เทวาลัยพิมานอากาศจำลอง

ปราสาทพิมานอากาศ เป็นศิลปะแบบคลัง ฮินดู ไศวนิกาย สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๕ รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ปลาย ๑๗)

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริต ๖

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ           ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย...

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเห็นสิ่งต่างๆในสมาธิ : สมเด็จพระพุฒาจารย์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ยอดพระนักปฎิบัติธรรมชั้นสูงของประเทศไทย ได้ให้แนวทางอันเป็นหัวใจ แห่งการทำสมาธิ ไว้ในหนังสือประชุมโอวาสฯ ตอนหนึ่งว่า ข้อสำคัญมีอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นหัวใจแก่การทำสมาธิ สิ่งนั้นประเภทแรกคือศีลที่จะต้องปฏิบัติ" เมื่อรักษาศีลให้ครบไม่ด่างพร้อยแล้ว การกระทำสมาธิย่อมสำเร็จได้โดยเร็ว ศีลที่จะให้ปฏิบัติในขั้นแรกก็มีเพียง ๕ ประการเท่านั้น รักษาศีลทั้ง ๕ นี้ให้บริสุทธิ์คงอยู่เสมอไปแล้ว การทำสมาธิ ก็ไม่เป็นเรื่องยากเย็นอะไร ข้อสำคัญพึงจำไว้ว่า การที่จะรักษาศีลนั้น จะมีวิธีการทำการละเว้นไม่ปฏิบัติในทางที่ผิดศีล และประพฤติปฏิบัติที่จะรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการ ประการที่ ๑ เรียกว่า...

ตรวจศีล (ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย)

ตรวจศีลข้อ1 ศีลข้อ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาดจากโทสะ เจตนารมณ์ศีลข้อ 1 เพื่อล้างโทสะ ละเบียดเบียน ศีลขาด คือ เจตนาทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง และแสดงออกซึ่งอาการโทสะทางกาย เช่น เตะหมา ตีแมว ต่อยคน ประทุษร้ายใครด้วยความโกรธ ฯลฯ (อริยกันตศีลเป็นศีลละเอียดกว่าศีลสามัญญตา) ศีลทะลุ คือ เจตนากล่าววาจาด้วยโทสะ หรือโกรธ เช่น สั่งฆ่า สั่งทำร้าย หรือพูดกระแทกแดกดัน ยั่วกันด้วยโทสะ ด้วยความไม่ชอบใจ หมั่นไส้ และวาจาใดอันอดมิได้ต่อโทสะภายใน ศีลด่าง คือ มีใจโกรธ อึดอัด ขัดเคือง อาฆาต พยาบาท ถือสาชิงชัง รังเกียจ ไม่ชอบใจหรือปรุงใจเป็นไปด้วยโทสะ (ยังครุ่นคิดแค้น คิดทำร้าย คิดทำไม่ดีไม่งามกับผู้อื่นอยู่)...

บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากพุทธภาษิตนี้ พระพุฒโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย ได้นำมาเขียน สรุปไว้ในผลงานของท่านว่า ขึ้นชื่อว่าผลกรรมแล้วไม่มีใคร สามารถห้ามได้  นั้นก็ หมายความว่า คนเราเมื่อทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ถึงคราวที่ความดีความชั่ว จะให้ผลนั้นย่อม ไม่มีใครห้ามได้ แม้พระพุทธเจ้า ของเราเองก็ทรงห้ามไม่ได้" ความจริงข้อนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 32 (ขุททกนิกาย อปทาน) ซึ่งในพระไตร ปิฏกเล่มนี้ มีกล่าวไว้ว่า ...พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่มาให้ผลแก่พระองค์กรรม เก่าที่ตรัสเล่านั้นเป็นกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติ เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แล้วมาให้ผลใน ชาติปัจจุบันถึงแม้ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังไม่พ้นไป จากผลของ...

Page 1 of 1012345Next

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์