เทวาลัยพิมานอากาศจำลอง

ปราสาทพิมานอากาศ เป็นศิลปะแบบคลัง ฮินดู ไศวนิกาย สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๕ รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ปลาย ๑๗)

องค์พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี

พระนางเกิดขึ้นได้จากการที่องค์เทพสามตา ได้เสกด้วยอาคมอันเชิญจิตเทพนาคราชทั้ง ๙ มากำเนิดเป็นนางนาคชื่อ โสมา

พระนามองค์นาคราช และรายละเอียดเฉพาะองค์

ลักษณะเด่นประจำองค์ ฐานันดรศักดิ์ สถานที่ประทับ ฉลองพระองค์ และผู้เกี่ยวข้อง

กว่าจะเป็นเทวาลัย

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในทีมงาน ผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์พญานาคราชในอดีตชาติตามญานนิมิต และตามประสบการณ์ตรงที่ได้รับของแต่ละบุคคล

เลือดนาคราช

เลือดนาคราช จากการที่ปู่เปิดญาณนาคราชทั้ง 9 ในวันที่ 25/06/55 และปู่ได้ทำน้ำมนต์นี้ขึ้น และปรากฎว่ามีเกร็ดเลือดจากนาคราช ทั้ง 9 ให้ได้เห็นกัน

เทวาลัยพิมานอากาศ ในปัจจุบัน

ปฏิปทา ศรัทธา ของ ทีมงานทุกคน ในการร่วมสร้างเทวาลัยพิมานอากาศ และเพื่อสืบสานศรัทธาในองค์นาคราช ศูนย์รวมนาคราชองค์ที่มีเชื่อสายขอมจะมาสักการะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จริต ๖

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ
จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ
          ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ
กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด
ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมีระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด
          ๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร
หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโสใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
          ๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า
อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือกมีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
          ๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย
ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
          ๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ  เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา
          ๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี
การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง
         

อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖
ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมีที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละมีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

          นักปฏิบัติเพื่อฌานโลกีย์ หรือเพื่อมรรคผลนิพพานก็ตาม ควรรู้อาการของจริตที่จิต
ของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติเพื่อการละด้วยการ
เจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของ
อารมณ์  ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณอารมณ์จิต
เกิดฟุ้งซ่าน ไปปรารถนาความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ผูกพันในทรัพย์สมบัติบ้าง วิตกกังวลถึง
เหตุการณ์ต่างๆ บ้าง เกิดอารมณ์สัทธาหวังในการสงเคราะห์ หรือมุ่งบำเพ็ญธรรมบ้าง เกิด
อารมณ์แจ่มใส น้อมไปในความเฉลียวฉลาดบ้าง เมื่อรู้ในอารมณ์อย่างนี้ ก็จะได้น้อมนำเอา
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือ 
หักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อผลให้ได้ญาณสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมที่
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีรวมทั้งหมด
๔๐ อย่างด้วยกัน ท่านแยกไว้เป็นหมวดเป็นกองดังนี้
          อสุภกรรมฐาน ๑๐ อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ กสิณ ๑๐ อาหาเรฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑


พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ รวมเป็น ๔๐ กองพอดี

แบ่งกรรมฐาน ๔๐ ให้เหมาะแก่จริต
           เพราะอาศัยที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมี มีมาเพื่อเป็นศาสดาทรงสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์เพื่อให้บรรลุมรรคผล ด้วยหวังจะให้พ้นจากทุกข์อันเกิดจากการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏความเป็นสัพพัญญูของสมเด็จผู้ทรงสวัสดิ์ พระองค์ทรงทราบถึงความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ด้วยตรัสเป็นพระพุทธฎีกาไว้ว่า เมื่อใดอารมณ์
จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใดก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป ฉะนั้น ขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงสนใจเรียนรู้กรรมฐาน ๔๐ กอง และจริต ๖
ประการ  ตลอดจนกรรมฐานที่ท่านทรงจัดสรรไว้เพื่อความเหมาะสมแก่จริตนั้นๆ ท่องให้ขึ้นใจไว้และอ่านวิธีปฏิบัติให้เข้าใจ เพื่อสะดวก เมื่อเห็นว่าอารมณ์เช่นใดปรากฏ จะได้จัดสรรกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดว่าเหมาะสมมาหักล้างอารมณ์นั้นๆ ให้สงบระงับ ถ้านักปฏิบัติทุกท่านปฏิบัติ
ตามพระพุทธฎีกาตามนี้ได้ ท่านจะเห็นว่า การเจริญสมถะเพื่อทรงฌานก็ดี การพิจารณาวิปัสสนาญาณเพื่อมรรคผลนิพพานก็ดี ไม่มีอะไรหนักเกินไปเลย ตามที่ท่านคิดว่าหนักหรืออาจเป็นเหตุสุดวิสัยนั้นถ้าท่านปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านจะเห็นว่าไม่หนักเกินวิสัยของคนเอาจริงเลย
กับจะคิดว่าเบาเกินไปสำหรับท่านผู้มีความเพียรกล้าเสียอีก กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ท่านจำแนกแยกเป็นหมวดไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตนั้นๆ  มีดังนี้  คือ

๑. ราคจริต

          ราคจริตนี้ ท่านจัดกรรมฐานที่เหมาะสมไว้ ๑๑ อย่างคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กับกายคตานุสสติกรรมฐาน อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ อย่างในเมื่ออารมณ์รักสวยรักงามปรากฏขึ้นแก่อารมณ์จิตจงนำกรรมฐานนี้มาพิจารณา โดยนำมาพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งจากกรรมฐาน ๑๑ อย่างนี้ ตามแต่ท่านจะชอบใจ  จิตใจท่านก็จะคลายความกำหนัดยินดีในกามารมณ์ลงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นอะไรเลย ถ้าจิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์  เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุทั้งหลายที่เคยนิยมชมชอบว่าสวยสดงดงาม กลายเป็นของ น่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนเห็นว่าจิตใจไม่มั่วสุมสังคมกับความงามแล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเราโดย  เอาอสุภกรรมฐานหรือกายคตานุสสติกรรมฐานเป็นหลักชัยทำอย่างนี้ไม่นานเท่าใดก็จะเข้าถึงมรรคผล
นิพพาน การทำถูกไม่เสียเวลานานอย่างนี้

๒. โทสจริต

          คนมักโกรธ  หรือขณะนั้นเกิดมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้นขวางอารมณ์ไม่สะดวกแก่
การเจริญฌาน ท่านให้เอากรรมฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และ วัณณกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔ ได้แก่  นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง  ปีตกสิณ  เพ่งสีเหลือง  โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว   กรรมฐานทั้งแปดอย่างนี้  เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ ท่านจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสมแก่ท่าน คือตามแต่ท่านจะพอใจเอามาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะก็จะค่อยๆ คลายตัว
ระงับไป

๓. โมหะ และ วิตกจริต

          อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลงและครุ่นคิดตัดสินใจอะไรไม่เด็ดขาด ท่านให้เจริญอานาปานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว  อารมณ์ความลุ่มหลงและความคิดฟุ้งซ่านจะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต

          ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติ หรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่าง  คือ  อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้ (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน (๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน  (๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน  (๔) สีลานุสสติกรรมฐาน  (๕) จาคา- นุสสติกรรมฐาน  (๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน  อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้  จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส

๕. พุทธิจริต

          คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์  และมีปฎิภาณไหวพริบดี  ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๔
อย่าง ดังต่อไปนี้ (๑) มรณานุสสติกรรมฐาน (๒) อุปสมานุสสติกรรมฐาน (๓) อาหาเรปฏิกูลสัญญา  (๔) จตุธาตุววัฏฐาน  รวม ๔ อย่างด้วยกัน 


          กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง ๖ ท่านจัดเป็นหมวดไว้ ๕ หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้นๆ รวม ๓๐ อย่าง หรือในที่บางแห่งท่านเรียกว่า ๓๐ กอง กรรมฐาน ทั้งหมดด้วยกันมี ๔๐ กอง ที่เหลืออีก ๑๐ กอง คือ อรูป ๔ ภูตกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณ  เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ  ๔ อย่างนี้เรียกภูตกสิณ  อาโลกสิณ  ๑  และอากาศกสิณอีก ๑  รวมเป็น ๑๐ พอดี  กรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้  ท่านตรัสไว้เป็นกรรมฐานกลางเหมาะแก่จริตทุกอย่าง  รวมความว่าใครต้องการเจริญก็ได้เหมาะสมแก่คนทุกคน  แต่สำหรับอรูปนั้นถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ฌาน  ๔  เสียก่อน  แล้วจึงเจริญในอรูปได้  มิฉะนั้นถ้าเจริอรูปเลยทีเดียวจะไม่มีอะไรเป็นผล เพราะอรูปละเอียดเกินไปสำหรับนักฝึกสมาธิใหม่

ขอขอบคุณ : http://www.palungjit.com/smati/k40/jarit6.htm

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเห็นสิ่งต่างๆในสมาธิ : สมเด็จพระพุฒาจารย์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) ยอดพระนักปฎิบัติธรรมชั้นสูงของประเทศไทย ได้ให้แนวทางอันเป็นหัวใจ แห่งการทำสมาธิ ไว้ในหนังสือประชุมโอวาสฯ ตอนหนึ่งว่า

ข้อสำคัญมีอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นหัวใจแก่การทำสมาธิ สิ่งนั้นประเภทแรกคือศีลที่จะ
ต้องปฏิบัติ" เมื่อรักษาศีลให้ครบไม่ด่างพร้อยแล้ว การกระทำสมาธิย่อมสำเร็จได้โดยเร็ว

ศีลที่จะให้ปฏิบัติในขั้นแรกก็มีเพียง ๕ ประการเท่านั้น รักษาศีลทั้ง ๕ นี้ให้บริสุทธิ์คงอยู่เสมอ
ไปแล้ว การทำสมาธิ ก็ไม่เป็นเรื่องยากเย็นอะไร ข้อสำคัญพึงจำไว้ว่า การที่จะรักษาศีลนั้น จะมีวิธีการทำการละเว้นไม่ปฏิบัติในทางที่ผิดศีล และประพฤติปฏิบัติที่จะรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการ

ประการที่ ๑ เรียกว่า เจตนาวิรัช ได้แก่ตั้งเจตนาที่จะละเว้นการกระทำอันเป็นการผิดศีลของตัวเอง โดยไม่ต้องไปกล่าวคำให้ผู้อื่นฟัง
คือหมายความว่าโดยไม่ต้องมีการสมาทานศีลนั้น ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ภายในอย่างมั่นคง ว่าจะรักษาศีลทั้ง ๕นี้ไว้ให้บริสุทธิ์

ประการที่ ๒ เรียกว่า สมาทานวิรัช หมายความว่าการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยวิธีที่กล่าวคำขอศีลจากพระภิกษุ เป็นต้น การขอศีลจากพระภิกษุนั้น

เมื่อ ได้รับศีลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุจะอนุโมทนาศีลและให้พร จงรับทั้งศีลและพรนั้น มิใช่ตั้งใจรับแต่พรแต่ศีลนั้นปล่อยไปหาประโยชน์อันมิได้
เมื่อสมาทานศีลนั้นแล้วก็พึงประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวปฏิญาณว่าจะรักษาศีลนั้นให้บริสุทธิ์

ประการที่ ๓ เรียกว่า สมุทเฉทวิรัช คือการละเว้นโดยสิ้นเชิง มิให้มีสิ่งใดเหลืออยู่อีก เป็นการกระทำขั้นสูงสุด พยายามที่จะกระทำจิตและกาย วาจาให้บริสุทธิ์อย่างสูง
คือ เป็นสิ่งที่รักษากาย วาจาให้เป็นปกติอยู่ เมื่อกาย วาจาอันเป็นปกติแล้ว จิตย่อมเข้าสู่ความสงบอันเป็นปกติด้วย กิเลสพอกพูนอยู่ในดวงจิตก็ดี

อาสวะคือเครื่องดองอันดวงจิตด้ตกลงไปหมักอยู่ก็ดี ย่อมจะลดน้อยถอยลง และเสื่อมสูญไป ทำให้ดวงจิตผ่องใสปราศจากธุลีเศร้าหมอง เป็นจิตที่มีความรุ่งโรจน์ เป็นจิตที่เจริญด้วยการอบรมเนืองๆจากศีลนั้น

การประพฤติปฏิบัติ ด้วยการตั้งจิตเจตนาที่จะละเว้นการปฏิบัติในการผิดศีลทั้ง ๓ ประการที่กล่าวนี้

หากเกิดแก่ผู้ใดนั้นย่อมจะได้สมความมุ่งมาดปรารถนา ดังที่มีคำอนุโมทนาและอวยพร

อิมินา ปัจสิกขาปทานิ สีเลน สุคติง ยันติ สีเลน โภคสัมปทา สีเลน นพพุติ ยันติ ตัสมา สีบัง วิโสธเย

เมื่อจะแปลเป็นข้อความโดยย่อแล้วก็ย่อมจะกล่าวได้ว่า อันศีลทั้งหลายที่ได้ยึดถือและรักษาไว้นี้ ศีลย่อมจะรักษาผู้มีศีลให้มีความสุข ศีลย่อมจะอำนวยผู้มีศีลให้ประสบซึ่งความมั่งคั่งสมบูรณ์

ศีลนำจิตเข้าสู่ที่อันสงบคือพระนิพพานได้ดังนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ทำตนให้เป็นผู้มีศีลไว้ดังนี้
เป็นต้น ศีลย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการที่จะทำจิตให้เกิดสมาธิ

ด้วย เหตุนี้ผู้ที่จะตั้งใจกระทำสมาธิจิต นอกจากจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องประกอบไปด้วยพรหมวิหาร๔ มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ควร จะต้องแผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ ญาติมิตร อริศัตรู บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพชนต้นตระกูล ครูบาอาจารย์
ท่าน ผู้มีอุปการคุณ อารักขาเทวดา และทวยเทพเทวา พรหมมา เป็นต้น และอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นต้น


การเห็นในสมาธิ หลังจากที่บำเพ็ญจิตให้บังเกิดสมาธิอันแน่วแน่แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้ประทานข้อแนะนำไว้ว่า....

การเห็นในสมาธิมี ๓ อย่าง

๑.การเห็นในสมาธิที่ตั้งใจหมายไว้อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากความปารถนาของจิตเอง อันนี้ไม่ถือว่าเป็นสมาธิ หากเป็น อุปทาน ต้องลบภาพที่เห็นเช่นนี้

๒.การเห็นอย่างที่๒ เป็นการเห็นเพื่อขอส่วนบุญ หรือชักนำไปสู่ ความกำหนัด เกิดกามราคะ เพราะเหตุแห่งมารนำจิตไป
หรือ มิฉะนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายที่มีความทุกข์ต้องการมาติดต่อขอส่วนบุญ เพื่อบรรเทาความทุกข์เดือดร้อนอดอยาก การเห็นเช่นนี้เห็นโดยจิตมิได้ปารถนา มิ ได้ตั้งปณิธานหรืออุปทานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เมื่อเกิดภาพนี้ขึ้นให้แผ่ส่วนบุญส่วนกุศลแก่เขาไป อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

๓.การเห็นในสมาธิอย่างที่ ๓ นั้น เป็นการเห็นโดยนิมิตอันประเสริฐ เช่น เห็นพุทธนิมิต เทพนิมิต พรหมนิมิตทั้งหลาย เป็นต้น
การเห็นแสงสว่างทั้งปวงก็ดี การเห็นเช่นนี้เป็นเครื่องบอกว่า ได้เดินเข้าไปในทางที่จะสามารถติดต่อกับทิพย์วิญญาณทั้งหลายได้

พึงพิจารณาแยกให้ออกว่าอันไหนเป็นนิมิต อันไหนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญ อันไหนเป็นอุปทานที่เกิดจากความปารถนาของดวงจิต

จง มีสติตั้งมั่นคุ้มครองดวงจิตโดยที่ไม่ต้องคิดหรือหวังจะให้เกิดนิมิต อันเป็นที่พึงปารถนาในทางที่จะชักนำดวงจิตเข้าไปสู่ทางอกุศลได้ต่อไป

ขอขอบคุณ: http://board.palungjit.com/f132/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-333686.html

ตรวจศีล (ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย)

ตรวจศีลข้อ1

ศีลข้อ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาดจากโทสะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 1 เพื่อล้างโทสะ ละเบียดเบียน

ศีลขาด
คือ เจตนาทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง และแสดงออกซึ่งอาการโทสะทางกาย เช่น เตะหมา ตีแมว ต่อยคน ประทุษร้ายใครด้วยความโกรธ ฯลฯ (อริยกันตศีลเป็นศีลละเอียดกว่าศีลสามัญญตา)

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาด้วยโทสะ หรือโกรธ เช่น สั่งฆ่า สั่งทำร้าย หรือพูดกระแทกแดกดัน ยั่วกันด้วยโทสะ ด้วยความไม่ชอบใจ หมั่นไส้ และวาจาใดอันอดมิได้ต่อโทสะภายใน

ศีลด่าง
คือ มีใจโกรธ อึดอัด ขัดเคือง อาฆาต พยาบาท ถือสาชิงชัง รังเกียจ ไม่ชอบใจหรือปรุงใจเป็นไปด้วยโทสะ (ยังครุ่นคิดแค้น คิดทำร้าย คิดทำไม่ดีไม่งามกับผู้อื่นอยู่)

ศีลพร้อย
คือ มีใจเบื่อ ซึม เซ็ง ซังกะตาย ถดถอย ท้อแท้ ไม่ยินดี โลกนี้เป็นสีเทา (อรติ)

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโทสะละเบียดเบียนนี้ ซึ่งจะรู้ชัดได้ดี เมื่อมีเมตตาสมาทานอย่างต่อเนื่อง



ตรวจศีลข้อ2

ศีลข้อ 2 อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากโลภะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 2 เพื่อลดโลภะ ละตระหนี่ แม้ตน

ศีลขาด
คือ เจตนาขโมย โกง ปล้นจี้ ตีชิง ฉกฉวย แม้ที่สุดหยิบของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา เลียบเคียง ลวงเล็ม หลอกล่อ หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมโลภ

ศีลด่าง
คือ มีใจเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ คิดอยากใคร่ของคนอื่น หรืออาศัยนิมิตสมมุติ เพื่อให้ได้มาเพื่อให้ได้อยู่โดยไม่สมคุณค่าฐานะแห่งนิมิตสมมุติ (รูปแบบ, ตำแหน่งแต่งตั้ง) นั้นๆ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีทรัพย์สินของโลก ของคนอื่น หรือมอบตนอยู่บนทางแห่งการได้มาสมโลภ

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่หลงใหลยินดีทรัพย์สินของโลก และสิ้นความผลักใส ชิงชังทั้งไร้ตระหนี่ตน เป็นคนขวนขวายใฝ่สร้างสรร ขยันชนิดทำงานฟรี ไม่มีเรียกร้องสนองตอบ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโลภะละตระหนี่นี้ +++ (ฆราวาสครองเรือนจะพ้นศีลพร้อยได้ยากมาก แต่สามารถตรวจจับดับความยินดีในการได้มาได้...เมื่อต้องอยู่กับทรัพย์สินก็ ควรอยู่เหนือทรัพย์สิน)




ตรวจศีลข้อ3

ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

ศีลขาด
คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศ หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัสกับผู้มิใช่คู่ครองของตน แม้ในคนที่ไม่ได้แต่งงานกัน (การบริโภคกามตามสถานค้าประเวณีจัดเป็นความผิดขั้นนี้)

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อผูกพัน หรือบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน ทั้งที่ผู้นั้นมิใช่คู่ครองของตน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ หรือมีอารมณ์แปรปรวนป่วนฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหล อยู่ในใจกับใครอื่นซึ่งไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดต้องจบจิตคิดใคร่)

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่กับผู้อื่น หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึงจากเพศตรงข้ามที่ไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดจบสนิทจิตยินดีในกาม)

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้ (ต้องศีล 8 จึงมีสิทธิเป็นไท)



ตรวจศีลข้อ4

ศีลข้อ 4 มุสาวาท เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความเท็จ ความไม่แท้
เจตนารมณ์ศีลข้อ 4 เพื่อลดมุสา พัฒนาสัจจวาจา

ศีลขาด
คือ เจตนากล่าวคำเท็จ โกหก หลอกลวง บิดเบือนไปจากความจริง หรือสัจจะ

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา ระบายโทสะ บำเรอโลภะ บำรุงราคะ เป็นคำหยาบ

ศีลด่าง
คือ มีวาจาส่อไปในทางเสียด เสียดสีเชิงโทสะบ้าง เสียดสีเชิงโลภะบ้าง เสียดสีเชิงราคะบ้าง เสียดสีเชิงมานะทิฏฐิบ้าง เสียดสีเชิงมานะอัตตาบ้าง แม้จางบางเบา หรือพูดกบคนโน้นทีคนนี้ที เพื่อให้เกิดวิวาทบาดหมาง แยกก๊ก แบ่งเหล่า ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาส่อเสียด

ศีลพร้อย
คือ มีวาจาเรื่อยเปื่อยเฉื่อยฉ่ำไป เพ้อไป พล่อยไป พล่ามไป จะโดยแรงเร้าจากโทสะที่จากบางเบา โลภะที่จางบางเบา ราคะที่จางบางเบา หรือมานะทิฏฐิที่จางบางเบา มานะอัตตาที่จางบางเบา ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาเพ้อเจ้อ

เป็นไทโดยศีล
ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี มีวาจาประชาสัมพันธ์ เป็นไปโดยสามารถของตนไร้อิทธิพลจากโทสะ โลภะ ราคะ มานะทิฏฐิ มานะอัตตามาครอบงำ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องราว ลดมิจฉาสู่สัมมา หรือลดมุสา (วาจาอันเป็นเท็จจากสัจจะ) พัฒนาสัจจวาจา




ตรวจศีลข้อ5

ศีลข้อ 5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากเสพติด ชีวิตมืดบอด
เจตนารมณ์ศีลข้อ 5 เพื่อลดโมหะ ละประมาท เพิ่มธาตุรู้หรือสติ

ศีลขาด
คือ เจตนาเสพสิ่งเสพติดมัวเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน สังสรรกับคนชั่ว ปล่อยตัวเกียจคร้านอย่างตั้งใจ

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่อบายมุขหรือโน้มน้าวอบายมุขมาสู่ตน คนอื่น และกล่าววาจาพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งอบายมุข (ทั้ง6)

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในอบายมุข ปรุงใจถวิลไปในอบายมุข หรือเรื่องราวคราวก่อนตอนเสพอบายมุขลามไหลอยู่ในใจ เก็บสัญญาเก่าก่อนตอนเสพอบายมุขมาย้อนเสพ

ศีลพร้อย
คือ ยังมีใจยินดีในอบายมุข เห็นคนเสพอบายมุขยังยินดี มีใจริษยา มิได้เกิดปัญญา เห็นภัยในอบายมุขและการเสพอบายมุข

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นอารมณ์ชิงชังในอบายมุข หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายมัวเมามือบอดนี้



ตรวจศีลข้อ3 (สำหรับศีล8)

ศีลข้อ 3 อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

ศีลขาด
คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่น หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัส แม้ที่สุดกับตนเองทางกาย หรือข่มเหงตนเองโดยกามราคะขับดัน

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อการผูกพัน หรือพูดบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ มีอารมณ์อันแปรปรวนป่วนปั่น ฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหลอยู่ในใจ หรือกามสัญญาเก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่ หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึง จากเพศตรงข้าม เพศเดียวกัน แม้ที่สุดตนเอง

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้



ตรวจศีลข้อ6

ศีลข้อ 6 วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากการบริโภคอันไม่ควรกาล
เจตนารมณ์ศีลข้อ 6 เพื่อลดหลงติดในอาหาร และรู้ประมาณการบริโภค

ศีลขาด
คือ เจตนาบริโภคเกินหนึ่งมื้อด้วยความหลงติด สำหรับผู้ยังไม่เข้มแข็งสมาทานสองมื้อก็เจตนาบริโภคเกินสองมื้อ หรืออดมิได้ต่อความยั่วยวนชวนชิมของอาหาร

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา เรียกร้อง เลียบเคียง หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมตัณหาในอาหารอันตนชอบรับประทาน และพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งอันตนชอบรับประทาน

ศีลด่าง
คือ มีใจคิดคำนึงหาอาหารอันตนชอบรับประทาน หรืออยากในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารอันยวนใจ และดึงสัญญาในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารจากกาลก่อนย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ ยังมีใจยินดีในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหาร ยามได้เห็น หรือได้มาสมอุปาทานยังปลาบปลื้มประโลมลิ้นยินดีพึงใจอยู่

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้กำหนัดยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังใน รส หรือ ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือ ขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องอาหารการบริโภคนี้



ตรวจศีลข้อ7

ศีลข้อ 7 นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิลเปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากส่วยเสริมกามราคะ
เจตนารมณ์ศีลข้อ 7 เพื่อลดส่วยเสริมกามราคะ ละกำหนัดในกาย ธุลีเริงทั้งหลายและความเป็นเด็ก

ศีลขาด
คือ เจตนา เต้น ร่ายระบำ รำฟ้อน หรือทำท่าทางยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (นัจจะ) ขับร้อง เอื้อนเอ่ยบรรเลงเพลงยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (คีตะ) ประโคมดนตรี เครื่องเสียง เครื่องเคาะ เครื่องสายต่างๆ ยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วาทิตะ) หาอ่าน หาดู หารู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจเร้าให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วิสูกะทัสสะนา) และเจตนาประดับตบแต่งด้วย ดอกไม้ พวงดอกไม้ (มาลา) กลิ่นหอมเครื่องหอมเครื่องสำอาง (คันธะ) หรือลูบไล้พอกทาแต้มเติม (วิเลปะนะ) หรือสวมใส่ทรงไว้ทรงจำ (ธาระณะ) หรือแต่งเสริมเติมแต้มด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ (มัณฑะนะ) ด้วยการประดับแต่งเสริมเติมแต้มที่ไม่สมควรไม่ใช่ฐานะอันควร (วิภูสะนัฏฐานา) ทั้งหมดจะเจตนายั่วคนอื่น หรือบำเรอตนก็จัดอยู่ในข้อศีลขาด

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การขับร้อง ประโคมดนตรีอันเป็นมหรสพ หรือเป็นข้าศึกแก่กุศล หรือชวนอ่าน ชวนดู รับรู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจ และโน้มน้าวกล่าวชวนแต่งเติมเสริมประดับด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องสำอางทั้งเครื่องประดับต่างๆ ที่ไม่สมควร ไม่สอดรับกับฐานะ หรือพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งดังกล่าว

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในส่วยเสริมกามราคะ ปรุงใจถวิลไปในบันเทิงเริงรมย์ เชิงร่ำร้อง ประโคมดนตรี หรือสิ่งดู รับรู้อันเป็นข้าศึกแก่ใจ ทั้งเครื่องลูบไล้ ดอกไม้ของหอม เครื่องสำอางต่าง ๆ หรือประสบการณ์เก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือยังมีใจยินดีในส่วยเสริมกามราคะ เห็นผู้อื่นเสพส่วยเสริมกามราคะ ยังยินดีบ้าง มีใจริษยาบ้าง มิได้เกิดปัญญาเห็นโทษภัยในส่วยเสริมกามราคะ และการเสพสิ่งดังกล่าว

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังในการร้องรำ ประโคมดนตรี และการปรับปรุงระดับต่างๆ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องส่วยเสริมกามราคะ หรือการบันเทิงเริงประดับนี้ (การทำท่าทางเพื่อให้ละหน่ายคลายจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นมงคลอันอุดมไม่ใช่มหรสพ)




ตรวจศีลข้อ8

ศีลข้อ 8 อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความมักใหญ่
เจตนารมณ์ศีลข้อ 8 เพื่อลดมานะ ละอัตตา (โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา)

ศีลขาด
คือ เจตนาเสพที่นอน ที่นั่ง บัลลังก์ ที่อยู่อาศัยใหญ่โตเขื่องหรู หรืออยู่และนั่งในยศตำแหน่งแห่งงาน การดำรงชีพอันเขื่องโข เพื่ออวดใหญ่อวดโต โดยเกิดจากใจอุจาด

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจาชักชวนโน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การนั่ง การนอน การอยู่อันเขื่องหรู ใหญ่โต โดยใจมักใหญ่ หรือกล่าววาจายกตนข่มคนอื่น สำแดงความเป็นใหญ่ โอ่ประโลมอัตตายิ่ง ๆ ขึ้นไป พร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งที่นั่งที่นอนที่อยู่อันหรูหราใหญ่โต และวาจาใดอันอดมิได้ต่อความมักใหญ่ภายใน

ศีลด่าง
คือ มีใจทะยานอยากในความใหญ่ ปรุงใจถวิลไปในที่นั่ง ที่นอน ที่อยู่ ยศตำแหน่งแห่งปรารถนาอันใหญ่ (มโนมยอัตตา) และเรื่องราวคราวใหญ่ในกาลก่อน นึกย้อนมาเสพ

ศีลพร้อย
คือ มีใจยินดีในความเป็นใหญ่ อยู่ใหญ่ของตน คนอื่น แม้เห็นคนอื่นเสพ หรือเป็นอยู่เป็นไปในความใหญ่ ทั้งนั่งใหญ่ นอนใหญ่ หรือยศตำแหน่งแห่งที่เขื่องหรู ยังมีใจยินดีที่ตนเป็นใหญ่ มีใจริษยาเมื่อคนอื่นใหญ่ มิได้เกิดปัญญารู้แก่นรู้กาก ของการเป็นอยู่เป็นไปในชีวิตที่พอเหมาะพอควร พอดีสมฐานะ รวมไปถึงอรูปอัตตาที่ยึดเป็นตะกอนนอนนิ่งในจิตทั้งปวง

เป็นไทโดยศีล
คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี แม้พัฒนาตนได้ดียิ่งขึ้น เก่งยิ่ง เป็นเลิศยิ่ง ก็ไม่มีความหลงใหลในการเป็นอยู่ เป็นไป ในที่นั่ง ที่นอน ยศตำแหน่งแห่งการงาน การดำรงชีวิตหรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายอัตตามานะนี้

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผลกรรมจากการผิดศีล 5 อย่างละเอียด


ผิดศีลข้อ 1 ( ฆ่าสัตว์,เบียดเบียนทำร้ายสัตว์,กักขังทรมาณสัตว์) ผลกรรมคือ
1. มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2. มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3. อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4. กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาณ ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมาณสัตว์ไว้
6. อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่างๆก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่นไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจะขายให้คนไปทำกิน ให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ ซื้อยาสมุนไพร ยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและ ของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาล บริจาคเลือดและร่างกายให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่างๆ และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อที่ 2 (ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์) ผลกรรมคือ


1. ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2. มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3. ทรัพย์หายบ่อยๆหลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4. มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อยๆทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5. ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อยๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำค่าไฟวัด เพื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัยส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์ อย่างสุจริต รวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพไม่ฉ้อโกงใครแม้แต่สลึงเดียว และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง



ผิด ศีลข้อ 3 (ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น,กีดกันความรักคนอื่น,นอกใจคู่ครอง,หลอกลวง, ข่มขืน,ค้าประเวณี, ล่วงเกินทางเพศต่างๆ) ผลกรรมคือ
1. หาคู่ครองไม่ได้ ,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์ ,โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2. เป็นหม้าย ,ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง,คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3. คนรักนอกใจ ,คนรักมีชู้ ,มีเมียน้อย ,คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้ ,โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี ,โดนข่มขืน
4. ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก ,พ่อแม่ทอดทิ้ง ,ชีวิต
ขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย,ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศทางร่างกาย,ทางจิตใจ,ถูกกีดกันทางความรัก,สังคมไม่ยอมรับความรักของตน,มีความรักหลบๆซ่อนๆ
6. ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ(ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา — ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิด
ทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจ
เดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง
หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จัก เอาใจใส่คู่ครองคนรัก เอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญทำให้ความรักของเราสดใสไม่ เจ็บช้ำ หากทรมาณพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอๆกับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้



ผิด ศีลข้อ 4 (โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่น ใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญา สาบานแล้วไม่ทำตาม ) ผลกรรมคือ
1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา โดย” ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียด นินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่าไม่เถียงไม่นินทาผู้มีพระคุณเช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ให้คำสัญญาใครไว้ต้องรักษา อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่างๆก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและ ตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อยๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะ พูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูดไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น



ผิดศีลข้อ 5 (ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด) ผลกรรมคือ
1. สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2. เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3. หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4. ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5. เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6. มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา โดย” ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่าย จ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทานวิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไป และอื่นๆตามแต่ท่านจะสะดวกและตามกำลัง

ขอขอบคุณ:http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B8-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-341412.html

บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากพุทธภาษิตนี้ พระพุฒโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย ได้นำมาเขียน สรุปไว้ในผลงานของท่านว่า ขึ้นชื่อว่าผลกรรมแล้วไม่มีใคร สามารถห้ามได้  นั้นก็ หมายความว่า คนเราเมื่อทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ถึงคราวที่ความดีความชั่ว จะให้ผลนั้นย่อม ไม่มีใครห้ามได้ แม้พระพุทธเจ้า ของเราเองก็ทรงห้ามไม่ได้"
ความจริงข้อนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 32 (ขุททกนิกาย อปทาน) ซึ่งในพระไตร ปิฏกเล่มนี้ มีกล่าวไว้ว่า ...พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่มาให้ผลแก่พระองค์กรรม เก่าที่ตรัสเล่านั้นเป็นกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติ เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แล้วมาให้ผลใน ชาติปัจจุบันถึงแม้ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังไม่พ้นไป จากผลของ กรรมเก่านั้นซึ่งนำมาสรุปกล่าวได้ดังนี้

กรรมเก่าอย่างแรก คือ แกล้งโคไม่ให้ดื่มน้ำ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนเลี้ยงโค ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคแวะดื่มน้ำข้างทาง เกรงจะชักช้าจึงไล่แม่โคไม่ให้ดื่มน้ำ ด้วยการแกล้งเอาไม้กวนน้ำให้ขุ่น บาปกรรมในชาตินั้นส่งผลมาถึงชาิตินี้ แม้จะได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ส่ง ผลให้พระองค์กระหายน้ำแล้วไม่ได้เสวยสมปรารถนาทันที เมื่อคราวใกล้จะเสด็จ ดับขันธ ปรินิพพาน

กรรมเก่าอย่างที่สอง คือ กล่าวตู่ผู้มีศีลด้วยเรื่องไม่จริง
พระองค์ตรัสเล่าว่า เป็นกรรมเก่าทำไว้ในหลายชาติในอดีตดังนี้ ในชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นนักเลง ชื่อ "ปุนาลิ" ได้กล่าวตู่ (ใส่ร้าย) พระัปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า "สุรภี" ว่าทำผู้หญิงท้อง ตายจากชาิตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ ก็ส่งผลให้พระองค์มาถูกนางสุนทริกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนตั้งครรภ์ ต่อมาในชาติหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ได้ทรงกล่าวตู่พระเถระชื่อ "นันทะ" พระสาวถองค์หนึ่ง ของพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องทำนองเดียวกัน ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานนับหมื่นปี เกิดมา ในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูก นางจิญจมาณวิกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนนางตั้งครรภ์อีกเช่นกัน

กรรมเก่าอย่างที่สาม คือ ฆ่าน้องชายต่างมารดา
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกเศรษฐี บิดาของพระองค์มีภรรยาหลายคน ภรรยาคนหนึ่ง มีลูกชายพระองค์เกรงว่าทรัพย์สมบัติส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งไปให้แก่น้องชายต่าง มารดานั้นจึงลวงน้องชายไปฆ่าที่ซอกเขา แล้วเอาหินทับไว้ ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานปี เกิดมาในชาิตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตกลิ้งหินกระทบนิ้ว พระบาทจนห้อ พระโลหิต


กรรมเก่าอย่างที่สี่ คือ จุดไฟดักทางพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นเด็กแสนซน วันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับเพื่อนเด็ก เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังเดินมา จึงชวนกันจุดไฟดักทางเพื่อมิให้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้ ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมยังหลงเหลืออยู่ก็ ส่งผลให้พระองค์ถูกไฟไหม้ที่พระบาท

กรรมเก่าอย่างที่ห้า คือ ไสช้างจับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต คราวที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มีพระปััจเจกพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก พระองค์เกิดเป็นควาญช้าง วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งบิณฑบาตแล้วเกลียดจึงไสช้างให้จับ พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น ตายจาก ชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตยุยงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรีมาแทงพระองค์

กรรมเก่าอย่างที่หก คือ นำทหารออกศึก
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบฆ่า ข้าศึกตายเป็นจำนวนมากด้วยหอก ตายจาก ชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตชักชวนนายขมังธนูผู้ดุร้ายมาฆ่า

กรรมเก่าอย่างที่เจ็ด คือ เห็นคนฆ่าปลาแล้วชอบใจ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกชาวประมง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลา แล้วเกิดความสนุกยินดีสนุกสนาน มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์รู้สึกปวดพระ เศียรเมื่อคราวที่พวกเจ้าศากยะพระประยูรญาติของพระองค์ ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลยกทัพบุกสังหาร

กรรมอย่างที่แปด คือ ด่าพระสาวกของพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนปากกล้าด่าว่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าผุสสะ (พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 17 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี) และพูดแดกดันทำนองว่าให้ท่านเหล่านั้นได้ฉันแต่ข้าวชนิดเลว อย่าให้ได้ฉันข้าวดีๆอย่างข้าวสาลีเลย ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์ได้รับนิมนต์จากพราหมณ์เวรัญชาให้ไปจำพรรษาใน เมืองเวรัญชา ครั้นพระองค์เสด็จไปถึงก็เกิดข้าวยากหมากแพง ทำให้พระองค์ต้องเสวยข้าวชนิดเลว(ข้าวแดง)อยู่นานถึง 3 เดือน

กรรมอย่างที่เก้า คือ มีส่วนร่วมในการจัดมวยปล้ำ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนจัดมวยปล้ำ มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วบาป กรรมยังส่งผลให้พระองค์มีโรคประจำตัวพระองค์คือ ปวดพระปฤษฏางค์ (ปวดหลัง)

กรรมอย่างที่สิบ คือ เป็นหมอยารักษาคนไข้ตาย
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นหมอยารับรักษาลูกชายเศรษฐี โดยวิธีให้ถ่ายยา จนลูกชายเศรษฐีตาย ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรก มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ก็ส่งผลให้พระองค์เกิดพระโรคปักขันทิกาพาธ(โรคท้องร่วง) หลัีงจากเสวยสุกรมัททวะก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

กรรมอย่างที่สิบเอ็ด คือ เยาะเย้ยพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นชายหนุ่มชื่อ "โชติปาละ" วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ (พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 26 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี) แล้วกราบทูลทำนองเย้ยหยันว่า ทำไมจึงได้ตรัสรู้ช้าต้องบำเพ็ญพียรอยู่นานกว่าจะตรัสรู้ได้ มาเกิดในชาตินี้ซึ่งแน่นอนว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ แต่ด้วยผลกรรมนั้นจึงส่งผลให้พระองค์หลงทางในการแสวงหาโมกธรรม จนต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา อันทำให้พระองค์ต้องประสบกับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสกว่าจะตรัสรู้ได้


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือกรรมเก่าที่ไม่ดีของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสเล่าไว้อย่างเปิดเผย พระไตรปิฏกบอกว่าพระองค์ตรัสเล่า ให้พระสาวกจำนวนมากที่มาเฝ้าพระองค์ฟังขณะที่ประทับนั่งอยู่บนพื้นหินแก้ว ในละแวกป่าใกล้สระอโนดาตเชิงป่าหิมพานต์ ณ ที่นั้นนอกจากจะได้ตรัสถึงกรรมเก่าที่ไม่ดีแล้วพระองค์ก็ทรง

ตรัสถึงกรรมเก่าที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยให้พระองค์ได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ไว้ด้วย นั่นคือ ถวายผ้าเก่าแก่พระ พระองค์ตรัสเล่าว่าในชาติหนึ่งในอดีตนั้นพระองค์เกิดเป็นคนยากจนเห็นพระสาวก ของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่งซึ่งถืออยู่ป่า เป็นวัตรแล้วเลื่อมใสจึงถวายผ้าห่มเก่าผืนเดียวที่ตัวเองมีอยู่แก่ท่านพร้อม กันนั้นก็ได้ฟังเรื่องราวของพระพุทธเจ้า จากพระสาวกรูปนั้นแล้วเกิดเลื่อมใสยิ่งขึ้นจึงตั้งจิตปรารถนาเป็นพระ พุทธเจ้าเป็นครั้งแรกการเริ่มต้นปรารถนา แต่ครั้งนั้นของพระองค์ส่งผลให้ทำความดีมาอย่างต่อเนื่องจนมาได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าในชาตินี้

เรื่องราวที่กล่าวมานี้ย่อมชี้ให้เห็นว่ากรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ ตามย่อมคอยโอกาสให้ผลอยู่ตลอดเวลา ตราบที่ผู้ทำกรรมยังเวียนวายตายเกิดแม้ชาติสุดท้ายจะได้บรรลุอรหัตผลแล้วแต่ โดยเหตุที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งชีวิต นี้เกิดมาจากกรรมเก่าฉะนั้นยังคงต้องได้รับผลอยู่ดี
พระพุทธเจ้าของเราเองก็เช่นกัน แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วแต่กรรมเก่าก็ยังหาโอกาสให้ผลอยู่เป็น ระยะกรรมเก่าบางอย่างก็ให้ผล มาแล้วแต่ยังมีเศษเหลืออยู่ แต่กรรมเก่าบางอย่างก็ยังมิได้ให้ผลมาเลยและมาให้ผลเต็มในชาตินี้ เห็นไหมว่ากรรมยิ่งใหญ่ขนาดไหนพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราเข้าใจ ให้ถูกต้องและการแก้กรรมที่ดีนั้นก็คือ ไม่ทำความชั่วทำแต่ความดีแล้วจิตของเราก็จะพบกับความสุขสมบูรณ์แล.

ขอขอบคุณ:http://board.palungjit.com/f14/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2-352965.html#post6507554

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์