พระองค์กรรม เก่าที่ตรัสเล่านั้นเป็นกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติ เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แล้วมาให้ผลใน ชาติปัจจุบันถึงแม้ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังไม่พ้นไป จากผลของ กรรมเก่านั้นซึ่งนำมาสรุปกล่าวได้ดังนี้

กรรมเก่าอย่างแรก คือ แกล้งโคไม่ให้ดื่มน้ำ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนเลี้ยงโค ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคแวะดื่มน้ำข้างทาง เกรงจะชักช้าจึงไล่แม่โคไม่ให้ดื่มน้ำ ด้วยการแกล้งเอาไม้กวนน้ำให้ขุ่น บาปกรรมในชาตินั้นส่งผลมาถึงชาิตินี้ แม้จะได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ส่ง ผลให้พระองค์กระหายน้ำแล้วไม่ได้เสวยสมปรารถนาทันที เมื่อคราวใกล้จะเสด็จ ดับขันธ ปรินิพพาน

กรรมเก่าอย่างที่สอง คือ กล่าวตู่ผู้มีศีลด้วยเรื่องไม่จริง
พระองค์ตรัสเล่าว่า เป็นกรรมเก่าทำไว้ในหลายชาติในอดีตดังนี้ ในชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นนักเลง ชื่อ "ปุนาลิ" ได้กล่าวตู่ (ใส่ร้าย) พระัปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า "สุรภี" ว่าทำผู้หญิงท้อง ตายจากชาิตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ ก็ส่งผลให้พระองค์มาถูกนางสุนทริกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนตั้งครรภ์ ต่อมาในชาติหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ได้ทรงกล่าวตู่พระเถระชื่อ "นันทะ" พระสาวถองค์หนึ่ง ของพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องทำนองเดียวกัน ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานนับหมื่นปี เกิดมา ในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูก นางจิญจมาณวิกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนนางตั้งครรภ์อีกเช่นกัน

กรรมเก่าอย่างที่สาม คือ ฆ่าน้องชายต่างมารดา
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกเศรษฐี บิดาของพระองค์มีภรรยาหลายคน ภรรยาคนหนึ่ง มีลูกชายพระองค์เกรงว่าทรัพย์สมบัติส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งไปให้แก่น้องชายต่าง มารดานั้นจึงลวงน้องชายไปฆ่าที่ซอกเขา แล้วเอาหินทับไว้ ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานปี เกิดมาในชาิตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตกลิ้งหินกระทบนิ้ว พระบาทจนห้อ พระโลหิต


กรรมเก่าอย่างที่สี่ คือ จุดไฟดักทางพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นเด็กแสนซน วันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับเพื่อนเด็ก เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังเดินมา จึงชวนกันจุดไฟดักทางเพื่อมิให้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้ ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมยังหลงเหลืออยู่ก็ ส่งผลให้พระองค์ถูกไฟไหม้ที่พระบาท

กรรมเก่าอย่างที่ห้า คือ ไสช้างจับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต คราวที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มีพระปััจเจกพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก พระองค์เกิดเป็นควาญช้าง วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งบิณฑบาตแล้วเกลียดจึงไสช้างให้จับ พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น ตายจาก ชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตยุยงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรีมาแทงพระองค์

กรรมเก่าอย่างที่หก คือ นำทหารออกศึก
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบฆ่า ข้าศึกตายเป็นจำนวนมากด้วยหอก ตายจาก ชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตชักชวนนายขมังธนูผู้ดุร้ายมาฆ่า

กรรมเก่าอย่างที่เจ็ด คือ เห็นคนฆ่าปลาแล้วชอบใจ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกชาวประมง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลา แล้วเกิดความสนุกยินดีสนุกสนาน มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์รู้สึกปวดพระ เศียรเมื่อคราวที่พวกเจ้าศากยะพระประยูรญาติของพระองค์ ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลยกทัพบุกสังหาร

กรรมอย่างที่แปด คือ ด่าพระสาวกของพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนปากกล้าด่าว่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าผุสสะ (พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 17 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี) และพูดแดกดันทำนองว่าให้ท่านเหล่านั้นได้ฉันแต่ข้าวชนิดเลว อย่าให้ได้ฉันข้าวดีๆอย่างข้าวสาลีเลย ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์ได้รับนิมนต์จากพราหมณ์เวรัญชาให้ไปจำพรรษาใน เมืองเวรัญชา ครั้นพระองค์เสด็จไปถึงก็เกิดข้าวยากหมากแพง ทำให้พระองค์ต้องเสวยข้าวชนิดเลว(ข้าวแดง)อยู่นานถึง 3 เดือน

กรรมอย่างที่เก้า คือ มีส่วนร่วมในการจัดมวยปล้ำ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนจัดมวยปล้ำ มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วบาป กรรมยังส่งผลให้พระองค์มีโรคประจำตัวพระองค์คือ ปวดพระปฤษฏางค์ (ปวดหลัง)

กรรมอย่างที่สิบ คือ เป็นหมอยารักษาคนไข้ตาย
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นหมอยารับรักษาลูกชายเศรษฐี โดยวิธีให้ถ่ายยา จนลูกชายเศรษฐีตาย ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรก มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ก็ส่งผลให้พระองค์เกิดพระโรคปักขันทิกาพาธ(โรคท้องร่วง) หลัีงจากเสวยสุกรมัททวะก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

กรรมอย่างที่สิบเอ็ด คือ เยาะเย้ยพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นชายหนุ่มชื่อ "โชติปาละ" วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ (พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 26 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี) แล้วกราบทูลทำนองเย้ยหยันว่า ทำไมจึงได้ตรัสรู้ช้าต้องบำเพ็ญพียรอยู่นานกว่าจะตรัสรู้ได้ มาเกิดในชาตินี้ซึ่งแน่นอนว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ แต่ด้วยผลกรรมนั้นจึงส่งผลให้พระองค์หลงทางในการแสวงหาโมกธรรม จนต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา อันทำให้พระองค์ต้องประสบกับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสกว่าจะตรัสรู้ได้


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือกรรมเก่าที่ไม่ดีของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสเล่าไว้อย่างเปิดเผย พระไตรปิฏกบอกว่าพระองค์ตรัสเล่า ให้พระสาวกจำนวนมากที่มาเฝ้าพระองค์ฟังขณะที่ประทับนั่งอยู่บนพื้นหินแก้ว ในละแวกป่าใกล้สระอโนดาตเชิงป่าหิมพานต์ ณ ที่นั้นนอกจากจะได้ตรัสถึงกรรมเก่าที่ไม่ดีแล้วพระองค์ก็ทรง

ตรัสถึงกรรมเก่าที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยให้พระองค์ได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ไว้ด้วย นั่นคือ ถวายผ้าเก่าแก่พระ พระองค์ตรัสเล่าว่าในชาติหนึ่งในอดีตนั้นพระองค์เกิดเป็นคนยากจนเห็นพระสาวก ของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่งซึ่งถืออยู่ป่า เป็นวัตรแล้วเลื่อมใสจึงถวายผ้าห่มเก่าผืนเดียวที่ตัวเองมีอยู่แก่ท่านพร้อม กันนั้นก็ได้ฟังเรื่องราวของพระพุทธเจ้า จากพระสาวกรูปนั้นแล้วเกิดเลื่อมใสยิ่งขึ้นจึงตั้งจิตปรารถนาเป็นพระ พุทธเจ้าเป็นครั้งแรกการเริ่มต้นปรารถนา แต่ครั้งนั้นของพระองค์ส่งผลให้ทำความดีมาอย่างต่อเนื่องจนมาได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าในชาตินี้

เรื่องราวที่กล่าวมานี้ย่อมชี้ให้เห็นว่ากรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ ตามย่อมคอยโอกาสให้ผลอยู่ตลอดเวลา ตราบที่ผู้ทำกรรมยังเวียนวายตายเกิดแม้ชาติสุดท้ายจะได้บรรลุอรหัตผลแล้วแต่ โดยเหตุที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งชีวิต นี้เกิดมาจากกรรมเก่าฉะนั้นยังคงต้องได้รับผลอยู่ดี
พระพุทธเจ้าของเราเองก็เช่นกัน แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วแต่กรรมเก่าก็ยังหาโอกาสให้ผลอยู่เป็น ระยะกรรมเก่าบางอย่างก็ให้ผล มาแล้วแต่ยังมีเศษเหลืออยู่ แต่กรรมเก่าบางอย่างก็ยังมิได้ให้ผลมาเลยและมาให้ผลเต็มในชาตินี้ เห็นไหมว่ากรรมยิ่งใหญ่ขนาดไหนพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราเข้าใจ ให้ถูกต้องและการแก้กรรมที่ดีนั้นก็คือ ไม่ทำความชั่วทำแต่ความดีแล้วจิตของเราก็จะพบกับความสุขสมบูรณ์แล.

ขอขอบคุณ:http://board.palungjit.com/f14/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-352965.html#post6507554

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำนานเกี่ยวกับผู้วิเศษ"พระฤาษีตาไฟ"


       ตำนานเกี่ยวกับผู้วิเศษคือเรื่องราวหนึ่งในตำนาน ที่ถูกกล่าวขานอยู่ทั่วโลก อย่างในสุวรรณภูมิเรานั้นมีเรื่องราวผู้วิเศษหลายท่าน ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และพระฤาษีผู้ทรงฤทธิ์ รวมทั้งเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามหลักโยคะศาสตร์ต่างๆ เช่น เล่นว่านยา เล่นแร่แปรธาตุ เล่นอาคม ก็สามารถเข้าถึงอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติได้ จากตำนานทั่วไปเราพบว่าอำนาจวิเศษทั้งหลายเหล่านั้นมักจะพบอยู่ในผู้ที่ออก บวช โดยเฉพาะเหล่าฤาษีทั้งหลาย ทั้งนี้ฤาษีคือพวกออกบวชพระพฤติพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด และเข้าถึงอำนาจแห่งพระเป็นเจ้า
โดยมากนั้นฤาษีมักนับถือพระเป็นเจ้าตามคติลัทธิพราหมณ์ คือ นับถือพระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ การภาวนาของฤาษีอยู่ในหลักของการเล่นพลัง การเล่นกสิณ ดังนั้น ฤาษีจำนวนไม่น้อยจึงบรรลุ ถึงอำนาจที่เหนือธรรมชาติจากการปฏิบัติโยคะทางจิต อำนาจของฤาษีที่บรรลุฌานสมาบัตินั้น ได้แก่ อำนาจในการเดินบนผิวน้ำ การดำดิน การเหาะเหินเดินอากาศ การย่นระยะทาง การรู้วาระจิต การได้หูทิพย์ ตาทิพย์ และอำนาจจิตในการบังคับควบคุมธาตุทั้ง 4 ได้อย่างเด็ดขาด เหล่านี้คืออำนาจที่อยู่ในพระฤาษีที่ลุถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า
เรื่องราวของพระฤาษีตาไฟนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องลี้ลับเพราะนามพระฤาษีตาไฟนั้น ปรากฏมาเป็นเวลานานนับพันปีแล้ว ความลี้ลับของพระฤาษีตาไฟนั้นพอเทียบได้กับเรื่องราวของหลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ยากจะสืบค้นความจริงได้ ในปัจจุบันจะเห็นว่าการสร้างรูปเคารพของพระฤาษีตาไฟนั้นมักปรากฏเป็นพระฤาษี ที่มีสามตา โดยมีตาที่สามกลางหน้าผาก ตามตำนานกล่าวไว้ว่าตาที่สามของพระฤาษีตาไฟนี้ลืมขึ้นมาเมื่อใดจะบังเกิดเป็นไฟประลัยกัลป์ ขึ้น เมื่อนั้น ลักษณะของตาที่สามของพระฤาษีตาไฟนี้ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีบุญและมีตบะฌานที่แก่กล้า ตามคติทางพราหณ์และพุทธนั้นกล่าวว่าบุคคลที่ได้บำเพ็ญเพียรทางจิตมาหลายร้อย หลายพันชาติ เป็นอนันตชาตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นมาในภพชาติปัจจุบันจะมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นผู้ที่มี บุญเกิดขึ้นกับร่างกายหลายอย่าง และอย่างหนึ่งก็คือการมีอุณาโลมที่กลางหน้าผาก อุณาโลมกลางหน้าผากนี้กับภาวะตาที่สามเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งตาที่สามหรือดวงตาแห่งเทพเจ้าพระอิศวรหรือพระศิวะถือว่าเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่าพระองค์ทรงมีสามตา โดยตาที่สามพระองค์นั้นอยู่กลางหน้าผากดุจเดียวกับพระฤาษีตาไฟ และเหมือนกันอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่พระอิศวรทรงลืมพระเนตรขึ้น เมื่อนั้นย่อมบังเกิด ไฟประลัยกัลป์ขึ้นมา ความเหมือนกันโดยบังเอิญของตำนานพระอิศวรและพระฤาษีตาไฟ ที่พ้องกันเช่นนี้ทำให้เชื่อว่าท่านทั้งสองคือพระฤาษีตาไฟและพระอิศวรย่อมมี ความเกี่ยวพันไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งและพอเชื่อได้ว่าพระฤาษีตาไฟแท้จริงแล้ว ก็คือภาคหนึ่งของพระศิวะหรือพระอิศวรเจ้านั้นเอง
       ในหมู่บรรดาฤาษีโยคีทั้งปวงแล้ว ต้องนับถือว่าพระอิศวรหรือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด เพราะพระอิศวรหรือพระศิวะ นั้นแท้จริงแล้วคือบรมโยคีหรือมหาโยคี เป็นเทพฤาษีที่ทรงตบะสูงสุด ทั้งนี้ฤาษีทั้งหลายย่อมบูชาโดยตรงต่อองค์พระศิวะด้วยกันทั้งสิ้นและนับถือ กันว่า พระศิวะนี้ คือพระเป็นเจ้า พระศิวะคือต้นตอแห่งฤาษีทั้งหลาย การบำเพ็ญทั้งหลายของฤาษี โยคีย่อมมุ่งตรงต่อพระศิวะทั้งสิ้น และด้วยเหตุนี้พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีตรีเนตร และพระฤาษีอิศวร ซึ่งแท้จริงก็คือท่านเดียวกัน ย่อมมีฐานะเป็นฤาษีสูงสุดเป็นเจ้าแห่งฤาษีทั้งปวง และย่อมเป็นประธานแห่งฤาษีทั้งหลายด้วย ความหมายแห่งตาที่สาม หนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องเกี่ยวกับพระฤาษีตาไฟ คือ เรื่องตาที่สามของพระคุณเจ้าฤาษีตาไฟ เพราะตาที่สามของพระฤาษีตาไฟนั้น นับเป็นจุดศูนย์รวมพลังงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ จุดตาที่สามนี้หากเราทำ การค้นคว้าสอบถามครูบาอาจารย์และนักพลังจิตจะพบว่า เป็นจุดกึ่งกลางหน้าผากของคนเรานั้นเป็นจุดศูนย์รวมพลังงานลี้ลับ ทางโยคะศาสตร์เรียกตรงนี้ว่า “อาชญะจักรา” หรือตาที่สาม เป็นจุดที่สามารถปลดปล่อยพลังงานทางจิตในระดับสูง และกล่าวว่าผู้ใดก็ตามที่สามารถพัฒนาจุดศูนย์รวมพลังงานตำแหน่งนี้ (จักรา) จะเกิดอำนาจทางทิพยจักษุญาณและหากกล่าวถึงการฝึกเพื่อเปิดตาที่สามตามแนวทางโยคีทางฮินดูแล้ว จะกล่าวถึงวิชาโยคะศาสตร์อันเร้นลับที่เชื่อว่าภายในตัวเรานั้นมีเส้น พลังงานบางอย่างภายในตัว และนอกจากนี้ยังมีศูนย์รวมพลังงานอยู่ทั้งหมดถึง 7 จุดด้วยกัน บริเวณตำแหน่งตาที่สามคือจุดที่หก เรียกว่า จักราที่หก หรือที่เรียกว่าอาชญะจักรนี่เอง การเปิดจักรานี้จะทำได้ก็ด้วย การเดินพลังงานชนิดหนึ่งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า “พลังกุณฑาลินี” พลังงาน ชนิดนี้จะขดตัวอยู่ ณ บริเวณก้นกบ โยคีต้องทำการเข้าสมาธิเพื่อปลุกพลังงานดังกล่าวให้ตื่นขึ้น อย่างเหมาะสม การปลุกพลังกุณฑาลินีในตำราโบราณกล่าวว่า เป็นสิ่งที่อันตราย หากทำโดยไม่มีผู้รู้แนะนำแล้วพลังดังกล่าวเมื่อเคลื่อนตัวขึ้นมาสู่บริเวณ หน้าผากหรือตำแหน่งตาที่สาม จะก่อให้เกิดการเปิดจักรานี้เป็นผลให้บุคคลผู้ นั้นมีภาวะเห็นสิ่งต่างๆ ที่ดวงตาของคนทั่วไปไม่อาจมองเห็นได้ เช่น การมองเห็นออร่าหรือรัศมีของร่างกายของคนเรา การทำนายโดยใช้กระแสจิต เป็นต้น
ซึ่ง พลังนี้ยังรวมไปถึงการปลดปล่อยพลังจิตเพื่อทำการโทรจิตก็ได้ และหากบุคคลผู้นั้นผ่านการฝึกฝนกสินมาด้วยแล้วย่อมสามารถปลดปล่อยพลังออกมา จากตาที่สามทำให้ เกิดไฟขึ้นได้เรียกว่าเพ่งไปที่ใดก็เกิดไฟลุกขึ้นที่นั่นเป็นดั่งพระฤาษีตา ไฟนั่นเอง
ในคำไหว้ครู มีชื่อฤาษีที่คุ้นหูคนไทย อยู่ ๓ ตนด้วยกันคือ ฤาษีนารอด ฤาษีตาวัว ฤาษีตาไฟ
ฤาษีทั้งสามนี้คนระดับชาวบ้านสมัยก่อนรู้จักกันดี มักพูดถึงอยู่เสมอในตำนานพระพิมพ์ ที่ว่า จารึกไว้ในลานเงินก็ได้กล่าวถึงฤาษีตาวัว (งัว) และฤาษีตาไฟไว้เหมือนกัน ดังความว่า
ตำบล เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ตนหนึ่งฤาษีพิลาไลย์ ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตาวัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะ เอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ ฉะนี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย
สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้สัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้น เอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดดังนี้แสดงว่า แต่กาลก่อนทางภาคพื้นประเทศไทยเราก็มีฤาษีอยู่มาก โดยเฉพาะ ฤาษีตาวัว กับ ฤาษีตาไฟ ติดปากคนมากกว่าฤาษีอื่นๆ และประวัติก็มีมากกว่า เท่าที่ทราบพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้
         ฤาษีตาวัว นั้นเดิมทีเป็นพระสงฆ์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จน สามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ทันใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ก็เอาไปทำหล่นตกถาน (ส้วมของพระตามวัด) เสีย จะหยิบเอามาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น เก็บความเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร ลูกศิษย์ไปถาน แลเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ถาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง หลวงตาดีใจบอกให้ศิษย์พาไป เห็นแสงเรืองตรงไหนให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะอย่างไรช่างมัน ศิษย์กลั้นใจทำตาม หลวงตาก็ควักเอาปรอทคืนมาได้ จัดแจงล้างน้ำให้สะอาดดีแล้วก็แช่ไว้ในโถน้ำผึ้งที่ท่านฉัน ไม่เอาติดตัวไปไหนอีก เพราะกลัวจะหล่นหาย อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็มารำพึงถึงสังขาร ว่าเราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะลองดู จึงให้ศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตา แต่ลูกศิษย์หาศพใหม่ๆ ไม่ได้ ไปพบวัวนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง เห็นเข้าที่ดีก็เลยควักลูกตาวัวมาแทน หลวงตาจึงเอาปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้มาคลึงที่ตา แล้วควักเอาตาเสียออก เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงตามหนังตา ไม่ช้าตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดีดังเดิม แล้วหลวงตาก็สึกจากพระ เข้าถือเพศเป็นฤาษี จึงได้เรียกกันว่าฤาษีตาวัว มาตั้งแต่บัดนั้น ส่วน ฤาษีตาไฟ กับฤาษีตาวัวนั้น ฤาษีทั้งสองนี้เป็นเพื่อนเกลอกัน และได้สร้างกุฎีอยู่ใกล้กันบนเขาใกล้เมืองศรีเทพ ท่านออกจะรักใคร่กันมาก มีอะไรก็บอกให้รู้ ไม่ปิดบัง วันหนึ่งฤาษีตาไฟได้เล่าเรื่องให้ศิษย์ฟังว่า ในถ้ำมีบ่อน้ำอยู่สองบ่อ แต่ละบ่อมีฤทธิ์อำนาจไม่เหมือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครลงไปแช่ก็จะตายเหลือแต่โครงกระดูก และถ้านำโครงกระดูกลงแช่ในอีกบ่อน้ำหนึ่งก็จะฟื้นขึ้นมา อีกบ่อน้ำนี้เหมือนชุบชีวิตได้ ศิษย์ ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ฤาษีตาไฟจึงบอกว่า จะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ต้องให้สัญญาว่า ถ้าตนตายไปแล้ว ต้องเอาร่างหรือโครงกระดูกของตนลงแช่ในอีกบ่อหนึ่ง เพื่อคืนชีวิตขึ้นใหม่ ศิษย์ก็รับคำ ฤาษีตาไฟจึงลงแช่ในบ่อน้ำนั้นให้ดู ฤาษีก็ตายเหลือแต่โครงกระดูก ฝ่ายศิษย์เห็นเช่นนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับวิ่งหนีกลับเมืองไปเสีย และคิดว่าเมื่อสิ้นอาจารย์ไปแล้ว ตนย่อมเป็นหนึ่งในแผ่นดิน ไม่มีใครทำอะไรตนได้ ไม่ต้องหวาดกลัวหรือเกรงใจผู้ใดอีกต่อไป
        กล่าวฝ่ายฤาษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤาษีตาไฟอยู่เสมอ เมื่อเห็นฤาษีตาไฟหายไปผิดสังเกตเช่นนั้นก็ชักเอ๊ใจสงสัย จึงออกจากกุฎีมาตามหาที่ถ้ำ เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำนั้น ก็เห็นซากโครงกระดูกอยู่ภายในบ่อ จึงคิดว่าเป็นซากโครงกระดูกของฤาษีตาไฟเป็นแน่
ฤาษีตาวัวจึงนำโครงกระดูกลงไปแช่อีกบ่อน้ำนึง ฤาษีตาไฟก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤาษีตาวัวฟัง และว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมืองให้ได้
ฤาษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงขนาดนั้นเลย ฤาษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟังได้เนรมิตวัวขึ้นตัวหนึ่ง เอาพิษร้ายบรรจุไว้ในท้องวัวจนเต็ม แล้วปล่อยวัวอาคม ให้เดินขู่คำรามด้วยเสียงกึกก้อง รอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูปิดประตูไว้
พอถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็สั่ง ให้เปิดประตูเมือง วัวอาคมคอยทีอยู่แล้วก็วิ่งปราดเข้าเมือง ทันทีนั้นท้องวัวก็ระเบิดออก พิษร้ายก็กระจายพุ่งออกมาทำลาย ผู้คนพลเมืองตายหมด รวมทั้งศิษย์ลูกเจ้าเมืองด้วย เมืองศรีเทพก็เลยร้างมาแต่ครั้งนั้น
ถ้าว่าตามเรื่องที่เล่ามานี้ ฤาษีตาวัวก็ดูจะใจดีกว่าฤาษีตาไฟ และคงจะเป็นด้วยฤาษีตาวัวเป็นผู้ช่วยให้ฤาษีตาไฟฟื้น คืนชีพขึ้นมานี่เองกระมัง ทางฝ่ายแพทย์แผนโบราณจึงได้ถือเป็นครู ส่วนทางฝ่ายทหารออกจะยกย่องฤาษีตาไฟ ดังมีมนต์บทหนึ่งกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา"

ขอขอบคุณ: http://board.palungjit.com/f2/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F-347265.html

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หลังคาเรือนเครื่องไม้ กระเบื้องเชิงชาย” ศิลปะแลลวดลาย ที่หายไปจากปราสาทหิน

image

ในวันนี้ จะเป็นเรื่องราวที่ติดพันนัวเนียมาจาก Entry ที่แล้ว ที่เป็นเรื่องราวของ “เครื่องเคลือบดินเผาและเตาโบราณ” (Angkorian Ceramics – Earthenware & Kiln Sites) ครับ

         ที่ต้องต่อเนื่องก็เพราะว่า บางสิ่งที่พบในแหล่งเตาเผามันไม่ได้มี “ความน่าสนใจ” เพียงแค่ภาชนะเครื่องเคลือบ เครื่องใช้ เครื่องถ้วย ภาชนะรูปสัตว์ เครื่องประดับหรือเครื่องประกอบพิธีกรรม แต่เพียงเท่านั้นครับ

         แต่มันมี “บางสิ่ง” ถูกขุดพร้อมกันพบภายในแหล่งเตาที่ถูกขุดค้น (ทางโบราณคดี – มีการเก็บข้อมูล หลักฐานอย่างเป็นระบบ) หรือพบจากแหล่งเตาที่ไม่ได้ผ่านการขุดค้น (แต่ถูกขโมยขุดหาวัตถุโบราณ) นั่นก็คือ “กระเบื้องดินเผาความร้อนสูง” (Higher-Temperature ceramics Tiles) ที่นำมาใช้ประโยชน์เป็น “ส่วนประกอบของอาคารสถาปัตยกรรม” (Architectural Stoneware) ประกอบเข้ากับ “โครงสร้างที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก” ( Wooden Structure Building) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ”เครื่องกระเบื้องมุงหลังคา”  (Roofing Tiles) ที่ใช้มุงหลังคาของ "อาคารเรือนเครื่องไม้" (Wooden Building) ไงครับ

เครื่องปั้น เครื่องเคลือบดินเผาแบบต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างหลังคาเรือนเครื่องไม้มีทั้ง กระเบื้องตัวผู้(กาบกล้วย) บราลี กระเบื้องเชิงชายรูปยักษ์ ทวารบาล นาค ครุฑยุดนาค กลีบบัวและลายใบไม้

จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

         จากการพบเครื่องกระเบื้องมุงหลังคาที่เป็นทั้งเครื่องเคลือบ (Glazed) และ ไม่เคลือบ – เนื้อแกร่ง (Unglazed – Earthenware) ที่พบจากแหล่งเตาเผาและแหล่งที่ตั้ง (Monument sites) ของปราสาทหินน้อยใหญ่ เป็นร่องรอยหลักฐานสำคัญที่แสดงการมี ”ตัวตน” ของ “โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้” ทั้งที่เป็นหลังคาของระเบียงปราสาทหิน หลังคาของอาคารไม้ ศาลา พลับพลา ปราสาทราชวัง ที่เคยมีอยู่ในอดีต

กระเบื้องดินเผาตัวผู้(กาบกล้วย) ตัวเมียและกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว

ที่ขุดพบจากแหล่งเตาตานี (Tani Kiln Sites) ประเทศกัมพูชา

นำมาเรียงประกอบกัน ตามแบบที่ใช้มุงบนโครงไม้หลังคา

         วันนี้ผมก็เลยต้องขออนุญาตท่านผู้อ่าน มาติดตามเรื่องราวของกระเบื้องดินเผาทั้งที่เคลือบ และไม่เคลือบ เรื่องราวของเครื่องไม้ประกอบปราสาท โครงสร้างหลังคาเรือนไม้และกระเบื้องเชิงชาย ที่เคยมีอยู่บนหลังคาของทุกระเบียงทางเดินของปราสาทหิน และอาคารเรือนไม้ทั้งหลังในวัฒนธรรมแบบเขมรโบราณ จากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันครับ

         ถึงในทุกวันนี้ หลังคาเครื่องไม้ เครื่องไม้และกระเบื้องดินเผามากมาย จะได้ “สลาย” หายสาบสูญไปจนเกือบหมดแล้ว แต่เรื่องราวที่ผมจะทำให้ท่านหลับในตอนต่อไปนี้ จะเป็น “จินตนาการ” ที่เกิดขึ้นจากร่องรอย “หลักฐาน”ข้อมูล” การศึกษา” และการ “อนุมาน” ตามใจ ตามอารมณ์ของตัวผู้เขียน (ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง) ที่จะนำพาท่านย้อนกลับไปคลี่คลายปริศนาของ “สิ่งที่หายไป”จากอดีต ให้กลับคืนมาในโลกปัจจุบัน ไปพร้อม ๆ ...กันนะครับ

คลายปริศนา ....เครื่องไม้ที่หายไป.....?

         ก่อนจะเขียนถึงเรื่องราวของ “เครื่องไม้ที่หายไป” จากปราสาทหินโบราณ เรามาดูสิ่งที่ “ยังคงเหลือ” อยู่ในปัจจุบันกันก่อนดีกว่าไหมครับ

         ท่านที่ชื่นชอบการเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางไปท่องเที่ยว ค้นหา“อดีต” แห่งโบราณสถาน โดยเฉพาะที่เป็น “ปราสาทหิน” ในวัฒนธรรมแบบเขมร – ขะแมร์ (หรืออาจเรียกว่า กัมโพศ – กัมพุชเทศ – ชื่อสันสกฤตเก่าตามแคว้นหนึ่งในคันธาราษฏร์ – กัมพู + ชา แปลว่า ผู้สืบวงศ์วานมาจากชาวกัมพุช)ที่มีอยู่เกือบ 200 แห่ง ทั่วเมืองไทย กว่า 45 แห่งในลาว ประมาณกว่า 20 แห่งในเวียดนาม และอาจมากกว่า 1,500 แห่ง ในประเทศกัมพูชา (ข้อมูลจาก CISARK : Carte Interactive des Sites Archéologiques Khmers) ก็อาจจะเคยได้พบเห็น”ร่องรอยบางอย่าง” ที่อาจนำทางไปสู่คำตอบ...กับสิ่งที่หายไปกันมาบ้างแล้ว ....แต่ท่านก็อาจยังไม่แน่ใจนัก

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

ที่อาคารระเบียงด้านหน้าของปราสาทธม เมืองเกาะแกร์

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

รอยบากหินและการตกแต่งพื้นหินให้สอดรับกับหน้าจั่วไม้

ที่อาคารพลับพลา (หอคัมภีร์หรือบรรณาลัย) ของปราสาทวัดพู เมืองจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

         เขยิบเข้าใกล้ไปอีก ร่องรอยบางอย่างที่พบ ก็คือ “ช่องรู” (Holes) ที่เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยม วางตัวเป็นแนวสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงส่วนด้านหลังของหน้าบัน (บางทีก็ไปปรากฏอยู่ด้านหน้า – คือแบบว่าอาจมีการต่ออาคารไม้เชื่อมต่อด้านหน้าออกไปอีกหลังหนึ่ง) และอาจจะเห็น ร่องรอยของการ “บากหิน” เป็นแนวเฉียงลงมาตามรู – ช่องใส่คานไม้บนเนื้อหิน เป็นแนวบากหินเพื่อใช้รองรับคานไม้ที่เรียกว่า “จันทัน” ของ “โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้” (Wooden Roofing Structure) ที่เคยมี เคยใช้บังแดดบังฝนอยู่ในสมัยที่ปราสาทหลังงามนั้นยังใช้ประโยชน์ตามลัทธิความเชื่อที่มีอยู่ในอดีตไงละครับ

         และหากสังเกตให้ดี เหนือร่องบากรูปทรงหน้าจั่วบนหลังหน้าบันหลายแห่ง ก็ยังมีร่องรอยของการแกะสลักลวดลายใบระกา เป็นพวยพุ่งขึ้นไป ประกบตรงกับพวยใบระกาสลักจากเนื้อไม้ที่เคยมีอยู่เหนือปลายหลังคาอีกด้วย

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว.

รอยบากหินและการตกแต่งพื้นหินของหน้าบันให้สอดรับกับลวดลายของหน้าจั่วไม้

ที่โคปุระชั้นที่ 2 ปราสาทพระวิหาร

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

รอยบากหินและการตกแต่งพื้นหินของหน้าบันให้สอดรับกับลวดลายของหน้าจั่วไม้

ที่โคปุระชั้นด้านหน้า ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

         ร่องรอยของ “ช่องรู” ที่เจาะเป็นแนว ใช้สำหรับการสอด ”คานไม้ (อะเส)” เข้าไป คานไม้หรือคานอะเสเป็นส่วนประกอบหลักที่ใช้รองรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาที่ทำจากไม้ คานไม้อะเสส่วนล่างจะตั้งอยู่บนยอดของผนัง (กำแพง) หินทรายหรือเสาหินทราย รองรับโครงสร้างด้านบนอีกทีหนึ่ง

          รูสำหรับเข้าขื่อไม้ ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ผมเห็นตามปราสาทหิน ก็คงจะเป็นรูบนหน้าบันรูปทรงหน้าจั่วสามเหลี่ยมปลายมกร (มะกะระ)ม้วน ที่เมืองโบราณ “โฉกครรคยาร์” หรือ “เกาะแกร์” อายุการก่อนสร้างอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 14

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

รอยบากหินและการตกแต่งพื้นหินของหน้าบันให้สอดรับกับโครงสร้างหลังคาไม้

ที่โคปุระด้านหน้า ปราสาทกระจับ เมืองเกาะแกร์

         จากที่นี่ อย่างน้อย ก็แสดงให้เห็นว่า การสร้างหลังคาด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องลอน น่าจะมีอายุเก่าแก่กว่า การมุงหลังคาด้วยหินทราย อิฐ ศิลาแลง ที่นิยมสร้างกันในยุคต่อมาครับ

ร่องรอย "ช่องรู" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

บนหน้าบันปราสาทเคราโก (Krol Ko)

เป็นรูปแบบของการเชื่อมอาคารเรือนเครื่องไม้เข้าทางด้านหน้าของอาคารปราสาทหิน

         นอกจากร่องรอยของ “รูปริศนา” ที่ทำให้เรารู้ว่า เคยมี “หลังคา” (โครงสร้างไม้ – กระเบื้องมุง ตกแต่ง) ประกอบอยู่บนผนังหิน (ผนังกำแพงทึบ) หรือใช้เสาหิน (หินทราย ,ศิลาแลง ตกแต่งสลักลวดลายทั้งตีนและหัวเสา) และบางอาคารก็ใช้ “คานหินสลัก” วางพาดบนเสาหินแทนคานอะเสชั้นล่างสุด รองรับโครงสร้างหลังคาไม้อีกทีหนึ่งแล้ว ก็ยังปรากฏร่องรอยของ “ฐานอาคาร”ที่ว่างเปล่า ที่ด้านบนของฐานเคยถูกสร้างเป็น “อาคารเรือนเครื่องไม้” (ทั้งหลัง) ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งศาลาหน้าจั่ว ศาลา โรงเรือน ระเบียงคด พลับพลา พลับพลาจัตุรมุข อาคารทางศาสนา พระที่นั่ง ที่ประทับ ฯลฯ ที่มีหลักฐานการใช้“เสาไม้ขนาดใหญ่” (Wood Poles) เป็นส่วนประกอบรองรับโครงสร้างหลังคา

รูปจำลองของอาคารเรือนเครื่องไม้ที่ตั้งอยู่บนฐานที่มีการบุหินด้านข้าง

และชื่อเรียกส่วนประกอบต่าง ๆ ของโครงสร้างหลังคาไม้

         ร่องรอย “รู” ของเสาไม้ ค้ำยันเรือนเครื่องไม้ทั้งหลัง ปรากฏหลักฐานอยู่มากมายหลายแห่งครับ แต่ส่วนมากก็มักจะถูกทำลายไปพร้อม ๆ กับโครงสร้างไม้ส่วนอื่น ๆ จากสาเหตุของ ไฟป่า (หน้าแล้ง ขาดข้าวัดกัลปนาดูแล ต้นไม้เข้ามายึดครอง พอเกิดไฟป่า เครื่องไม้ก็ไหม้ไปพร้อม ๆ กับต้นไม้แห้ง) การสงคราม (เผาทำลาย ใช้เป็นเชื้อเพลิง) การผุกร่อนจากการรกร้าง (ไม้ผุ ผสมกับไฟป่าและการพังทลาย) การรื้อถอนทำลายอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ ( ทำลายโดยกลุ่มคนรุ่นต่าง ๆ ที่ไม่ใช้ประโยชน์อาคารนั้นแล้ว หรือนำไม้จากศาสนสถานรกร้างไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นในชีวิตประจำวันแทน) และจากอีกหลายสาเหตุ (เช่นโดนนักขุดของเก่าเผาทำฟืนผิงไฟหน้าหนาว)

ร่องรอย "รูเสา" บนฐานดินอัญบุขอบนอกด้วยศิลาแลง

ฐานอาคารพลับพลาไม้รูปทรงกากบาท ปราสาทบ้านเบ็ญ จังหวัดอุบลราชธานี

ร่องรอยการคว้านฐานหินทราย บริเวณโคปุระด้านทิศตะวันออก

เพื่อใช้เป็น "รูเสาไม้" รองรับอาคารพลับพลาเรื่อนเครื่องไม้ขนาดใหญ่

ที่เคยมีอยู่ภายในระเบียงคดชั้นในสุดของ ปราสาทหินพิมาย

         เสาของเรือนโครงสร้างไม้ในยุคโบราณจึงไม่ค่อยเหลือรอดมาให้เห็นในยุคปัจจุบันมากนัก แต่เท่าที่เหลืออยู่ก็พอที่จะสามารถปะติดปะต่อ เรื่องราวของอาคารเรือนไม้ในยุคโบราณได้อย่างชัดเจน คือซากของเสาไม้ที่เหลืออยู่ที่ “ปราสาทกู่น้อย” (Ku Noi Pr.) จังหวัดมหาสารคาม เป็นหลักฐานอันดีที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตที่โคปุระทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกลุ่มอาคารปราสาทหินอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 นี้ เคยมีการการสร้างโคปุระ (โคปุรัม (ภาษาสันสกฤต) - ซุ้มประตู) แผนผังกากบาท (จัตุรมุขที่มีปีกข้างยาวกว่า) เป็นอาคารเครื่องไม้ แทนการสร้างโคปุระในรูปแบบของปราสาทก่อหินแบบที่พบเห็นได้โดยทั่วไปครับ

ซากจำลองของ "เสาไม้" ที่พบในการขุดค้นทางโบราณคดี

บริเวณโคปุระด้านทิศตะวันออกและตะวันตก

ของปราสาทกู่น้อย จังหวัดมหาสารคาม

รูปสลักลอยตัวของทวารบาล"นนทิเกศวร"

พบที่ปราสาทกู่น้อย จังหวัดมหาสารคาม

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

         จากร่องรอยหลักฐานทั้งรูคาน (อะเส) และรูเสาที่ฐานอาคาร บอกให้เรารู้ว่า อาคารเครื่องไม้ในยุคโบราณ อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ “แบบโครงสร้างหลังคาไม้ประกอบปราสาทหิน” และ “แบบอาคารเรือนไม้ เครื่องไม้ทั้งหลัง ที่มีฐานเป็นหินหรือปักเสาลงบนพื้นดิน”

         สำหรับแบบ “โครงสร้างหลังคาไม้ประกอบปราสาทหิน” ในยุคต่อมามีการพัฒนารูปแบบทางสถาปัตยกรรมโดยนำหินทราย อิฐ ศิลาแลงมาสร้าง(มุง)เป็นหลังคาแทนเครื่องไม้และกระเบื้อง รวมทั้งยังมีการแกะสลักเลียนแบบลอนหลังคากระเบื้อง ปักเสาบราลีหินทรายเรียงรายไปบนสันหลังคาและแกะสลักรูปของกระเบื้องเชิงชาย ตามแบบอย่างของเครื่องไม้เดิม

ภาพจำลองของ โครงสร้างไม้หลังคาและการมุงกระเบื้องประกอบปราสาทหิน

ตามหลักฐานที่พบจากปราสาทแปรรับ

         ส่วนแบบอาคารเรือนไม้หรือเป็นเครื่องไม้ทั้งหลัง มีทั้งแบบเป็นอาคารเดี่ยว ที่สร้างเป็นอาคารต่างหากไม่เชื่อมต่อกับปราสาทหิน และ แบบที่เป็นโครงสร้างเรือนไม้ที่มา “เชื่อมต่อ” ออกมาจากตัวศาสนสถานหรือตัวปราสาทหิน สามารถสังเกตเห็นได้จากส่วนของหน้าบันที่มีรูปสลักสวยงามของปราสาทหลายแห่งจะปรากฏว่ามี “รูเข้าคานไม้” เรียงเป็นแนวเฉียงตามโครงหลังคาทรงหน้าจั่ว ทั้งที่หน้าบันด้านหน้าหรือด้านหลังของปราสาท เช่นเดียวกับ “รูขื่อคานไม้” ยึดโครงสร้างหลังคาที่พบอยู่ด้านหลังของหน้าบัน

ร่องรอยของ "รูเข้าไม้" ไว้สอดคานไม้ แนวหน้าจั่ว .

บนหน้าบันปราสาทตาพรหม แห่งโตนเลบาตี

เป็นการเชื่อมอาคารเรือนเครื่องไม้แบบต่าง ๆ เข้าทางด้านหน้าของอาคารปราสาทหิน

         ร่องรอยของ “รูเข้าไม้” บนหน้าบัน ก็เป็นหลักฐานที่แสดงว่า เคยมีเรือนไม้“หลังคา” เชื่อมต่อกับต่อติดกับตัวอาคารปราสาท อาคารเป็นหลังคาของอาคารฉนวนทางเชื่อมระหว่าง “ตัวปราสาท” ที่สร้างด้วยหินทรายหรือศิลาแลงกับอาคารพลับพลาเรือนเครื่องไม้ทรงจัตุรมุขหรือทรงหน้าจั่วชั้นซ้อน ที่อนุมานจากแผนผังของซาก “ฐานอาคาร” เช่นที่พบที่ ”ปราสาทตาเมือนโต๊จฺ” (Ta Muan Toch Pr.) (ปราสาทสุคตาลัยแห่งอโรคยศาลา) จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทตาพรหมแห่งโตนเลบาตี (Taprohm Pr. At Tonle Bati) จังหวัดตาแก้ว ประเทศกัมพูชาแ(และอีกหลายแห่ง) จะพบฐานดินอัดบุขอบข้างด้วยหินศิลาแลง แผนผังรูปอาคารกากบาทต่อชาลาทางเดินเชื่อมเรือนไม้เข้ากับโคปุระ

ร่องรอย "ช่องรูเข้าไม้" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

บนหน้าบันปราสาทตาเมือนโต๊จฺ

สอดรับกับแนวฐานอาคารด้านหน้า ที่แสดงให้เห็นว่าในอดีตเคยมีการเชื่อมอาคารปราสาทหิน

ด้วยฉนวนมุงหลังคาเครื่องไม้บนฐานชาลาทางเดิน

เข้ากับอาคารพลับพลาไม้รูปทรงจัตุรมุขและอาคารโคปุระที่สร้างด้วยหินเป็นแนวยาว

และยังเชื่อมต่ออาคารหลังคาไม้ ไปตามฐานของชาลาทางเดิน ไปจนสุดทางด้านหน้า

         นอกจากร่องรอยของรูเข้าขื่อคานไม้บนหน้าบัน ยังปรากฏร่องรอยของ "รูเสาไม้ปักลงบนพื้น" ที่ไม่มี “ฐานอาคาร” รองรับตามปราสาทหลายแห่ง เช่นที่ปราสาทวหนิคฤหะกุกมอน (Kok Mon Pr.) ปราสาทวหนิคฤหะสัมปู (Sampeou Pr.) ปราสาทวหนิคฤหะปราสาทตาเมือน (Ta Muan Pr.) ก็เป็นรูปแบบของปราสาทที่เคยมีฉนวนทางเดินมุงหลังคา เชื่อมต่อกับเรือน(ศาลา)หลังคาไม้ แต่เสาไม้ที่รองรับโครงสร้าง เสาคู่แรกจะปักอยู่บนฐานเขียงของตัวปราสาทด้านหน้า เสาคู่ต่อมาจะปีกลงบนพื้นดินโดยไม่มีร่องรอยของการบุหินเป็นฐานของอาคารไม้แต่อย่างไร ซึ่งน่าจะเป็น “อาคารเครื่องไม้ตกแต่ง” ด้านหน้าตัวปราสาทหินในรูปแบบของ “ศาลา” โถง (ไม่มีผนัง)หลังคาหน้าจั่วมุงกระเบื้อง พื้นศาลาปูแผ่นไม้ยกสูงขึ้นจากระดับพื้นดิน ที่มีบันไดทางขึ้นเป็นเครื่องไม้เช่นเดียวกัน

ร่องรอย "ช่องรูเข้าไม้" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว .

บนหน้าบันด้านหน้า ปราสาทกุกมอน

ร่องรอย "ช่องรูเข้าไม้" ไว้สอดใส่คานไม้แนวหน้าจั่ว

บนหน้าบันด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ปราสาทสัมปู

ร่องรอยของ "รูเสาไม้" รองรับอาคารไม้บนฐานเขียงด้านหน้าของปราสาทตาเมือน

ร่องรอยของ "รูเสาไม้" รองรับอาคารไม้บนฐานเขียงด้านหน้า

ของปราสาทวหินคฤหะแห่งปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนครหลวง.

ศิลปะงานเครื่องไม้ .....ลวดลายแห่งศรัทธา

         ไหน ๆ ก็คุยถึงเรื่องของ “เครื่องไม้” ประกอบปราสาทและเรือนไม้มาแล้ว ก็ขอวกไปเขียนเรื่อง “ไม้ ๆ” ที่เกี่ยวเนื่องกันซักนิดนะครับ

         เพราะนอกจากเครื่องไม้ ที่ใช้ประกอบโครงสร้างหลังคาของปราสาทหินและเรือนเครื่องไม้ ที่หาร่องรอยได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยังมีการใช้ “ไม้” เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารปราสาทหิน ที่หาร่องรอยได้ยากยิ่งกว่าอีกด้วย

         การใช้ไม้ ที่มีการแปรรูป เข้าไปเป็นส่วนประกอบของปราสาทหินที่ใช้หินทราย อิฐและศิลาแลงเป็นวัสดุหลักของโครงสร้าง เชื่อว่ามีมานานตั้งแต่ในยุคเริ่มแรกของการสร้างปราสาท (อิฐ) หรืออาจนานกว่านั้น

         ไม้แผ่นขนาดใหญ่ เนื้อหนาจะถูกใช้เป็นส่วน “คาน” รองรับน้ำหนักของโครงสร้างที่ก่อขึ้นไปด้านบน ที่มักเป็นเรือนปราสาทชั้นซ้อน (ศิขระ - ชั้นที่ลดหลั่นขึ้นไป)

ร่องรอยของคานไม้ ? สอดอยู่ระหว่างการเรียงหินขึ้นไป ที่ปราสาทบันทายทัพ

         การใช้ไม้เป็นคาน ประกอบโครงสร้างปราสาทส่วนรองรับชั้นซ้อน เมื่อเวลาผ่านไปยาวนานหลายร้อยจนถึงพันปี เกิดการผุกร่อน ย่อยสลาย รวมทั้งน้ำหนักของโครงสร้าง น้ำหนักของหินทรายสลักประดับเครื่องบนเช่น บัวกลุ่มยอดปราสาท หม้อกลศ บันแถลง(บรรพแถลง) ปราสาทจำลองและนาคปัก ก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการพังทลายของปราสาทที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลักของชั้นซ้อนหลายแห่ง

         แต่ก็ไม่เฉพาะปราสาทอิฐเท่านั้นนะครับ ในยุคต่อมายังมีการพบร่อยรอยของการใช้ “คานไม้” ประกอบอยู่ร่วมกับโครงสร้างของปราสาทที่สร้างจากหินทรายและหินศิลาแลง และอาจเป็นต้นเหตุให้ชั้นซ้อนด้านบนของปราสาทหินพังทลายลงมา อย่างที่เราเห็น “ปราสาทยอดด้วน” หลายแห่งในทุกวันนี้ไงครับ

         นอกจากจะใช้ไม้เป็นคานรองรับน้ำหนักแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไม้ทำเป็น“ฝ้าเพดาน” (Attic Ceiling) เจาะรูเข้าไปในหิน เพื่อสอด”ขื่อคาน” ปิดด้วยไม้แผ่นตามช่องตารางของคานไม้ วางตัวอยู่ด้านบนเหนือลวดลายคิ้วบัวบนผนัง ประดับประดาด้วยลวดลายสลักไม้ ตกแต่งด้านในหลังคาของปราสาทให้มีความสวยงาม เมื่อชะเง้อมองขึ้นไปจะได้ไม่เห็นการเรียงหินหลังคาหรือการเรียงหินเรือนชั้นซ้อนของปราสาทประธานที่ดูไม่สวยงามนัก

         ยังไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานซากไม้ของฝ้าเพดานตามปราสาทหินอย่างชัดเจน ตัวอย่างของฝ้าเพดาน ที่พอหลงเหลือและเทียบเคียงได้ดีที่สุด ก็คงเป็นฝ้าเพดานไม้ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ที่ปิดประดับอยู่ใต้โครงสร้างหลังคาหินศิลาแลงภายในของ “พระปรางค์สามยอด” (Phra Prang Sam Yod Pr.) จังหวัดลพบุรีครับ

ฝ้าเพดานไม้ ที่ได้รับการบูรณะแล้ว บนเพดานหลังคามุงหิน

ปราสาทปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี

         บนฝ้าเพดานของพระปรางค์สามยอด ยังคงปรากฏรอยริ้วของการประดับประดา ทั้งรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองและรอยด่างของไม้สลักรูป “ดาวประดับเพดาน” รอยสีของการลงรักปิดทอง อาจมีการประดับกระจกสี.. ซึ่งความงดงามที่เหลืออยู่ จะเด่นชัดเฉพาะผู้ที่ ”เข้าใจ” และมี “จินตนาการ” กับสิ่งที่สูญหายไปเท่านั้นครับ !!!

ร่องรอยของความงดงามที่เคยมีอยู่

บนฝ้าเพดานของปราสาทปรางค์สามยอด

         ร่องรอยของ “เครื่องไม้” เพื่อประกอบโครงสร้างของปราสาทหิน ที่พอจะหาพบได้แบบจะจะ ในปัจจุบัน อยู่ที่ “ปราสาทบันทายทัพ (Banteay Torp Pr.) ปราสาท 5 ยอดในยุคจักรวรรดิบายน อายุการก่อสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ห่างจากปราสาทบันทายฉมาร์ (Banteay Chhmar Pr.) ไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร และคานไม้ปริศนาที่ “ปราสาทกุฎี ตาคมธม (Kdi Ta Kom Thom Pr.) ที่เมืองโคล (Khol) อำเภออังกอร์ชุม (Angkor Chum) ทางทิศเหนือของจังหวัดเสียมเรียบ ใกล้กับปราสาทโคกโอจรุง (Kuok O Chrung Pr.)ปราสาทวหนิคฤหะหรือธรรมศาลา (Dharmasala) ที่ตั้งอยู่บนแนวเส้นทางราชมรรคา (Angkorian – Royal Roads) เป็นกลุ่มชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณ “จุดตัด” สำคัญกับ “แม่น้ำสเตรงพลวง (Stueng Phlang) จึงปรากฏสะพาน (สเปียน -Spean) หลายแห่ง ทั้ง สเปียนดำรัง (Spean Dam Rang) สเปียนเฮ้ว (Spean Hel) สเปียนมีเมย (Spean Memay)สเปียนพระชังเออ (Spean Preah Chang – er) ท่ามกลางเมืองโบราณขนาดใหญ่และหมู่ปราสาทหินโดยรอบอีกหลายหลัง

ร่องรอยการใช้เสาไม้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างปราสาทหิน

หรืออาจเป็นเพียงโครงสร้างไม้ของฝ้าเพดาน ที่ปราสาทบันทายทัพ

ร่องรอยของคานไม้ที่ผุพัง อาจเป็นคาน ? รองรับน้ำหนักหินด้านบน

ที่ปราสาทกุฎีตาคมธม

         จากร่องรอยและลวดลายแกะสลักรูปบัวแปดกลีบที่ปราสาทบันทายทัพ แสดงให้เห็นว่ามีการใช้เครื่องไม้ประกอบโครงสร้างปราสาท ทั้งในส่วนของขื่อคานรองรับน้ำหนักและเครื่องไม้ประดับฝ้าเพดานที่มีการแกะสลักเนื้อให้มีความสวยงาม ซึ่งหลักฐานของเครื่องไม้ที่พบนี้ ก็อาจเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเคยมีการใช้เครื่องไม้เป็นส่วนประกอบของปราสาทหิน แต่ในวันนี้มันได้อันตรธานหายไปเกือบทั้งหมด

ลวดลายสลักรูปบัวแปดกลีบ ศิลปะแบบบายน บนคานไม้ ? หรือฝ้าเพดานไม้

ที่ปราสาทบันทายทัพ

         นอกจากหลักฐานของเครื่องไม้ ที่ใช้เป็นขื่อคานและเครื่องไม้ประดับเพดานแล้ว ก็ยังมีร่องรอยของเครื่องไม้ที่ใช้เป็น “ประตู” เปิดปิดทางเข้าออกของศาสนสถานอีกครับ

         หากท่านเคยสังเกต (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้สังเกต เพราะกำลังตื่นเต้นกับภาพสลักของทับหลังและหน้าบัน) บริเวณพื้นด้านในติดกับกรอบประตูหินทราย (ที่มักมีจารึกตัวยึกยือ) ทางเข้าของอาคารโคปุระ ตรงมุมล่างทั้งทางซ้ายและขวาจะปรากฏ “รูและร่องรางเลื่อน” ที่เป็นร่องรอยของการเข้าเดือยประตูไม้และการเคลื่อนที่ อยู่ตามปราสาทหินทุกแห่ง (ถ้าหาเจอ) แสดงให้เห็นถึงการมีตัวตนของ“ประตูไม้” ที่เคยมีอยู่ และใช้งานตามแบบประตูปกติของมนุษย์ คือเอาไว้เปิดและปิดให้คนเข้าและออก

รูเดือยประตู สำหรับหมุนปิดเปิด

อาคารโถงมณเฑียร ปราสาทพระวิหาร

ร่องรอยของรูเสาประตู บนกรอบประตู (ที่หักพังทลาย)ของปราสาทละลมธม จังหวัดบุรีรัมย์

ช่องรางเดือยเสาประตู ด้านหน้า "สวยัมภูลังค์"

ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์

ร่องรางเดือยของเสาประตู โคปุระทิศตะวันออก ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

ร่องรางเดือยของเสาประตู โคปุระชั้นนอกทิศตะวันออก

ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

         ศิลปะแห่งบานประตู ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่คงต้องเขียนแยกไปอีกต่างหากครับ เพราะความงดงามของประตูไม้นั้น ถึงแม้ในวันนี้จะไม่เหลือหลักฐานเนื้อไม้แกะสลักให้เห็น แต่หากเราเอาไป “เทียบเคียง” กับประตูหลอก ที่สลักขึ้นจากโกลนอิฐปิดทับด้วยปูนปั้นและประตูสลักจากหินทรายตามปราสาทหลายแห่ง ท่านก็คงจะเข้าใจถึงลวดลายแกะสลักของประตูไม้ในยุคโบราณ ที่ประมาณว่า ประตูแกะสลักเนื้อหินทรายหรือปูนปั้นยังมีความละเอียดสวยงามขนาดนี้ แล้วประตูไม้ที่สาบสูญไป จะมีความงดงามขนาดไหน ?

ลวดลายปูนปั้นบนโกลนผนังอิฐรูปประตูหลอก ปราสาทพะโค อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14

ลวดลายอันงดงามบนประตูหลอกของ ปราสาทพะโค

มีรูปของที่จับประตูหัวสิงห์ทั้งสองด้าน อิทธิพลผสมของศิลปะจีน

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 14

ลวดลายก้านต่อดอก ลายใบไม้ม้วน สันประตูมีอกเลาสลักเป็นรูปบัวแปดกลีบ

ปราสาทปักษีจำกรง ปลายพุทธศตวรรษที่ 14

ลวดลายวิจิตรบรรจง บนประตูหลอกที่แกะสลักจากหินทราย

ปราสาทบันทายสำเหร่ อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17

         แต่ก็ใช่ว่า ประตูไม้จะมีการแกะสลักสวยงามไปทุกบานนะครับ เมื่อดูจากประตูหลอกของปราสาทหินหลายแห่ง เช่นที่ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทบ้านพลวง ฯลฯ ประตูหลอกที่แกะสลักจากหินส่วนด้านหน้า หรือบริเวณหมู่อาคารที่มีความสำคัญ ก็มักจะมีการแกะสลักอย่างสวยงาม แต่ประตูหลอกด้านอื่น ๆ จะสลักตามแบบของประตูไม้ทั่วไป คือมีอกเลาเรียงอยู่ตรงกลาง สลักลวดลายเพียงบางส่วน ซึ่งแบบแผนของการแกะสลักประตูไม้ก็คงมีความคล้ายคลึงกัน

ประตูหลอกที่มีลักษณะคล้ายกับประตูไม้ที่เคยมีอยู่

ปราสาทเบงเมเลีย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17

ประตูหลอกที่มีลักษณะคล้ายกับประตูไม้ที่เคยมีอยู่จริง

ที่มักจะสลักเฉพาะตรงสันกลางและอกเลาเป็นลวดลายพรรณพฤกษาและดอกบัว

ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16

โกลนของประตูหลอก ที่ยังไม่มีการสลักลวดลาย ปราสาทบริวารของ

ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์

.

ประตูหลอกของหอมณฑปมุมตะวันตกเฉียงเหนือ ของปราสาทพนมรุ้ง

แสดงรูปลักษณ์ของประตูไม้หากไม่มีการแกะสลักลวดลาย

ลวดลายบนบานประตู ในศิลปะแบบบายน

ที่ยังคงรักษาขนบของลวดลายที่มีคล้ายคลึงกับศิลปะในยุคก่อนหน้า

แต่ก็มีการรวมเสาประดับกรอบประตู สลักรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับประตูหลอก

กลายเป็น เสาและประตูหลอกพร้อมกันในหนึ่งเดียว

ปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนครธม

เศษกระเบื้องและฐานอาคารเรือนเครื่องไม้

….บนเขาไกรลาสแห่งอีสานใต้

         จากเรื่องราวของเครื่องไม้ประกอบปราสาทในรูปแบบต่าง ๆ ยังมีร่องรอยของหลักฐานง่าย ๆ ที่หลายท่านอาจจะเคยสังเกตเห็นตามพื้นดินของแหล่งที่ตั้งปราสาทโบราณและพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของอาคารเรือนไม้ในยุคโบราณทุก ๆ แห่ง นั่นก็คือ ท่านจะพบกับเศษชิ้นส่วนของ “กระเบื้องมุงหลังคา” (Roof Tiles) ที่แตกหัก กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณแหล่งที่ตั้งของปราสาทนั้น

เศษแตกหักกระเบื้องทุงหลังคาของอาคารบรรณาลัยและศาลาเครื่องไม้ที่เคยมีอยู่โดยรอบ

ปราสาทบากอง เมืองหริหราลัย

         ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือร่องรอยที่ "ปราสาทพนมรุ้ง" (Phnom Rung Pr.) จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณพื้นที่ชั้นบนสุด (ยอดเขา) ปรากฏฐานหินทรายของระเบียงคดและพลับพลา ที่เคยเป็นอาคารเรือนไม้ขนาดใหญ่ (ที่หายไปแล้ว) ล้อมรอบระเบียงคดและโคปุระของปราสาทพนมรุ้งที่สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู เป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายหินทราย ตรงแกนกลางเป็นดินอัด มีเศษกระเบื้องหลังคาชนิดต่าง ๆ แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (ชิ้นใหญ่ ๆ คงเก็บเอาไปซ่อนไว้ กลัวคนเห็น)

เศษกระเบื้องแตกหักกระจัดกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

บริเวณลานทางขึ้นสู่ตัวปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

         ผู้คนทั่วไป เมื่อพบกับความงามของศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย หลายคนก็คงไม่ได้สนใจก้มลงมามองเจ้าเศษกระเบื้องน้อย ๆ และคงไม่ได้สังเกตเห็นฐานอาคารของเรือนเครื่องไม้ที่รายล้อมอยู่ ก็มันไม่เห็น ....จะไปสนใจทำไม ?

ฐานของอาคารที่เคยเป็นที่ตั้งของพลับพลาเรือนเครื่องไม้ขนาดใหญ่ด้านหน้าปราสาท

และระเบียงคดที่อยู่ล้อมรอบชั้นนอกระเบียงคดที่สร้าจากหินทราย

เป็นฐานอาคารที่ใช้ดินอัดตรงกลาง บุขอบฐานด้วยหินทราย ตกแต่งเป็นชั้นของฐานปัทม์

ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

          ฐานอาคารไม้และเศษกระเบื้องที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นหลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อธิบายว่า นอกจากบนยอดเขาพนมรุ้ง จะมีปราสาทหินที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงามแล้ว ภายนอกปริมณฑลแห่งสรวงสวรรค์สมมุติ ยังเคยมีอาคารเรือนไม้ ทั้งอาคารระเบียงคด และอาคารพลับพลาที่มีแผนผังรูป”กากบาท” หรืออาจเรียกว่า “พลับพลาจัตุรมุข” ที่เป็นอาคารศาลาเครื่องไม้ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่รายล้อมด้านนอกของปราสาทที่สร้างจากหินอีกทีครับ

อาคารเรือนเครื่องไม้....บนภาพสลักหิน

         ร่องรอยหลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ภาพถ่ายโบราณ” อาศัยฟิล์มและกระดาษอัดรูป เป็น “ผนังหิน” รองรับภาพเสมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ก็คือ “ภาพแกะสลักนูนต่ำ (Bas –Reliefs) บนปราสาทหินเก่าแก่หลายแห่ง ที่มีรูปของอาคารสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ แทรกอยู่ภายในภาพด้วยไงครับ

ภาพสลักรูปอาคารศาลาไม้หน้าจั่ว หลังเล็ก อาจเป็นร้านค้า มีเครื่องสานแขวนอยู่ด้านบน

ภาพสลักนูนต่ำที่ปราสาทบายน

ภาพสลักรูปอาคารศาลาเครื่องไม้หน้าจั่ว ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย

แทรกอยู่ภายในภาพสลักนูนต่ำเล่าเรื่องวิถีชีวิตผู้คนในท่ามกลางตลาดที่จอแจ

ปราสาทบายน

         หลายคนคงเคยเห็นภาพสลักนูนต่ำที่ปราสาทบายน (Bayon Pr.) ส่วนที่แสดงภาพวิถีชีวิต ตลาด ร้านค้า โรงหมอ ฯลฯ บนผนังกำแพงระเบียบคด ด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก ก็คงจะเคยสังเกตเห็นภาพของอาคารเรือนไม้ ที่เป็นศาลาหน้าจั่ว ไปจนถึงพลับพลาขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าของเหล่านักบวช

ภาพสลักของอาคารเรือนเครื่องไม้ขนาดใหญ่ ทรงหน้าจั่ว

ที่อาจเป็นวัด (ราชวิหาร) หรือที่พักของเหล่านักบวช (ใส่เสื้อ มัดมวยผม)

ที่ปราสาทบายน

         และหากถ้าขึ้นบันไดมาอีกชั้นหนึ่ง เดินไปตามลานประทักษิณ ในช่องด้านนอกของระเบียงชั้นสอง ก็จะเห็นภาพของอาคารเรือนไม้ ที่ดูใหญ่โต ซับซ้อนและสูงศักดิ์กว่าอาคารเรือนไม้ที่สลักไว้ตรงระเบียงคดชั้นล่าง หลายมุมเป็นภาพสลักของอาคารเรือนไม้มียอด ที่เป็นปราสาท พระราชวัง ที่ประทับแห่งพระเจ้าศรีชัยวรมัน (ชัยวรมันที่ 7) ในท่ามกลางเหล่าสนมกำนัล การบรรเลงดนตรีประกอบการร่ายรำท่า “ถ่างขา” ของสาว ๆ ในราชสำนักกัมพุชเทศ

ภาพสลักนูนต่ำ แสดงรูปของอาคารสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องไม้ขนาดใหญ่ มียอดปราสาท

ที่ประทับของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระมเหสีทั้งสองพระองค์ ในพระราชวังหลวง

และอาคารเรือนเครื่องไม้ของเหล่านักบวชที่กำลังประกอบพิธีกรรม (ด้านล่าง)

         ภาพสลักของอาคารเรือนเครื่องไม้ หรือเครื่องไม้ประกอบปราสาทหินที่ปราสาทบายน มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ยังไม่ใช่เป็น “หลักฐาน” ภาพถ่ายของเรือนเครื่องไม้โบราณที่เก่าที่สุดครับ

         จากปราสาทบายน ลงใต้มาอีกกว่า 3 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าสู่มหาปราสาทนครวัด “บรมวิษณุโลก” สิ่งมหัศจรรย์แห่งโลกยุคโบราณ อายุการก่อสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 เก่าแก่กว่าปราสาทบายน เกือบ 100 ปี ที่นี่ก็มีภาพสลัก “นูนต่ำ” จนติดกำแพงกว่าที่ปราสาทบายน เป็นรูปของอาคารสถาปัตยกรรมเครื่องไม้ ระดับพระราชวัง สลักอยู่ที่บริเวณปลายระเบียงคดใกล้กับหอตะวันออกของฝั่งทิศใต้ ภาพสลักแถบนี้เล่าเรื่องสยองของ “นรก” ทั้ง 37 ขุมครับ

         ปลายของภาพสลักแห่งการลงทัณฑ์ เป็นรูปของพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ในภาคของ “ผู้ที่ตายแล้ว – ไปรวมกับเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์” ประทับอยู่ท่ามกลางเหล่าสนมกำนัล มีผ้าม่าน (พระวิสูตร) ไหวพลิ้วตามลม ใต้ฐานปราสาทเป็นภาพของเหล่าครุฑพ่าห์ (เหาะเหิน) ทำท่าแบกตัวเรือนปราสาทไม้ ในนัยยะความหมายที่ว่า “ปราสาทที่ประทับแห่งองค์เทพเจ้าบนสวรรค์”

รูปสลักนูนต่ำ แสดงภาพของอาคารเรือนเครื่องไม้ขนาดใหญ่

เป็นปราสาทที่ประทับของพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 เมื่อครั้งเสด็จผ่านเข้าสู่ "บรมวิษณุโลก"

         เหนือขึ้นไป เป็นภาพเสมือนในอดีต ของหลังคาอาคารเครื่องไม้ ระดับมหาปราสาทราชวัง ปรากฏร่องรอยของหน้าบันแบบ “ปีกกา” และหลังคาชั้นซ้อนขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งด้านบน เหนือหลังคาเป็นยอดปราสาททรงอ้วนแหลม เหนือหลังคาขึ้นไป มีนางอัปสรากำลังเหาะเหิน โปรยพฤกษาดอกไม้ (หอม)อันเป็นมงคลแก่ผู้กระทำดี

         รายละเอียดของรูปอาคารเรือนเครื่องไม้ แสดงให้เห็นถึง โครงสร้างหลังคาหน้าจั่ว หน้าบันแบบนครวัด (ไม่เป็นสามเหลี่ยม แต่จะแยกออกเป็นปีกกา) ปลายหน้าบันม้วนเป็นลายพรรณพฤกษา เหนือขึ้นไปเป็นใบระการูปดอกไม้ – พรรณพฤกษาตั้งเป็นพวยขึ้นไป หลังคามุงด้วยกระเบื้องวางเป็นลอนเรียงลงมา สันหลังคาประดับด้วยบราลี (Barali) ชายหลังคาประดับด้วยกระเบื้องเชิงชาย (Antefixs) อย่างชัดเจน

         แต่ ...ภาพสลักนูนต่ำที่แสดงให้เห็นรูปของอาคารสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องไม้ โครงไม้หลังคาที่เก่าที่สุด ก็ไม่ใช่ที่ “บรมวิษณุโลก” แห่งนี้ แต่จะเป็นที่ไหนนั้น ตามผมมา... ละกันครับ !!!

         กลับไปทางเดิม ย้อนขึ้นเหนือไปอีกกว่า 4 กิโลเมตร ผ่านปราสาทบายน แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าสู่ “ปราสาทบาปวน (Baphuon Pr.)"ปราสาททรงพีระมิดขนาดใหญ่ อายุเริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดขึ้นไปอีกกว่า 100 ปี ที่เพิ่งจะสิ้นสุด หยุดการบูรณะและมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2011 นี้ไงครับ

         ภาพสลักที่แสดงรูปแบบของสถาปัตยกรรมอาคารเรือนไม้ที่เก่าแก่ที่สุด ก็คงจะอยู่ที่ปราสาทบาปวนแห่งนี้ ครับ เพราะหากจะเสาะหารูปสลักที่มีรูปของสถาปัตยกรรมแทรกอยู่ที่เก่าแก่ขึ้นไปอีก ก็คงจะเป็นรูปของอาคารทรง“ปราสาท” ตามแบบแผนคัมภีร์ปุราณะโบราณ ที่หน้าบันของอาคารบรรณาลัยทางทิศใต้ ของปราสาทบันทายสรี อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 แต่ที่นั่นก็ไม่ใช่อาคารเรือนไม้ที่เรากำลังตามหาอยู่ครับ

         ภาพสลัก ”นูน (ไม่) ต่ำ” นัก ของปราสาทบาปวน มี “ขนบ - แบบแผน”ของการจัดวางภาพเป็นช่อง เป็นกรอบ (Frame) มีเส้นตีคั่นระหว่างช่องอย่างชัดเจน แต่ละช่องจะเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ เรื่องที่นิยมสลักหินเล่าเรื่อง เท่าที่ผมพอจะรู้เรื่องบ้างคือเรื่องยอดนิยมอย่าง ”มหากาพย์มหาภารตะ” (Epic of the Mahabharata) เรื่อง “มหากาพย์รามายณะ (Epic of the Ramayana)และภาพที่แสดงความเป็น “มงคล” (Auspicious) ทั่วไป

ภาพสลักแสดงรูปของอาคารเรือนเครื่องไม้ทรงหน้าจั่วมีชั้นซ้อน

แสดงเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ ที่ปราสาทบาปวน

         ที่มุมหนึ่งของอาคารโคปุระด้านหน้าทิศตะวันออกปรากฏภาพของอาคารสถาปัตยกรรมเรือนเครื่องไม้ แทรกอยู่ในหลายกรอบภาพ เช่นเรื่องราวตอนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ ตอนที่ "ยุธิษฐิระ"พระเชษฐาคนโตของสายตระกูลปาณฑพ กำลังเล่น “สกา” กับ ศกุนิ พระเชษฐาของนางคานธารี (นางผู้ยอมตาบอด) พระปิตุลาของ “ทุรโยธน์” พระเชษฐาคนโตของสายตระกูลเการพ

         ศกุนิเป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยม และเก่งกาจในการเล่นพนันขันต่อ ช่างสลักจึงแสดงภาพของ ยุธิษฐิระ ที่กำลังแสดงความโศกเศร้าเมื่อเล่นสกาแพ้ และต้องเสียนาง “เทราปตี” (ภาพผู้หญิงนั่งข้างล่าง) เป็นเดิมพัน ออกมาอย่างชัดเจน จากเหตุการณ์ตอนนี้ได้นำไปสู่การดูแคลน เย้ยหยันและรังแก จนกลายต้นเหตุหนึ่งของสงครามใหญ่แห่งชมพูทวีป

ภาพสลักแสดงรูปของอาคารเรือนเครื่องไม้ทรงหน้าจั่ว แบบศาลามีหลังคาชั้นเดียว

แสดงเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ ตอนสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ที่ปราสาทบาปวน

         อีกกรอบภาพหนึ่งที่มีภาพของอาคารแบบศาลาแทรกอยู่ในเรื่องเล่า เป็นภาพมหากาพย์มหาภารตะในตอน “อนุศาสนบรรพ” ที่สลักเป็นรูปของ“ภีษมะ”แม่ทัพผู้เป็นผู้ใหญ่ของทั้งสองตระกูล ถูกธนูของ “อรชุน” สังหาร แต่ยังได้รับพรให้มีชีวิตอยู่ นอนอยู่บนลูกธนูใต้อาคารหน้าจั่ว มีอรชุนและยุธิษฐิระ แสดงท่านั่งชันเข่าแบบกษัตริย์ (มหาราชาลีลาสนะ) มือหนึ่งกุมหน้าอกแสดงความเสียใจ และกำลังรับคำสอน “อนุศาสนศาสตร์” ศาสตร์แห่งการปกครองผู้คนโดยธรรมจากภีษมะ เป็นครั้งสุดท้าย

ภาพสลักแสดงรูปของอาคารเรือนเครื่องไม้ทรงหน้าจั่วขนาดใหญ่

แทรกอยู่ในภาพเล่าเรื่องมหากาพย์รามายณะ ที่ปราสาทบาปวน

         ภาพสลักในอีกมุมหนึ่งของปราสาท เป็นเรื่องราวในมหากาพย์รามายณะ เป็นภาพของอาคารเรือนไม้หน้าจั่ว ที่อาจแสดงเป็นที่พัก“อาศรม” แทรกตัวอยู่ในภาพสลัก ตอน พระรามและพระลักษณ์เดินดง ?

         จากภาพทั้งสาม (และอีกหลายภาพสลัก) ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นอย่างน้อย รูปแบบของอาคารเรือนเครื่องไม้ จะมีสัณฐานรูปทรงหน้าจั่ว ลักษณะเดียวกับร่องรอยของ “รูขื่อคานไม้” ที่พบอยู่บนส่วนด้านหลังของปราสาทหินหลายแห่ง และหน้าบันรูปทรงหน้าจั่ว ก็อาจจะเป็นหน้าบันที่ทำจากเครื่องไม้ ที่หายไปเช่นเดี่ยวกับโครงสร้างหลังคาอีกด้วย

         ภาพสลักโครงสร้างไม้ของอาคารสถาปัตยกรรม ทั้งที่ปราสาทบายน ปราสาทนครวัดและปราสาทบาปวน ล้วนแต่แสดงให้เห็นการมุงกระเบื้องหลังคาแบบเป็นลอน ชายหลังคาจะติดหรือประดับด้วยกระเบื้องเชิงชาย สันหลังคาประดับด้วยวัตถุยอดแหลมที่เรียกว่า “บราลี” เหมือนกันทั้งสิ้น

         หลักฐานจาก “ภาพสลัก” ที่ผมนำมาเสนอ ท่านก็คงเริ่มมั่นใจแล้วใช่ไหมครับว่า ครั้งหนึ่ง เหล่าปราสาทหินน้อยใหญ่ ต้องเคยมีเครื่องไม้ประกอบอยู่ด้วย !!!

         หากท่านยังไม่มั่นใจ เรามาดูการอนุมานหลักฐานเพิ่มเติมของ “โครงสร้างหลังคาเรือนไม้” ประกอบปราสาทหิน (แบบมีหินรองรับ) และโครงสร้างหลังคาเรือนไม้ เช่นศาลา พลับพลา (แบบมีเสาไม้รองรับ) และชิ้นส่วนของเครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา ที่ใช้ประกอบอาคาร สถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบ (และไม่ได้ขุดค้น – ได้จากขุดหาของเก่า) จากแหล่งเตาเผา จากตัวที่ตั้งของแหล่งโบราณสถานและจากแหล่งชุมชนโบราณที่เคยมีเรือนไม้สร้างอยู่ ว่ามีอะไรบ้างกันดีกว่าครับ

โครงสร้างหลังคาเรือนเครื่องไม้ ....วิชาการที่ต้องผสานจินตนาการ

         เริ่มจากโครงสร้างหลังคาเรือนไม้ (ทั้งที่สร้างอยู่เหนือระเบียงหิน หรือสร้างอยู่บนเสาหินหรือเสาไม้ ก็จะมีความคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างก็ตรงที่ ปลายชายหลังคา หากเป็นแบบสร้างอยู่บนผนังระเบียงหิน ก็อาจมีการใช้หินทรายสลักเป็นเชิงชายแทนการใช้กระเบื้อง) มีการศึกษาและสร้าง “จินตนาการ”

(Imagine) ออกมาเป็นภาพลายเส้น (Line Art) โดย “เฮนรี่ ปาร์มองติเยร์ (Henri Parmentier) ได้เคยวาดภาพลายเส้นและรูปแบบของหลังคา ตามหลักฐานรูสอดช่องคานไม้ที่พบบนหลังหน้าบันของปราสาทพระวิหาร แบบที่เป็นผนังระเบียงหินเช่น อาคารด้านปีกข้างของโคปุระชั้นที่ 3 (นับจากด้านล่าง) และหลังคาของอาคารโถงสูง (มณเฑียร) ด้านหน้าระเบียงคดของปราสาทประธานชั้นบนสุด

ภาพลายเส้นสมมุติ ของอาคารโคปุระชั้นที่ 3 ปราสาทพระวิหาร

ภาพวาดลายเส้นของ เฮนรี่ ปาร์มองติเยร์

แสดงภาพหน้าตัดภายใน ของโครงสร้างหลังคาไม้ที่เคยมีอยู่

ด้านบนอาคารโถงมณเฑียร ที่ตั้งอยู่ชั้นบนสุดของปราสาทพระวิหาร

         ส่วนตัวอย่างของปราสาทที่ใช้เสาหินรองรับคานหิน (ที่คานด้านนอกจะสลักเป็นรูปกลีบบัวเชิงชายแทนกระเบื้อง) รองรับโครงสร้างหลังคาเรือนไม้ ก็จะเห็นได้จาก โคปุระชั้น ที่ 1 และชั้นที่ 2 (นับจากข้างล่าง)ของปราสาทพระวิหารเป็นตัวอย่างอันดี

คานหินสลักเป็นรูปกลีบบัวเชิงชายเพื่อใช้รองรับโครงสร้างหลังคาไม้

วางเรียงพาดอยู่บนเสา

โคปุระชั้นที่ 2 ปราสาทพระวิหาร

คานหินสลักเป็นรูปกลีบบัวเชิงชายเพื่อใช้รองรับโครงสร้างหลังคาไม้

มีเสาหิน (ตกแต่งเป็นลวดลายคิ้วบัวด้านบน)รองรับ

โคปุระชั้นที่ 1 ปราสาทพระวิหาร

         จากภาพลายเส้นของ ปาร์มองติเยร์ ในปี 1939 ก็ยังมีการศึกษา ค้นหารูปแบบของโครงสร้างหลังคาไม้ที่หายไป มาโดยตลอด จนสามารถสร้างเป็นภาพลายเส้นของโครงสร้างหลังคาไม้ แบบที่มีหน้าจั่วชั้นเดียว กับแบบที่มีชั้นซ้อนขึ้นไปได้จากร่องรอยที่ปรากฏตามปราสาทหลังต่าง ๆ

ร่องรอยของ "รู" สอดคานไม้ รองรับโครงสร้างหลังคาไม้

บนผนังของอาคารพลับพลา (ห้องพิธีกรรม - บรรณาลัย - หอคัมภีร์) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

ของปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

รูปภาพสันนิษฐานการวางโครงสร้างหลังคาไม้และการมุงกระเบื้องตรงส่วนหักมุม

ของปราสาทแม่บุญตะวันออก

รูปภาพสันนิษฐานการวางโครงสร้างหลังคาไม้รูปหน้าจั่วและการมุงกระเบื้อง

ของปราสาทแม่บุญตะวันออก

รูปภาพจำลองของการวางโครงสร้างหลังคาไม้และการมุงกระเบื้องแบบต่าง ๆ

ของปราสาทแปรรับ

         คงด้วยเพราะโครงสร้างของหลังคาเรือนไม้ จะมีความคล้ายคลึงกันกับโครงสร้างหลังคาของศาสนสถานที่เป็นเรือนไม้ในยุคหลัง เรียกว่าคงมีพัฒนาการต่อยอดหรือสืบทอดต่อกันมา โครงสร้างสำคัญก็คงเป็น คานอะเส ขื่อไม้ และจันทัน ที่เป็นส่วนรับน้ำหนักและขึ้นเป็นโครงร่าง ต่อด้วยเสาตุ๊กตา เสาตั้ง ขื่อคัด ไม้รองรับจันทัน และไม้แปสำหรับการเข้ากระเบื้องมุงหลังคา (รวมถึงไม้ระแนงหากเป็นการมุงกระเบื้องแบบแผ่นแบน)

รูปภาพจำลองของการวางโครงสร้างหลังคาไม้และการมุงกระเบื้องแบบต่าง ๆ

ของอาคารระเบียงคดหรืออาคารเรือนไม้ ที่มีการใช้เสาหินรองรับโครงสร้างหลังคาไม้

ในรูปแบบการวางหลังคาแบบนี้จะมีการใช้กระเบื้องเชิงชายอุดที่ปลายหลังคา

          ส่วนประกอบของโครงสร้าง ที่ประกอบเป็นหลังคาไม้ของระเบียงปราสาทหิน ยังมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องกระเบื้องหลังคา (Roof Tiles) อีกครับ

         การศึกษาเรื่องกระเบื้องมุงหลังคา ที่มาจากแหล่งเตาเครื่องปั้น เครื่องเคลือบดินเผา ตามแนวคิดของนักวิชาการต่างประเทศกลุ่มใหญ่ เชื่อว่า การเกิดขึ้นของรูปแบบหลังคาทรงหน้าจั่วและกระเบื้องลอน เป็นผลมาจากอิทธิพลเดียวกันกับเครื่องเคลือบดินเผาประเภทต่าง ๆ นั่นก็คือการได้รับ “อิทธิพลของช่างจีน” (Chinese Influence) ที่เข้ามาพร้อมกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยีและการค้าระหว่างกลุ่มชนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับกับกลุ่มชนในเขตประเทศจีนตอนใต้ มาตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 13

อิทธิพลของช่างจีน ปรากฏหลักฐานบนภาพสลักบานประตูหลอกของปราสาทพะโค

โดยเฉพาะรูปของ "ที่จับประตูหัวสิงห์" ที่สลักให้ยื่นออกมา

เป็นตำแหน่งเดียวกับประตูของศาสนสถานในวัฒนธรรมจีน

         รูปแบบของหลังคาและกระเบื้องมุงหลังคาในยุคก่อนหน้า จากการขุดค้นที่แหล่งชุมชนโบราณออกแอว (Oc Eo) บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ประเทศเวียดนาม และที่เขตเมืองโบราณอังกอร์โบเรย (Angkor Borei) จังหวัดตาแก้ว ประเทศกัมพูชา ก็เคยได้พบร่องรอยของการใช้กระเบื้องหลังคามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 – 11 เป็นกระเบื้องรูปทรงสี่เหลี่ยม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบในอินเดีย

       จากหลักฐานที่อังกอร์โบเรย ประกอบกับหลักฐานกระเบื้องทรงสี่เหลี่ยมแบบแบน ร่องตื้น มีรูเจาะ 2 รูสำหรับยึดเข้ากับไม้แป คล้ายคลึงกันกับที่พบในเขตอีสานปุระ หรือ สมโบร์ไพรกุก (Sambo Prei Kuk) อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นลักษณะของกระเบื้องเจาะรูผูก วางบนโครงไม้ ยังไม่ปรากฏร่องรอยของกระเบื้องเชิงชายและบราลี เป็นลักษณะของกระเบื้องหลังคาที่ได้รับอิทธิพลมาจากชวาหรืออินเดีย เช่นเดียวกัน

         หลังพุทธศตวรรษที่ 14 อิทธิพลทางวัฒนธรรมของจีน ได้แพร่หลายเข้ามาสู่อาณาจักรกัมพุชเทศ พร้อม ๆ กับเทคนิค องค์ความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาของการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาประเภทต่าง ๆ และการค้าทางทะเล น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการผสมโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้ ด้วยกระเบื้องยึดติดกับขื่อแป กระเบื้องลอน(กาบกล้วย) ปิดรูกระเบื้องชายหลังคาด้วยกระเบื้องเชิงชาย มีกระเบื้องปิดคานอกไก่ด้านบน ตามแบบการก่อสร้างของช่างจีน เป็นครั้งแรก ๆ ครับ

รูปแบบกระเบื้องเคลือบ (และไม่เคลือบ)ชนิดต่าง ๆ

ที่ขุดพบจากแหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

การทดสอบเรียงกระเบื้องตัวผู้(กาบกล้วย) และกระเบื้องตัวเมียที่ได้จากแหล่งเตาตานี

บนโครงสร้างหลังคาไม้จำลอง

         การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลังคาที่ได้รับอิทธิพลทางเทคโนโลยีผสมศิลปะจากวัฒนธรรมทางตอนใต้ของจีน ได้ก่อให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ที่ผสมผสานทั้งจากวัฒนธรรมอินเดียและจีน เข้ามาปรับเปลี่ยน ปรับปรุง พัฒนาจนกลายมาเป็นรูปแบบของการมุงหลังคาปราสาทหินด้วยเครื่องไม้ของช่างชาวกัมพุชอย่างต่อเนื่อง

         กระเบื้องมุงหลังคาที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีน (และพัฒนารูปแบบ รูปทรง เนื้อดิน สีสันน้ำเคลือบและการใช้งานมาเป็นแบบของกัมพุชเอง) แบ่งประเภทออกได้เป็น กระเบื้องตัวผู้ (Round tile)หรือกระเบื้องกาบกล้วยกระเบื้องตัวเมีย (flat tile) กระเบื้องเชิงชาย (Eave/ridge Tiles) และ บราลี (Barali - Ridge Tiles / finial Tiles) วางปิดสันหลังคา

เครื่องเคลือบรูป "บราลี" จากแหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

         เมื่อประกอบโครงสร้างไม้ของหลังคา (ทั้งแบบบนผนัง และแบบบนเสา) เสร็จแล้ว ก็จะมุงกระเบื้อง โดยใช้เดือยของกระเบื้องตัวเมียวางทับไว้ในร่องของคานแป เรียงซ้อนลงมาโดยให้แผ่นกระเบื้องด้านบนที่สอบเล็กลง วางเกยอยู่บนแผ่นกระเบื้องแผ่นล่าง ส่วนกระเบื้องตัวผู้ก็จะวางเข้าเดือยทับกระเบื้องตัวเมียเรียงเป็นลอนเดี่ยว วางเกยยาวต่อกันลงมา

เดือยของกระเบื้องตัวเมีย วางประกบบนคานแปของโครงสร้างหลังคาไม้

เดือยของกระเบื้องตัวผู้ (กาบกล้วย)ไว้ประกบเรียงเข้ากับกระเบื้องตัวบ

         ช่วงปลายหลังคา (ชายคา) จะใช้ “กระเบื้องประดับปลายหลังคา”  (Antefix) หรือ “กระเบื้องเชิงชาย” (Eaves tiles) ที่มีการตกแต่งเป็นลวดลายศิลปะสวยงาม สอดเข้าไว้ที่ชายหลังคาเป็นกระเบื้องตัวสุดท้าย ซึ่งอาจวางลอยบนแปไม้ (ใช้เสาไม้รอง) แบบ หรือ วางติดไว้บนคานหินแบบที่ไม่มีลวดลายบัวสลักไว้

         แต่หากที่ปลายเชิงชาย มีหินวางเป็นคาน และแกะสลักเป็นรูปกลีบบัวเชิงชายแล้ว กระเบื้องหลังคาตัวสุดท้ายก็จะมาชนกับตัวบัวคานหินที่แกะสลักไว้พอดี โดยไม่ต้องใช้กระเบื้องเชิงชายมาอุดรูหรือปิดประดับ

รูปภาพจำลองของการวางโครงสร้างหลังคาไม้และการมุงกระเบื้องแบบต่าง ๆ

ของอาคารระเบียงคดที่มีการใช้คานหินสลักเป็นรูปตามแบบเครื่องกระเบื้อง

ไม่มีกระเบื้องเชิงชายอุดที่ปลายหลังคา

เช่นที่โคปุระชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 ปราสาทพระวิหาร

         ส่วนด้านบนของสันหลังคา จะใช้กระเบื้องที่ทำเป็นรูปทรง กลศ (กะละสะ – หม้อน้ำมงคล) ต่อยอดแหลม เรียกว่า “บราลี” วางไว้ทับเหนือไม้คาน“อกไก่” มีปลายกระเบื้องซ้อนอยู่บนกระเบื้องหลังคาอีกทีหนึ่ง

เครื่องเคลือบดินเผารูป "บราลี" รูปทรงต่าง ๆ จากแหล่งเตาในเขตอำเภอบ้านกรวด

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร

           จากหลังคาโครงสร้างไม้มุงกระเบื้อง ช่างสร้างปราสาทในยุคต่อมา ก็ได้ประยุกต์นำเอารูปแบบของหลังคาลอนกระเบื้องมีเชิงชาย มาแกะสลักไว้บนหลังคาที่สร้างด้วยหินทราย

ลอนหลังคาและเชิงชายรูปกลีบบัวสลักหิน

ชั้นลดของปราสาทประธาน ปราสาทพระวิหาร พุทธศตวรรษที่ 16

         หลังคาของปราสาทหินที่มีการแกะสลักเป็นรูปลอนกระเบื้อง ก็มักจะมีการแกะสลักลวดลายตกแต่งไปบนลอน ในขณะที่ปลายหลังคา ก็จะทำเป็นรูปเหมือนของเชิงชายที่เลียนแบบมาจากกระเบื้องเชิงชาย สลักอยู่บนหินทรายแท่งเดียวกันกับปลายลอนหลังคาน

รูปแบบการสลักหลังคาหินแบบเรียบไม่มีลอน(กระเบื้อง)

ปลายหลังคาทำเป็นรูปกลีบบัวเชิงชาย สลักบนหินชิ้นเดียวกันกับหลังคา

ที่ปราสาทพระวิหาร พุทธศตวรรษที่ 16

         หรือในบางครั้ง ก็แยกส่วนของหินทรายออกทำเป็นคานทับหลังบนผนังกำแพงต่างหาก สลักรูปบัวเชิงชายลอยตัวออกมาอย่างเด่นชัด เป็น “ทับหลังเชิงชายหลังคาหิน” ซึ่งในรูปแบบนี้ บางทีก็ใช้โครงสร้างไม้มุงกระเบื้องต่อขึ้นไปเป็นหลังคา อย่างที่โคปุระจัตุรมุขชั้นแรกของปราสาทพระวิหาร หรือ อาจสลักหินทรายทำเป็นรูปลอนหลังคาต่อขึ้นไปก็ได้

คานหินเชิงชายที่สลักเป็นรูปกลีบบัว เลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย

แยกส่วนออกจากหินมุงหลังคาที่สลักเป็นลอน ที่ปราสาทเบงเมเลีย ปลายพุทธศตวรรษที่ 17

คานหินเชิงชายที่สลักเป็นลวดลายกลีบบัวสองชั้น มีลายเกสรล้อมรอบ

เลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย

พบจากปราสาทในเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15

รูปแบบการสลักหลังคาหินแบบเรียบไม่มีลอน(กระเบื้อง)

ชายหลังคาทำเป็นรูปกลีบบัวเชิงลอยตัว สลักบนหินชิ้นเดียวกันกับหินมุงหลังคา

ที่ปราสาทบันทายสรี พุทธศตวรรษที่ 16

รูปแบบการสลักหลังคาหินแบบเรียบไม่มีลอน(กระเบื้อง)

ชายหลังคาทำเป็นรูปกลีบบัวลอยตัว สลักบนหินชิ้นเดียวกันกับหินมุงหลังคา

ที่ปราสาทประธาน ปราสาทเขาพนมรุ้ง พุทธศตวรรษที่ 17

         รูปแบบหลังคา (มุง) หิน ของปราสาทหินในยุคก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 16 ไม่ค่อยนิยมทำเลียนแบบลอนหลังคากระเบื้องดินเผา หรือถ้าทำ ก็จะแกะสลักเป็นลอนเรียบ ไม่มีการตกแต่งลวดลายใด ๆ บนลอนหิน (เลียนแบบ) ส่วนปลายหรือชายหลังคาก็นิยมทำเป็นทับหลังผนัง เลียนแบบเชิงชายรูปกลีบบัว และรูปกลีบบัวมีเกสรเป็นรัศมีเสียเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งแบบเป็นชิ้นเดียวกับหลังคา และแบบแยกมาเป็นคานบัวเชิงชาย(ลอยตัว)โดยเฉพาะ ส่วนยอดสันของคานหลังคาก็จะแกะสลักเป็นรูปบราลีหินทราย เข้าเดือย วางเรียงประดับเช่นเดียวกับการประดับบราลีกระเบื้องบนหลังคาโครงไม้

รูปแบบการสลักหลังคาหินเลียนแบบกระเบื้องลอน

ชายหลังคาไม่มีการสลักลวดลาย

ปราสาทพิมานอากาศ ปลายพุทธศตวรรษที่ 15

คานหินชายหลังคาสลักเป็นรูปกลีบบัว เลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย

แยกส่วนออกจากหินมุงหลังคาที่เป็นแบบเรียบไม่มีลอน

ปราสาทประธาน ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ กลางพุทธศตวรรษที่ 16

คานหินชายหลังคาสลักเป็นรูปกลีบบัว เลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย

สลักบนคานหินแยกส่วนออกจากหินมุงหลังคาที่เป็นแบบเรียบไม่มีลอน

อาคารบรรณาลัย ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ต้นพุทธศตวรรษที่ 16

หินทรายสลักเป็นรูป "บราลี" ขนาดใหญ่ ใช้ประดับบนสันหลังคา

ที่เคยอยู่บนหลังคาหินเลียนแบบเครื่องไม้ของระเบียงคด

ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ต้นพุทธศตวรรษที่ 17

         รูปแบบของหลังคาหินที่สวยงามที่สุด ก็คงเป็นที่ “ปราสาทนครวัด”  (Angkor Wat Pr.) ตัวหลังคา ทำเป็นรูปโค้งประทุนเรือ บนหลังคาสลักเป็นรูปกระเบื้องลอน (ตัวผู้ - กาบกล้วย) จำลอง บนสันของลอน สลักเป็นลวดลายก้านต่อดอก ปลายล่างชายหลังคา สลักเป็นรูปเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย แต่มีความวิจิตรบรรจง เพราะนอกจากจะสลักเป็นรูปกลีบบัว มีเกสรเป็นรัศมี ตามแบบปราสาทในยุคก่อนหน้าแล้ว ยังสลักเป็นรูปหน้าสิงห์ รูปสิงห์ทั้งตัว รูปครุฑยุดนาค (ประกอบลายพรรณพฤกษา) และรูปเทพเจ้าครึ่งตัวประกอบลายพรรณพฤกษา อีกด้วย

หลังคาหินเลียนแบบเครื่องไม้ ทำเป็นลอนกระเบื้องมีลวดลาย

ปลายของชายหลังคาทำเป็นรูปหน้าสิงห์

มหาปราสาทนครวัด กลางพุทธศตวรรษที่ 17

ภาพสลักหินเลียนแบบกระเบื้องเชิงชายทำเป็นรูปครุฑยุดนาค

มหาปราสาทนครวัด กลางพุทธศตวรรษที่ 17

ภาพสลักหินเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย ทำเป็นรูปสิงห์ทั้งตัว

มหาปราสาทนครวัด กลางพุทธศตวรรษที่ 17

         มาถึงยุคศิลปะแบบปราสาทบายน รูปแบบของหลังคายิ่งทำเป็นลอนเลียนแบบหลังคาเรือนไม้ทั้งหมด ทั้งชั้นบนหลังคาและหลังคาชั้นลด ชั้นบนคานสันหลังคาวางบราลีหินหรือรูปสลักพระพุทธเจ้าหรือฤๅษีในซุ้มเรือนแก้ว ชายหลังคาก็มักจะนิยมทำเป็นเชิงชายหินรูปกลีบบัว หรือง่ายหน่อยก็อาจสลักให้หลังคาหายเข้าไปในคานโดยไม่ต้องสลักรูปกลีบบัวเชิงชายแต่อย่างใด

หลังคาหินทำเป็นลอนกระเบื้องเลียนแบบเครื่องไม้

ปลายของชายหลังคาทำเป็นรูปกลีบบัวเชิงชาย

ปราสาทวหนิคฤหะแห่งปราสาทพระขรรค์ กลางพุทธศตวรรษที่ 18

อาคารปราสาท สร้างเลียนแบบอาคารเครื่องไม้ทั้งหลัง

หลังคาทำเป็นลอนกระเบื้องเลียนแบบเครื่องไม้

ปลายของชายหลังคาทำเป็นรูปกลีบบัวเชิงชาย

โคปุระทิศตะวันออก ปราสาทพระขรรค์ กลางพุทธศตวรรษที่ 18

กลีบบัว ฤๅษี พรรณพฤกษา ครุฑ นาค

เทพยดา อสุรา ศิวะ พระ อัปสรา หน้ากาล สิงห์

ศิลปะและลวดลาย...บนกระเบื้องเชิงชาย

         จากร่องรอยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของหลังคาเรือนไม้ ที่อาจได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มชนทางตอนใต้ของจีน ผ่านกระบวนการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 มีพัฒนาการจนกลายมาเป็นแบบแผนศิลปะของชาวกัมพุชเทศอย่างสมบูรณ์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14

         รูปแบบของเครื่องกระเบื้องประกอบหลังคา ที่ผลิตจากเตาเผาหรือที่ขุดพบชิ้นส่วนได้ตามแหล่งโบราณคดีประเภทปราสาทหินและชุมชนโบราณทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา ที่มีทั้งแบบเคลือบ “น้ำเคลือบขี้เถ้าพืช” (Ash glaze)แบบไม่เคลือบเนื้อแกร่งจนมาถึงแบบกระเบื้องดินเผา (Clay Tiles) นับจากกระเบื้องตัวผู้ กระเบื้องตัวเมีย บราลี กระเบื้องเชิงชาย และอื่น ๆ ส่วนที่มีความหลากหลายของลวดลายศิลปะมากที่สุดก็คงจะเป็น “กระเบื้องเชิงชาย” (Antefix – Eaves Tile) หรือเรียกกันตามแบบช่างพื้นบ้านว่า “กระเบื้องหน้าอุด” (เอาไว้อุดรูกระเบื้องลอน) ก็ได้ครับ

กระเบื้องเชิงชายแบบมีน้ำเคลือบสีเขียวอ่อนรูปกลีบบัวและนาคสามเศียร

พิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร จังหวัดบุรีรัมย์

ภาพจำลองแสดงการเข้ากระเบื้องแบบต่าง ๆ บนโครงสร้างหลังคา

ปราสาทแปรรับ ต้นพุทธศตวรรษที่ 15

         ด้วยเพราะต้องผลิตในแบบเดียวกัน ครั้งละเป็นจำนวนมาก ๆ ศิลปะลวดลายที่เกิดขึ้นบนกระเบื้องเชิงชาย จึงมักเกิดขึ้นจากเทคนิคการขึ้นรูปด้วยการกดทับ (พิมพ์) ถอดออกจาก “แม่พิมพ์” (Molding) ที่อาจทำจากแม่พิมพ์หินทราย ดินเผาหรือไม้ เราสามารถมองเห็นร่องรอยของเทคนิคการถอดแบบแม่พิมพ์ได้จากลวดลายที่ไม่ละเอียดนัก ฟองอากาศ การตกแต่ง การปาดดินขอบที่เกินออกมาจากพิมพ์ การเชื่อมต่อของแผ่นหน้าเข้ากับกระเบื้องตัวผู้ในขณะที่ดินยังชุ่มน้ำ ร่องรอยการประกบชน และการกดตกแต่งให้เป็นชิ้นเดียวกัน รวมถึงการตกแต่งเพิ่มเติมได้บนกระเบื้องเชิงชายทุกแผ่นเลยครับ

ร่องรอยการปาดดินตกแต่งบริเวณรอยเชื่อมต่อของแผ่นหน้าเข้ากับกระเบื้องตัวผู้ด้านหลัง

ร่องรอยการปาดดินตกแต่งและการปั้นสันติดทับลงไปบนส่วนยอดแหลม

บริเวณรอยเชื่อมต่อของแผ่นหน้าเข้ากับกระเบื้องตัวผู้ด้านหลัง

         เป็นที่น่าสังเกตว่า เราจะพบชิ้นส่วนของกระเบื้องหลังคา บราลีและเชิงชายที่มีน้ำเคลือบสีสันสวยงาม หรือมีรูปทรง ศิลปะลวดลายที่งดงามตระการตา ตามแหล่งอาคารเรือนไม้ที่มีความสำคัญ เช่นเขตปราสาทราชวัง เขตพระราชฐาน อาคารศาสนสถาน (รอบปราสาทหิน) ปริมณฑลศักดิ์สิทธิ์ขนาดใหญ่

ภาพลายเส้นของลวดลายบนกระเบื้องเชิงชาย ที่พบในเขตพระราชวังหลวง

         ส่วนกระเบื้องแบบไม่เคลือบ เนื้อแกร่งไปจนถึงเนื้อดินเผา สีสันไม่สวยนัก ก็มักจะพบในพื้นที่ห่างไกลออกไปจากศูนย์กลางชุมชนแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา อาจใช้ในศาสนสถานประจำชุมชน (สุรุก) ขนาดเล็ก อาคารราชการ อาคารทางศาสนาภายนอกปราสาทใหญ่ บ้านเรือนของชนชั้นปกครอง ศาลา โดยเฉพาะศาลาเรือนไม้ที่ใช้ประโยชน์อยู่ร่วมกับปราสาทประเภทธรรมศาลา หรือร่วมกันกับปราสาทสุคตาลัยในกลุ่มอโรคยศาลา ก็จะพบเศษกระเบื้องดินเผาเนื้อสีไม่สวยนักกระจายตัวอยู่ทั่วไปครับ

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว แบบมีเส้นคั่นกลาง

พบที่ปราสาทพลสงคราม (สุคตาลัยแห่งอโรคยศาลา) จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว แบบต่าง ๆ

พบที่ปราสาทสามองค์ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18

          รูปแบบของกระเบื้องตัวผู้ กระเบื้องตัวเมียและบราลี จากในยุคพุทธศตวรรษที่ 14 – 18 ยังคงมีรูปทรงลักษณะและทำหน้าที่ที่คล้ายคลึงกันมาโดยตลอด ต่างจากกระเบื้องเชิงชาย ที่ถึงแม้ว่าจะถูกใช้อุดช่องกระเบื้องที่ชายคารวมทั้งใช้เป็นกระเบื้องประดับตกแต่งเหมือนกับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับอิทธิพลมาจากช่างชาวจีน แต่ก็มี “ศิลปะลวดลาย” ที่งดงาม หลากหลายกว่าเครื่องกระเบื้องดินเผาชนิดอื่น ๆ

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว แบบมีสันนูนตรงกลาง

ปลายด้านบนโค้งตวัดออกมาเล็กน้อย

น้ำเคลือบขี้เถ้าพืชสีเขียวแบบ "เซลาดอน" .

พบที่แหล่งเตาในเขตบ้านสายโท 2 อำเภอบ้านกรวด

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16

         กระเบื้องเชิงชายเป็นกระเบื้องดินเผา(ทั้งแบบเคลือบ ไม่เคลือบ และแบบดินเผาธรรมดา) รูปทรงสัณฐานส่วนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานด้านล่างกว้าง แล้วโค้งมนสอบเข้าหากันแบบกลีบบัว ด้านหลังเป็นกระเบื้องลอนแบบเดียวกับกระเบื้องตัวผู้ โค้งเอียงไปตามมุมของโครงสร้างหลังคา (ตามมุมของจันทัน) มีเดือยเล็ก ๆ อยู่ข้างใต้ลอนเพื่อใช้ยึดเข้ากับกระเบื้องตัวเมีย ปลายกระเบื้องด้านหลังจะสอบเข้า เล็กกว่าด้านหน้า เพื่อสอดเข้ากับกระเบื้องตัวผู้ตัวด้านบนที่มีปลายลอนโค้งกว้างกว่า

กระเบื้องเชิงชายรูปแบบต่าง ๆ

ทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ รวมทั้งแบบเนื้อดินเผา.

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

อายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 - 17

          ด้านหน้าของกระเบื้องเชิงชาย เป็นแผ่นตั้งตรง หรืออาจเอียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย นิยมทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงาม จะมีรูปอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลยครับ

         ลวดลายแรก ๆ ของกระเบื้องเชิงชาย ที่นิยมผลิตมากที่สุด หรือประมาณ 80 % ของลวดลายที่พบทั้งหมด เป็นกระเบื้องเชิงชาย “รูปกลีบบัว” (Lotus petal eave tiles) ที่เก่าแก่ที่สุดก็อาจมีอายุอยู่ในปลายพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่ปรากฏอิทธิพลของเครื่องเคลือบจีนอย่างเป็นรูปธรรม ศิลปะของกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว ในยุคแรกพบจากการขุดค้นที่

แหล่งเตาทะนอล มะเลจ (Thnal Mrech) ซึ่งเป็นกลุ่มเตาบนเขาพนมกุเลน (Phnom Kulen) อายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งก็ได้พบชิ้นส่วนของกระเบื้องรูปกลีบบัวรูปแบบเดียวกันนี้ ที่ปราสาทพะโค (Preah Ko Pr.)ปราสาทบากอง (Ban kong Pr.) และบริเวณเมืองโบราณ “หริหราลัย”ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรในช่วงนั้นครับ

รูปแบบจำลองของกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว

ที่พบจากปราสาทพะโค อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 14

ชิ้นส่วนแตกหักของกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว

คล้ายคลึงกับที่พบจากปราสาทพะโค ปะปนอยู่กับกระเบื้องเชิงชายลวดลายอื่น ๆ

ที่พบจากแหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

ภาพลายเส้นของกระเบื้องเชิงชายที่พบในเขตพระราชวังหลวง

ก็มีลวดลายเดียวกับกับที่พบที่ปราสาทพะโค

         รูปแบบของกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือแบบตรงกลางนูนโค้งหรือนูนเป็นสัน บางชิ้นปลายกลีบบัวยอดแหลมด้านบนจะโค้งตวัดออกมาเล็กน้อย ด้านนอกอาจทำเป็นบัว 2 ชั้น ขอบนอกทำเป็นซุ้มฟันปลา ใบระกา กระหนกครีบสิงห์หรือลายเกสรบัว หรือทำเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกลีบบัว มีเกสรเป็นรัศมี

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวสองชั้น ขอบนอกทำเป็นลายเกสรล้อมรอบ

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

ก่อนที่จะมีการขุดค้นทางโบราณคดีในปี 2006

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวตรงกลางนูน กลีบในทำเป็นลายเกสรม้วนล้อมรอบ

ขอบนอกเป็นกลีบบัวอีกชั้น

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวสองชั้น ทั้งสองกลีบทำเป็นลายเกสรล้อม

พบจากแหล่งเตาตานี ทางทิศตะวันออกของเขาพนมบก

อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวตรงกลางนูน ขอบนอกเป็นลายเกสรม้วน

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ บนเขาพนมกุเลน

อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวสามชั้นตรงกลางนูน

ขอบนอกของกลีบด้านในทำเป็นลายเกสรม้วน

พบที่แหล่งเตาเผาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

         อีกแบบหนึ่ง ตรงกลางจะมีแนวเส้นคั้น แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน บางชิ้นมีเส้นกลางหรือแทรกลายลูกปะคำกลม(ละอองเกสร) มีลายเส้นรูปตัว U คว่ำ โค้งมนตรงส่วนยอดฝั่งละ 2 แถว บางทีก็มีการใส่ลวดลายของเกสรเข้าไปเป็นรัศมี 1 ชั้นหรือ 2 ชั้น ตรงปลายยอดแหลมของกลีบบัว บางชิ้นก็มีการทำเป็นรูปโค้งงอออกมาเล็กน้อย รูปแบบนี้จะพบในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 16 เสียเป็นส่วนใหญ่

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวแบ่งเป็นแนวตรงกลาง ขอบนอกเป็นลายเกสรหรือใบระกา

พบที่บริเวณปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวแบ่งเป็นแนวตรงกลาง ขอบนอกเป็นลายพวยรัศมีหรือใบระกา

พบที่บริเวณปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวแบ่งเป็นแนวตรงกลาง

บางชิ้นทำเป็นรูปคล้ายลายลูกปะคำหรืออาจเป็นลายเม็ดเกสร

ขอบนอกเป็นลายพวยกนก รัศมีหรือใบระกา

พบที่ปราสาทบ้านหนองแฝก (สุคตาลัยแห่งอโรคยศาลา) จังหวัดชัยภูมิ

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18

กระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวแบ่งเป็นแนวตรงกลาง

ขอบนอกเป็นกนกลายพวยใบไม้ม้วน ด้านล่างทำเป็นลายรัดกระบัง

มีรัศมีเป็นรูปกนกลายใบไม้

พบที่บริเวณเมืองโบราณลพบุรี

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17

         ลวดลายศิลปะของกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว ได้รับความนิยมนำแกะสลักเลียนแบบบนคานหินทราย ที่ใช้รองรับหลังคาทั้งแบบหลังคาโครงไม้มุงกระเบื้องและแบบหลังคามุงหิน ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน จนมีคำเรียกส่วนประกอบของผนังที่ยื่นโค้งออกมาด้านบนและด้านล่างว่า “คิ้วบัว” หรือ “บัวติดผนัง” (ทั้ง ๆ ที่ ไม่เห็นจะเหมือนรูปบัวตรงไหน) ไงครับ

รูปสลักเลียนแบบกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

ปราสาทพระวิหาร ต้นพุทธศตวรรษที่ 16

.

รูปสลักเลียนแบบกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัว บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

ปราสาทเมืองต่ำ กลางพุทธศตวรรษที่ 16

          ที่ได้รับความนิยม นำมาทำเป็นลวดลาย ประดับชายหลังคาปราสาท ก็คงเป็นเพราะ “คติความเชื่อ” ของฮินดู ที่เชื่อว่า “กลีบบัวทั้ง 8 (Eight Lotus Petal) นั้น แทนความหมายของ "มูรติทั้ง 8" หรือ “อัษฏมูรติ” อันเป็นส่วนประกอบของพลังแห่งพระศิวะ ประกอบด้วย ศรี วุฒิ พินาศ สัญจร การถูกขโมย โรคา ยศศักดิ์ ความรุ่งเรืองและอายุขัย กลีบบัวมีความหมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์ - ความมงคล” เพราะดอกบัวเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์ เช่นกรณีการเกิดของดอกบัวที่สะอาดบริสุทธิ์เหนือโคลนตมตามธรรมชาติ การถือดอกบัวและการเสด็จออกมาจากดอกปทุมาของพระนางลักษมี ในรูป “อภิเษกพระศรี”เป็นสัญลักษณ์ของความงาม โชคลาภ ความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ เราจะพบเห็นรูปสลักของเทพเจ้าถือบัวขาบ นั่งบนหน้ากาล หรือนางอัปสราถือแซ่จามรและถือบัวขาบอันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคลบนสรวงสวรรค์ อยู่ตามปราสาทหินทั่วไป

ลอยตัว รูปสลักลวดลายกลีบบัวสองชั้น เลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย บนหินชิ้นเดียวกับหลังคา

ปราสาทบันทายสรี กลางพุทธศตวรรษที่ 15

รูปสลักลอยตัว ลวดลายกลีบบัวสองชั้นเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

ปราสาทพนมวัน ปลายพุทธศตวรรษที่ 16

โกลนของรูปสลักลอยตัว ลวดลายกลีบบัวเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

เนินนางอรพิม ใกล้กับปราสาทพนมวัน ต้นพุทธศตวรรษที่ 18

          ในอีกหลายความหมาย รูปของบัวบานที่มีกลีบแยกมักจะถูกสร้างสรรค์แกะสลักให้รองอยู่ใต้พระบาทของเหล่าเทพเจ้า แทนความเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และถือกำเนิดด้วยความบริสุทธิ์ ลวดลายกลีบบัวทั้งที่เป็นหินสลักและกระเบื้อง จึงถูกใช้เพื่อแทนความหมายของ ขอบเขตแห่งศูนย์กลางของความศักดิ์สิทธิ์ ความบริสุทธิ์ ความเป็นมงคลของศูนย์กลางแห่งจักรวาลอันเป็นเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ซึ่งนั่นก็คงหมายถึงตัวอาคารศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั่นเอง

รูปสลักลวดลายกลีบบัวสองชั้นเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

มุมระเบียงคดฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ปราสาทพนมรุ้ง ต้นพุทธศตวรรษที่ 17

รูปสลักลวดลายกลีบบัวสองชั้นเลียนแบบกระเบื้องเชิงชาย บนคานหินแยกจากชั้นหลังคา

เคลื่อนย้ายมาจากปราสาทเมืองต่ำมาใช้ประกอบปราสาทในยุคหลัง

ที่ปราสาทกุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง อายุรูปสลักกลีบบัวอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16

          ลวดลายของกระเบื้องเชิงชายแบบที่สอง คือ รูป “ฤๅษี (Rishi) ในซุ้ม” เป็นรูปของฤๅษี ในท่านั่งแบบ “โยคาสนะ” (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) กลางซุ้มโค้งปลายยอดแหลมชั้นเดียวจนถึงหลายชั้น ด้านนอกทำเป็นลวดลายใบไม้ม้วน ลายฟันปลา หรือลายไข่ปลา เดินเส้นขอบชั้นเดียวถึงหลายชั้น ขอบด้านนอกสุดทำเป็นแง่ง สลับฟันปลาคล้ายลายใบไม้หยัก กระเบื้องเชิงชายลวดลายรูปฤๅษี นี้ เคยพบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ (Thnal Mrech) บนเขาพนมกุเลน และที่ปราสาทพนมวัน (Phanom Wan Pr.) จังหวัดนครราชสีมา อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ครับ

กระเบื้องเชิงชายลวดลายรูปฤๅษี

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ (Thnal Mrech) บนเขาพนมกุเลน

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16

กระเบื้องเชิงชายลวดลายรูปฤๅษี

พบที่ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16

         ลวดลายของกระเบื้องเชิงชายแบบที่สาม เป็นรูป “ลายพรรณพฤกษา” เป็นกระเบื้องเชิงชายที่ไม่พบบ่อยนัก มีหลากหลายลวดลาย แบบที่เคยพบบนเขาพนมกุเลน เป็นกระเบื้องเชิงชายที่มีน้ำเคลือบขี้เถ้าพืช ลายใบไม้ม้วน 4 แถบ สัณฐานรูปทรงคล้ายกระจังใบเทศสามเหลี่ยม อายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งก็อาจเป็นรูปแบบเชิงชายที่มีความเก่าแก่ที่สุดเลยก็ได้ ? ครับ

กระเบื้องเชิงชายลวดลายพรรณพฤกษา

พบที่แหล่งเตาบนเขาพนมกุเลน

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14

         ส่วนลายพรรณพฤกษาอีกแบบเป็นลายใบไม้ ที่มีแบบแผนรูปทรงเดียวกับกลีบบัว แต่เพิ่มเติมลวดลายคล้ายมาลัยถักเข้าไป ขอบด้านนอกทำเป็นแง่งฟันปลาหรือเปลวใบไม้หยัก ลอยตัวเรียงขึ้นไปด้านบน อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15 พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ (Thnal Mrech)

กระเบื้องเชิงชายลวดลายพรรณพฤกษา

พบที่แหล่งเตาทะนอล มะเลจ (Thnal Mrech) บนเขาพนมกุเลน

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16

         กระเบื้องเชิงชายลวดลายพรรณพฤกษาที่งามที่สุด น่าจะเป็นกระเบื้องเชิงชายเคลือบที่พบในบริเวณเขตพระราชวังหลวง (Royal Palace)แห่งศรียโศธรปุระ ที่มีลวดลายและรัศมี เป็นรูปโครงสร้างแบบกลีบบัวหรือเค้าโครงของกระจังหู ผสมลวดลายใบไม้ หรือกนกครีบสิงห์ ด้านล่างทำเป็นรูปคล้ายดอกจำปี ด้านนอกทำเป็นแง่งฟันปลาหรือเปลวใบไม้หยัก ลอยตัวเรียงแถวขึ้นไปด้านบน อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

กระเบื้องเชิงชายลวดลายพรรณพฤกษา

พบที่บริเวณพระราชวังหลวง (Royal Palace)

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15

กระเบื้องเชิงชายลวดลายพรรณพฤกษา

พบที่บริเวณฐานพลับพลาช้าง(The Terrace of Elephants)

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18

         กระเบื้องเชิงชายรูปแบบที่สี่ เป็นศิลปะลวดลายของ “ครุฑยุดนาค”  (Garuda fighting Naga) ที่จะพบมากในกลุ่มเตาเขตเขมรสูง (อีสานใต้) ในพื้นที่ที่เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์มหิธรปุระ นับจากลพบุรี พิมาย พนมรุ้ง ไปตามเส้นทางราชมรรคาลงไปสู่เขตเขมรต่ำ อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17

         กระเบื้องเชิงชายรูปครุฑยุคนาค น่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงที่อาณาจักรกัมพุชเทศ ได้รับอิทธิพลทางความเชื่อในลัทธิ “ไวษณพนิกาย” (ถือพระวิษณุเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่) เปลี่ยนแปลงจากคติความเชื่อเดิม ที่เคยเป็นแบบถือพระศิวะเป็นใหญ่ (ไศวะนิกาย)และถือเทพเจ้าสามองค์เป็นใหญ่ (ลัทธิตรีมูรติ) ลวดลายครุฑที่มีความหมายถึงพลังอำนาจลึกลับของ “เทวะสัตว์” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในมวลสัตว์โลก ปรากฏเรื่อราวในวรรณกรรมโบราณ ที่กล่าวถึงครุฑผู้รับใช้ ผู้ช่วยเหลือพระวิษณุ หรือเป็นสัญลักษณ์แทนพระวิษณุ รวมทั้งเรื่องของการต่อสู่ระหว่างครุฑกับนาค ที่ปรากฏในวรรณกรรมโบราณ ที่ได้เล่าถึงเรื่องราวของครุฑที่ต้องไปขโมยน้ำอมฤตเพื่อนำมาไถ่ตัวมารดาจากพวกนาค จนกลายเป็นศัตรูที่จะต้องต่อสู้กัน และครุฑที่รับพรจากพระอินทร์เป็นฝ่ายชนะและจับนาคกินเป็นอาหาร

กระเบื้องเชิงชายลวดลายครุฑยุดนาค

พบจากแหล่งเตาบ้านสายโท 2 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17

         รูปของครุฑยุคนาคในความหมายของผู้มีพลังยิ่งใหญ่ (เหนือนาค เทวดาและพระอินทร์) และความหมายแห่งองค์พระวิษณุ (ที่เท่าเทียมกัน) จึงถูกนำมาแกะสลักที่เชิงชายหินประดับระเบียงของหลังคาปราสาทนครวัด ปราสาทเบงเมเลีย มหาปราสาทขนาดใหญ่ 2 แห่งที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในลัทธิไวษณพนิกาย กระเบื้องเชิงชายรูปแบบนี้ ถูกผลิตขึ้นใช้ในช่วงระยะเวลาไม่นานนัก เพื่อมาทดแทน สับเปลี่ยนกระเบื้องเชิงชายรูปแบบเดิม ประดับตกแต่งเรือนหลังคาปราสาทหิน ที่สร้างขึ้นตามคติเดียวกัน หรือปราสาทที่มีการบูรณะซ่อมแซมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17

         ในยุคหลังก็ยังมีการสร้างกระเบื้องเชิงชายในรูปแบบ “ครุฑ” แต่ก็ไม่นิยมทำเป็นรูปครุฑยุดนาคอย่างในยุคก่อน ตัวอย่างเช่น กระเบื้องเชิงชายรูปครุฑ ? ดินเผา ที่พบจากการขุดค้นที่ปราสาทพลสงคราม (ปราสาทสุคตาลัยแห่งอโรคยศาลา) อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่ดูเหมือนจะสร้างขึ้นในท้องถิ่น เป็นรูปครุฑแบบง่าย ๆ ขอบด้านนอกทำเป็นรูปหยักแบบฟันปลา รูปทรงสามเหลี่ยมแบบกระจังตาอ้อย อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18

กระเบื้องเชิงชายลวดลายครุฑ

พบที่ปราสาทพลสงคราม จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18

         ลวดลายศิลปะของกระเบื้องเชิงชายแบบที่ห้า เป็นรูป “นาคสามเศียร” อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17 พบจากแหล่งเตาบ้านโนนสว่าง – บ้านโคกกลอย จังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะเดียวกันกับกระเบื้องรูปครุฑยุคนาค คือจะพบอยู่ในเขตอิทธิพลของราชวงศ์มหิธระปุระ นับจากลพบุรี พิมาย พนมรุ้ง ไปตามเส้นทาราชมรรคาลงไปสู่เขมรต่ำ กระเบื้องจากแหล่งเตาเผาที่บ้านโนนสว่าง น่าจะถูกนำไปใช้กับอาคารเรือนเครื่องไม้ที่สร้างอยู่โดยรอบปราสาทหินพนมรุ้งและศาสนสถานในยุคพุทธศตวรรษที่ 17 ที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นทางราชมรรคา

กระเบื้องเชิงชายลวดลายนาคสามเศียร

พบจากแหล่งเตาบ้านโนนสว่าง - โคกกลอย จังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17

จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร

กระเบื้องเชิงชายลวดลายนาคสามเศียร

พบจากแหล่งเตาบ้านโนนสว่าง - โคกกลอย จังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17

          ตามคติของฮินดู “นาค” จะมีความหมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์” เพราะเป็นเทวะสัตว์ที่เกี่ยวพันกับน้ำ การเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหารและผลผลิตที่เพิ่มพูน อีกทั้งเรื่องราวของ “พญาอนันตนาคราช” ที่ขดตัวเป็นแท่นบรรทมของพระวิษณุก็แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจ ในคติความเชื่อของไศวนิกายถือว่านาคเมื่อยามแสดงอิทธิฤทธิ์ จะกลายเป็น “สะพานสายรุ้ง” เชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับสรวงสวรรค์ การนำรูปของนาคมาใช้เป็นลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายประดับอาคารศาสนสถาน จึงมีความหมายถึงอำนาจของนาค ที่นำมาไปสู่ความสูงศักดิ์ อำนาจ ความอุดมสมบูรณ์ และแสดงการข้ามเข้าสู่เขตสรวงสวรรค์สมมุติ นั่นก็คือการเข้าไปในศาสนสถานแห่งเทพเจ้า (พระศิวะ – ตรีมูรติ) นั่นเอง

กระเบื้องเชิงชายลวดลายนาคสามเศียร

พบจากแหล่งเตาบ้านโนนสว่าง - โคกกลอย จังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17

         กระเบื้องเชิงชายแบบที่หก เป็นลวดลายของ “เทพยดา” เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะนิยมทำเป็นรูปหน้าของทวารบาลหรืออสูร รูปเทวาหรือเทวดาส่วนใหญ่จะเริ่มมานิยมในยุคหลัง โดยจะทำเป็นรูปเทพพนม ตัวอย่างที่พบที่ "ปราสาทราชวิหารแห่งวิษัยศรีชยะราชปุระ" (ในเขตวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชบุรี) เป็นชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบรูปบุคคล มีเครื่องประดับ ยกมือขึ้นประนมอยู่กลางพระอุระ อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชาย ที่เคยใช้ประดับศาสนาสถานในคติวัชรยาน ที่สิ้นสภาพไปแล้วในเขตภาคกลางของลุ่มเจ้าพระยา ทำเป็นรูปบุคคลใบหน้าแบบบายน สวมศิราภรณ์เป็นกระบังหน้า เหนือขึ้นไปมีลายใบระกา รัศมีหรือฟันปลา ด้านล่างหักหายไป ซึ่งก็น่าจะเป็นรูปประนมหัตถ์ที่กลางพระอุราแบบเดียวกับที่พบที่ราชบุรี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ศิลปะแบบช่างหลวงเมืองพระนครผสมผสานช่างท้องถิ่น

กระเบื้องเชิงชายลวดลายเทพยดาประนมหัตถ์กลางพระอุระ

พบจากการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณวัดมหาธาตุราชบุรี

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18

          จากรูปแบบของเทพยดา ทั้งสองและรูปแบบกระเบื้องแบบเดียวกัน (ส่วนใหญ่จะแตกละเอียด ยังหาแบบสมบูรณ์ไม่พบ ?) อาจเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสู่ช่างในยุคหลัง ที่เข้ามาครอบครองพื้นที่ปราสาทราชวิหารในยุคบายน แปลงไปเป็นพระธาตุในคติเถรวาท รูปบุคคลยกมือไหว้จึงถูกดัดแปลงกลายเป็นกระเบื้องเชิงชายลวดลายศิลปะรูปเทพพนมและลวดลายพรรณพฤกษา ในช่วงเวลาต่อมา

กระเบื้องเชิงชายลวดลายเทพยดา (ภาพตกแต่ง)

พิพิธภัณฑสถานชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18

         ความหมายของรูปเทวดาประนมหัตถ์วันทา อาจหมายถึงภาพของบุคคลที่หลุดพ้น บรรลุโพธิญาณขึ้นเป็นเทวดาบนสรวงสวรรค์ หรือเป็นภาพของเหล่าเทพยดา – พระโพธิสัตว์ที่กำลังถวายนมัสการแก่อาทิพุทธเจ้าในคติความเชื่อแบบวัชรยาน หรือ อาจแทนความหมายของซุ้มบัญชร วิมานที่ประทับของเหล่าเทพยดา –มานุษิโพธิสัตว์ ที่มีอยู่มากมายในสรวงสวรรค์ จักรวาลแห่งพุทธะหรือ ยันตรมณฑล (Mandala) ซึ่งก็สอดคล้องกับกระเบื้องเชิงชายรูปเทพยดาที่เรียงรายบนอาคารในศาสนาสถาน ที่ถูกสมมุติให้เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล

         ลวดลายแบบที่เจ็ด คือกระเบื้องเชิงชาย “รูปอสูร” เป็นรูปแบบที่อาจได้รับอิทธิพลผสมมาจากทั้งคติความเชื่อจากทางจีนและอินเดีย ลวดลายอสูรเป็นลักษณะของใบหน้าของบุคคล ที่มีปากหนา คิ้วหนา ตาโปนใหญ่ สวมศิราภรณ์ หรือเครื่องประดับศีรษะ ส่วนใหญ่ทำโครงร่างของกระเบื้องเป็นรูปทรงกลีบบัว หรือรูปเกือบกลม คล้ายกระเบื้องเชิงชายของจีนและกลุ่มชุมชนโบราณชายฝั่งทะเลในเวียดนาม กระเบื้องเชิงชายรูปลายนี้พบกระจายตัวอยู่ในเขต กลุ่มชุมชนโบราณใกล้แนวเทือกเขาพนมดงรัก ชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง พิมาย ไปตามเส้นทางราชมรรคาไปจนถึง “ใกล้” เขตเมืองพระนครหลวง เลยไปจนถึงเมืองพระนครกลับไม่พบกระเบื้องรูปแบบนี้

กระเบื้องเชิงชายลวดลายหน้าอสูร - ทวารบาล

ขอบนอกทำเป็นลายรัศมีหรือใบระกา

พบที่แหล่งเตาเผาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์

อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

กระเบื้องเชิงชายลวดลายหน้าอสูร - ทวารบาล

ขอบนอกทำเป็นลายรัศมีหรือลายกนกม้วน

พบที่ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16

         ความหมายของลวดลายหน้าอสูรบนกระเบื้องเชิงชายนี้ อาจมีได้ 2 นัยยะ คือ ความหมายในคัมภีร์ปุราณะ ที่อธิบายว่า มีเหล่า “อสูร – ยักษ์ – อสุรา” ผู้ยิ่งใหญ่ มีตบะแกร่งกล้า เป็นสาวก(ลูกน้อง)แห่งพระศิวะ ที่มีพลังอำนาจ ดูน่ากลัว นิยมนำมาสลักไว้ในเขตปริมณฑลศักดิ์สิทธิ์ เพื่อคอยเตือนใจให้ผู้แสวงบุญได้รู้สึกเกรงกลัว สำรวม ไม่รุ่มร่าม ไม่กล้าลบหลู่เหล่าทวยเทพ คอยปกป้องมิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามารบกวนแก่สาธุชนในศาสนสถานแห่งพระผู้เป็นเจ้า

กระเบื้องเชิงชายลวดลายหน้าอสูร - ทวารบาล

ขอบนอกทำเป็นลายรัศมีหรือลายกนกม้วน

พบที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17

         ในอีกความหมายหนึ่ง คติของการนำรูปอสูรมาประดับไว้ในอาคารศาสนสถาน อาจแทนความหมายของรูปยักษ์ “ทวารบาล” ที่คอยเฝ้าปกปักษ์ศาสนสถาน ซึ่งอาจหมายถึงรูปของ อสูรทวารบาล “นันทิเกศวร” ผู้ปกปักษ์แห่งพระศิวะ ตามคติไศวะนิกาย ก็เป็นได้ครับ

         ศิลปะลวดลาย บนกระเบื้องเชิงชายแบบที่แปด คือรูป “พระศิวะ”เป็นกระเบื้องเชิงชายทรงสามเหลี่ยมปลายโค้งมนคล้ายกลีบบัวหรือคล้ายทรงกระจังใบเทศ ลวดลายหน้าบุคคลสวมศิราภรณ์ มีสามตา อันมีความหมายถึงพระศิวะ นอกจากจะเป็นรูปของพระศิวะแล้ว ก็อาจเป็นรูปของอสูร “นนทิเกศวร”ทวารบาลผู้กำเนิดจากสีข้างพระศิวะ เป็นกระเบื้องเชิงชายที่หาได้ยากถึงยากมาก และอาจถูกผลิตตาม Order เฉพาะพื้นที่เพียงครั้งเดียว ไม่พบในแหล่งเตาฝั่งเขมรต่ำที่เลยจากกลุ่มชุมชนโบราณตามแนวเทือกเขาพนมดงรักลงไป แต่จะพบในเขตอีสานใต้ โดยเฉพาะในแหล่งเตาเขตอำเภอละหานทราย บ้านกรวด ประโคนชัย และพื้นที่ชุมชนโบราณใกล้เขาพนมดงรักในเขตจังหวัดอุดงมีชัยและบันเตยเมียนเจยของประเทศกัมพูชา ตัวอย่างของกระเบื้องรูปแบบนี้ ได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ “กู่บ้านปราสาท”(Ku Ban Prasat Pr.) จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทเก่าแก่มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปะแบบปราสาทแปรรับ ตัวของปราสาทถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อไศวะนิกาย ที่ถือให้พระศิวะเป็นยิ่งใหญ่ที่สุดบนสรวงสวรรค์ สอดคล้องกับการพบ กระเบื้องเชิงชายรูปพระศิวะ กระเบื้องหน้าทวารบาลรูปกลมแบบมีน้ำเคลือบ ? และกระเบื้องรูปกลีบบัวแห่งมูรติที่ขุดพบภายในบริเวณรอบพื้นที่ปราสาท

กระเบื้องเชิงชายลวดลายกลีบบัว พระศิวะและหน้าอสูร - ทวารบาล

พบที่ปราสาทกู่บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ทับหลังในศิลปะแบบแปรรับบนซุ้มประตูปราสาทประธาน

ปราสาทกู่บ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15

         ลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายแบบที่เก้า เป็นภาพของ “พระอมิตาภะ”ปางสมาธิ ประทับเหนือดอกบัว ในซุ้มเรือนแก้ว หรือซุ้มฟันปลา ตามคติพุทธศาสนาแบบวัชรยาน – ตันตระ รูปแบบของพระอาทิพุทธเจ้าในซุ้มอานุภาพหรือเรือนแก้วนี้ ปรากฏงานศิลปะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่นิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าในรูปแบบนี้ ใช้ประดับทับหลังกำแพงหรือทับสันหลังคา เป็นจำนวนมาก แพร่หลายไปทั่วบ้านเมืองที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิบายน

กระเบื้องเชิงชายลวดลายพระพุทธเจ้า "อมิตาภะ"

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15

ขอบนอกทำเป็นลายรัศมีอานุภาพหรือลายฟันปลา

อายุในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18

         ตัวอย่างรูปกระเบื้องเชิงชายแบบนี้ที่เคยมีการพบ เป็นรูปของพระอมิตาภะ – อาทิพุทธเจ้า ประทับนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองข้างประสานกันบนพระเพลา สวมกระบังหน้าเป็นรูปวงโค้ง มีมวยพระเกศาทรงมงกุฎรูปกรวย ที่ปลายพระกรรณทรงกุณฑลลูกตุ้มคล้ายดอกบัวตูม ประทับอยู่เหนือดอกบัวที่แยกเป็น 3 กลีบ มีความหมายว่า ทรงเป็น “พระผู้ที่กำเนิดขึ้นมาจากความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง”

         ลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายแบบที่สิบ เป็นรูป “นางอัปสรา” ไม่ค่อยปรากฏรูปแบบกระเบื้องเชิงชายลวดลายนี้ ในเขตประเทศกัมพูชาและอีสานใต้ ส่วนในประเทศไทยก็พบไม่มากนัก ที่ขุดพบอย่างเป็นระบบโบราณคดี คือ กระเบื้องเชิงชายดินเผา (ไม่เคลือบ) ที่บริเวณวัดมหาธาตุเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัยครับ

กระเบื้องเชิงชายลวดลาย "นางอัปสรา"

พบที่วัดมหาธาตุเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย

อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 19

         รูปของนางอัปสรา มือซ้ายถือบัวขาบ มือขวาถือเครื่องสูง (แส้จามร ?) สวมศิราภรณ์เป็นกระบัง ยกสูง มีรัศมี (ใบระกา – ฟันปลา) ล้อมรอบที่ดูแปลกไปจากศิลปะแบบบายน หรือสมัยหลังบายน ซึ่งก็อาจจะถูกผลิตขึ้นเป็นการเฉพาะ จากคติความเชื่อผสมระหว่าง นางอัปสรา นางฟ้า – ผู้รับใช้บนสรวงสวรรค์ตามคติฮินดูและเทพสตรีในคติของเถรวาท ในช่วงปลายอำนาจของจักรวรรดิบายนในภูมิภาคสุโขทัย ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19

          รูปนางอัปสรา ในศิลปะและความเชื่อของช่างเขมรโบราณ เป็นภาพมงคลที่จะถูกนำมาสลักประดับไว้บนผนังอาคาร หรือข้างประตูทางเข้า เพื่อสร้างการ“สมมุติ” ให้กับศาสนสถานแห่งนั้นว่าเป็น “สรวงสวรรค์” หรือ “ภูมิจักรวาล” ที่ประทับของเหล่าเทพเจ้าบนพื้นพิภพ จึงมักมีรูปนางอัปราปรากฏให้เห็นอยู่ตามปราสาททั่วไป อย่างเช่น อัปสราพันนางที่ปราสาทนครวัด ปราสาทบายน ปราสาทาบาปวน ไปจนถึงปราสาทอิฐขนาดเล็กในยุคเริ่มแรกอย่างปราสาท “ตระเปรียงรุน” (Trapreng run Pr.) (สนใจเรื่องของนางอัปสรา ก็ขอเชิญไปอ่านในEntry ก่อนหน้าครับ)

ภาพสลักนูนต่ำ รูป"นางอัปรา"บริเวณฝั่งด้านในของอาคารโคปุระชั้นนอก

ของมหาปราสาทนครวัด

อายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17

         มาถึงในยุค “ถดถอย” ทางศิลปะในช่วงหลังสมัยบายน การสร้างลวดลายบนผนังอาคารศิลาแลงที่มีการฉาบปูน อาจขาดแคลนด้วยช่างฝีมือแกะสลักและช่างปูนปั้น จึงน่ามีการย้ายรูปมงคล ตัวแทนแห่งสวรรค์อย่างรูปนางอัปสรา มาสร้างเป็นลวดลายไว้บนกระเบื้องเชิงชายประดับชายหลังคาแทนที่ ตามคติความเชื่อที่ยังสมมุติให้อาคารศาสนสถาน (เช่นวัดมหาธาตุเมืองเชลียง) เป็นสรวงสวรรค์แห่งพระพุทธองค์ (เถรวาท – วัชรยาน) อันบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์เหมือนในยุคก่อน

         รูปแบบที่สิบเอ็ดของศิลปะแห่งกระเบื้องเชิงชาย เป็นลวดลายของ“หน้ากาล” หรือ “เกียรติมุข” เป็นกระเบื้องแบบที่พบมากหรืออาจจะพบเฉพาะในเขตชุมชนโบราณ แถบอีสานใต้ มาจรดยังลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่พบในเขตเขมรต่ำ (?) หรือกลุ่มเมืองพระนคร

         ลักษณะของหน้ากาลเป็นเหมือนสัตว์ประหลาด หน้าคล้ายสิงห์แต่ไม่มีปากหรือขากรรไกรล่าง “กาล” เกิดขึ้นจากอำนาจแห่งความโกรธแห่งองค์พระศิวะ ที่ขมวดพระขนง (คิ้ว) เพราะความโกรธ ในครั้งที่อสูรราหูเข้ามาท้ารบ เมื่อไม่มีคู่ต่อสู้ “ความโกรธ” ของพระองค์ จึงได้กัดกินตัวเองแม้กระทั้งขากรรไกรจนหมดสิ้น เหลือแต่ท่อนหัวบนลอยไปมา เมื่อพระศิวะได้เห็นอานุภาพแห่ง “กาล” หรือแปลว่า “เวลา...ผู้กลืนกินทุกสรรพสิ่ง” จึงมอบหมายหน้าที่ให้คอยปกปักษ์รักษา และเตือนใจเหล่าสาธุชนที่เข้ามายังศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ “ .....ต่อไปเจ้าจะได้ชื่อว่า “เกียรติมุข” (มุมมองอันทรงเกียรติ) จงเฝ้าสถิตอยู่ที่หน้าประตูวิมานของพ่อตลอดไป ผู้ที่ไม่เคารพเจ้า.... ก็จะไม่ได้รับพรอันประเสริฐจากพ่อ”

         หน้ากาลหรือเกียรติมุขจึงเป็นรูปแห่ง “ความมงคล” ที่มีหน้าที่เฝ้าศาสนสถานและเป็น “เกียรติ” ที่คอยตักเตือนมนุษย์ให้ละเว้นจากความโกธร ช่างศิลปะโบราณจึงได้นำลวดลายของหน้ากาล มาใส่ไว้บนกระเบื้องเชิงชาย ตามความหมายดังกล่าว

กระเบื้องเชิงชายลวดลาย "หน้ากาล - เกียรติมุข"

อายุในราวกลาง - ปลายพุทธศตวรรษที่ 18

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

พบที่เมืองโบราณ "ศรีศัมพูกปัฏฏนะ" หรือ "จอมปราสาท" อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

         แต่ในยุคหลังพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่ออิทธิพลของเถรวาท เข้ามาแทนที่อิทธิพลทางความเชื่อของวัชรยานตันตระ จากรูปแบบของหน้ากาลที่มีแต่หัว ช่างในยุคต่อมาก็ได้เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นรูปของราหูอมจันทร์ ที่เป็นคติร่วมกันในเรื่องราวของเทพปกรณัมเรื่อง “พระราหูอมจันทร์” ของวรรณกรรมทางฝ่ายเถรวาท

         กระเบื้องเชิงชายรูปแบบสุดท้าย (หรืออาจจะมีมากกว่านี้ ....ในอนาคต) เป็นลวดลายของ “หน้าสิงห์” ที่มีแฝงคอโดยรอบ ซึ่งได้รับอิทธิพลผสมผสานมาทั้งจากรูปศิลปะสิงโตของอินเดีย กับความเชื่อเรื่องสิงห์ เทวะสัตว์จากวัฒนธรรมจีน

          เป็นที่น่าแปลกว่า ถึงแม้ว่าต้นทางศิลปะในวัฒนธรรมจีนลงมาถึงเวียดนามจะนิยมสร้างลวดลายหน้าสิงห์บนกระเบื้องเชิงชายมากที่สุด รวมถึงในเมืองพระนครหลวงก็เคยมีการแกะสลักรูปใบหน้าสิงห์หรือสิงห์ทั้งลำตัว บนปลายชายหลังคาหินเลียนแบบเช่นที่ปราสาทนครวัดก็ตาม แต่ลวดลายของศิลปะที่เป็นรูปหน้าสิงห์ในงานช่างกัมพุชเทศทุกสมัยนั้น กลับดูเหมือนว่าไม่ได้รับความนิยมเท่ากับกระเบื้องเชิงชายรูปกลีบบัวหรือรูปสลักหินรูปกลีบบัว ตามแบบคติความเชื่อหลักที่รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย มีความหมายอันเป็นมงคลเกี่ยวพันโดยตรงกับเทพเจ้าและสรวงสวรรค์ หรือมีกระบวนการผลิตได้ง่ายกว่ารูปของหน้าสิงห์

กระเบื้องเชิงชายลวดลาย "หน้าสิงห์"

อายุในราวกลาง - ปลายพุทธศตวรรษที่ 18

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

พบที่เมืองโบราณ "ศรีศัมพูกปัฏฏนะ" หรือ "จอมปราสาท" อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

เมื่อไม่ปรากฏชัดในเขตอีสานใต้และเขมรต่ำ ความโดดเด่นของกระเบื้องลวดลายนี้ จึงตกมาอยู่ที่กระเบื้องเชิงชายที่ขุดพบจากบริเวณเมืองโบราณ"ศรีศัมพูกปัฏฏนะ" ตรงปราสาทประธานกลางเมืองที่เรียกกันว่า “จอมปราสาท” (Jom Prasat Ruin) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นปราสาทที่ประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ที่อยู่ในสภาพที่ “เคย” ถูก “ตั้งใจ”ทำลายให้ยับเยิน นับเป็นกระเบื้องเชิงชายรูป “หน้าสิงห์” ในช่วงปลายของวัฒนธรรม – ศิลปะแบบบายน ในเขตลุ่มน้ำแม่กลอง - เจ้าพระยา ที่อาจมีความสวยงามที่สุดในศิลปะแบบเขมรเลยก็ว่าได้ครับ .....(ยกเว้นว่าจะมีคู่แข่ง หากหาเจอในอนาคต ? )

"บราลี" ดินเผา เครื่องหลังคากระเบื้องของโครงสร้างหลังคาไม้

อายุในราวกลาง - ปลายพุทธศตวรรษที่ 18

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

พบที่เมืองโบราณ "ศรีศัมพูกปัฏฏนะ" หรือ "จอมปราสาท" อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

           หน้าที่ตามคติความเชื่อของรูปสิงห์หรือสิงโตในวัฒนธรรมจีน เชื่อว่าสิงโตเป็นบุตรของมังกร มีอำนาจและพลังที่ยิ่งใหญ่ เป็นเทวะสัตว์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพียงเสียงคำรามหนึ่งก็สามารถขับไล่วิญญาณและสิ่งชั่วร้ายออกไปได้ สิงห์จึงได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้พิทักษ์แห่งสรวงสวรรค์ คอยปกปักษ์คุ้มครอง ผู้กระทำดี บ้านเรือนไปจนถึงศาสนสถาน

           เช่นเดียวกับหน้าที่ของสิงห์ในวัฒนธรรมอินเดีย ที่มีความหมายคล้ายคลึงกันในเรื่องของอำนาจและความน่าเกรงขาม รูปสลักของสิงห์จึงถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เฝ้าอยู่บริเวณบันได หน้าทางเข้าอาคารศาสนาสถาน เพื่อปกปักษ์คุ้มครองมิให้ “ความชั่วร้าย” ที่ติดอยู่ใน “ใจ” ติดตามมนุษย์เข้ามาในปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยครับ

ภาพการทดสอบประกอบเครื่องกระเบื้องหลังคาที่พบจากการขุดค้นที่แหล่งเตาตานี

ทางทิศตะวันออกของเขาพนมบก

มามุงเข้ากับโครงสร้างหลังคาเรือนเครื่องไม้จำลอง

เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันว่า

ในอดีตเคยมีเครื่องไม้หลังคาประกอบอยู่ด้านบนของอาคารศาสนสถาน

รวมไปถึงบ้านเรือน ศาลา พลับพลาไปจนถึงพระที่นั่ง ....ปราสาทราชวัง

ทุกหนแห่งที่เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรกัมพุชเทศ

           มาถึงตรงนี้ ก็คงต้องถามท่านผู้อ่านกันแล้วละครับว่า เป็นอย่างไรกันบ้าง กับเรื่องราวมากมายของ “เครื่องไม้“ทั้งที่เป็น “โครงสร้างหลังคาประกอบปราสาทหิน เครื่องไม้ที่เป็นโครงสร้างของหลังคาปราสาท เรือนเครื่องไม้ ตลอดจนไปถึงเรื่องราวของกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา และศิลปะลวดลายอันงดงามของกระเบื้องเชิงชาย ที่ในปัจจุบันคือ “สิ่งที่สูญหาย” ไปเกือบทั้งหมดแล้ว

           จริง ๆ ก็ตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้ให้สั้น ให้ง่าย ไม่ยืดยาวขนาดนี้ แต่ไม่รู้ยังไง ยิ่งเขียน ยิ่งขยายความ ยิ่งมากเรื่อง มากประเด็น คงเพราะในระหว่างการเรียบเรียงและเขียน เมื่อผมต้องยกตัวอย่างหรือ “ประเด็น” มันไปเกี่ยวพัน ก็มักอยากที่จะไปขยายเรื่อง เติมน้ำเข้าไปในเนื้อเรื่องแต่ละจุดให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งเนื้อหาและรูปภาพ

          ก็อยากให้ท่านผู้อ่าน ที่ตั้งใจอ่านและสนุกสนานไปกับเรื่องราวในอดีตของ“เครื่องไม้” โบราณในวัฒนธรรมเขมร ได้มีมุมมองแบบกว้างไกลลิบโลก จากข้อมูลของร่องรอยหลักฐานและ “เหตุผล” ที่เพียงพอต่อการสร้าง “จินตนาการ”ยามเมื่อท่านได้ออกไปสัมผัสกับซากของ “สิ่งที่คงเหลือ” อยู่จริง

          จากข้อมูล การชี้นำแบบอนุมานอย่างมีเหตุผลของเรื่อง ผมเชื่อว่าในวันนี้ หากเมื่ออ่านจบ ท่านจะสร้าง “จินตนาการ” และ “องค์ความรู้” ได้มากขึ้นกว่าเดิม

          จากที่เพียงเคยเดินผ่าน สนุกสนานไปกับการถ่ายรูปและการฟังบรรยายเรื่องราวความเป็นมาทางศิลปะจากมัคคุเทศก์ จนอาจไม่เคยมองเห็นว่า ....อะไรที่หายไปและว่างเปล่าอยู่ตรงนั้น

ขอขอบคุณ: http://www.oknation.net/blog/voranai/2011/12/19/entry-2

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์