เทวาลัยพิมานอากาศจำลอง

ปราสาทพิมานอากาศ เป็นศิลปะแบบคลัง ฮินดู ไศวนิกาย สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๕ รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ ๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ และพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ปลาย ๑๗)

องค์พระนางโสมาสีวิกาเทวะนาคเทวี

พระนางเกิดขึ้นได้จากการที่องค์เทพสามตา ได้เสกด้วยอาคมอันเชิญจิตเทพนาคราชทั้ง ๙ มากำเนิดเป็นนางนาคชื่อ โสมา

พระนามองค์นาคราช และรายละเอียดเฉพาะองค์

ลักษณะเด่นประจำองค์ ฐานันดรศักดิ์ สถานที่ประทับ ฉลองพระองค์ และผู้เกี่ยวข้อง

กว่าจะเป็นเทวาลัย

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลในทีมงาน ผู้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์พญานาคราชในอดีตชาติตามญานนิมิต และตามประสบการณ์ตรงที่ได้รับของแต่ละบุคคล

เลือดนาคราช

เลือดนาคราช จากการที่ปู่เปิดญาณนาคราชทั้ง 9 ในวันที่ 25/06/55 และปู่ได้ทำน้ำมนต์นี้ขึ้น และปรากฎว่ามีเกร็ดเลือดจากนาคราช ทั้ง 9 ให้ได้เห็นกัน

เทวาลัยพิมานอากาศ ในปัจจุบัน

ปฏิปทา ศรัทธา ของ ทีมงานทุกคน ในการร่วมสร้างเทวาลัยพิมานอากาศ และเพื่อสืบสานศรัทธาในองค์นาคราช ศูนย์รวมนาคราชองค์ที่มีเชื่อสายขอมจะมาสักการะ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9. ปราสาทที่เป็นผลงานของ องค์มณีรัชตินาครา

อ่าน: กลุ่มปราสาทในอาณาจักรของพระนางใครเป็นคนสร้าง

ปราสาทเจ้าสายเทวดา


ปราสาทเจ้าสายเทวดา จากถนนเดินเข้ามาสัก เกือบร้อยเมตรเป็นปราสาทขนาดย่อมมากๆ ไม่ใช่ย่อมธรรมดา ถ้าเปรียบเทียบกับนครวัด

        ปราสาทเจ้าสายเทวดา สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 17  รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เป็นศิลปะแบบนครวัด อิทธิพลศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ตรงข้ามปราสาทธรรมานนท์ สร้างเพิ่มเติมโดยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2 จนสิ้นสุดในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

สำรวจอยู่ภายนอกเท่านั้น ไม่ได้เข้าไปข้างใน

ทับหลังลวดลายนาคราช เล็กใหญ่ซ้อนกันอยู่บนล่าง

รายละเอียดของตัวปราสาทจัดว่างดงาม แม้จะเป็นปราสาทขนาดเล็ก

เหมือนยกปราสาทบริวาร จากนครวัดมาตั้งไว้กลางป่า

เล็กขนาดนี้ก็เรียกว่าปราสาทได้เหมือนกัน

มุมมองจากฝั่งตรงข้าม เมื่อเดินข้ามฝั่งถนนมาที่ปราสาทธมมานนซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน

ขอขอบคุณ: http://www.baanjomyut.com/travel/cambodia/chau_say_tevoda.html

8. ปราสาทที่เป็นผลงานของ องค์จันทรคุปต์นาคราช

อ่าน: กลุ่มปราสาทในอาณาจักรของพระนางใครเป็นคนสร้าง

ปราสาทบาปวน

จากปราสาทธมมานน ตรงเข้านครธม เหมือนจะย้อนกลับทางเดิม
ผ่านซุ้มประตูทางเข้าด้านหนึ่งไป

โผล่มาตรงลานช้าง ลานพระเจ้าขี้เรื้อน สู่ปราสาทบาปวน

ไปต่อจากเมื่อวานนี้ตรงสะพานทางเข้าปราสาทที่วิ่งหนีฝนออกไปอย่างคนพ่ายแพ้ และเปียกปอน

ผ่านซุ้มที่หักพังลงแล้วโดยสิ้นเชิง ตรงช่วงกลางสะพาน

หนทางยังอีกไกล ปราสาทบาปวนก็ไม่ต่างไปจากภูเขาลูกหนึ่งที่ดูว่าใกล้ตา

สุดสะพาน ขึ้นบันไดสู่ฐานตัวปราสาทในชั้นแรก

ด้านข้างๆ

เดินเข้ามาไกลเหมือนกัน สะพานหินค่อนข้างยาวมากเมื่อมองจากมุมนี้

จากช่องซุ้มทางเข้าด้านหน้า

ซุ้มระบียงยาวเชื่อมต่อซุ้มทางเข้าตรงบันได

พ้นซุ้มระเบียงออกมา เผยให้เห็นตัวปราสาทตั้งอยู่บนลานกว้างมาก

ซุ้มทางขึ้นอีกชั้น เห็นบันไดแล้วเข่าอ่อน แต่ก็ไม่เคยเข็ดขยาด

สามารถมองย้อนลงไปได้ นั่นย่อมหมายถึงว่าฉากเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายได้จบลงแล้ว

ระเบียงทางเดิน สามารถเดินชมได้รอบๆ

เห็นเงาบันได ตะคุ่มๆ ชักจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

เลี่ยงไปทางอื่น

ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีสิ่งดึงดูด

ที่สุดก็ขึ้นมาอีกจนได้

พบว่าก็ยังไม่ถึงด้านบนสุด บันไดมีไว้เพื่อท้าทาย....

สูงมาก แทบจะสูงที่สุดแล้วที่ผ่านมา

ยิ่งถ้าได้ป่ายปีนขึ้นบันไดไปอีกสักชั้น

ป้ายห้ามขึ้น ถือเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิตชีวิตอีกครั้ง

เดินรับลมร้อน แค่เชือกเท่านั้นที่กันคนกระโดดเล่น

ปราสาทบาปวน สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1603) รัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 เป็นศิลปะแบบบาปวน ศาสนาฮินดู

ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง

ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน

หน้าตาคุ้นๆ ทางลง ยังคงจำได้ทุกครั้งไม่เคยลืมเลือนความรู้สึกตอนลงจากที่สูงที่แล้วๆมา ความรู้สึกเดียวกันเลยเกิดคำถามขึ้นในใจทุกครั้ง คือจะขึ้นมาทำไม

สมาธิต้องมี ความระมัดระวังก็ต้องมีอยู่ตลอดเวลาทุกก้าวย่างและความศรัทธาในชีวิตถือเป็นสิ่งสูงสุด

ที่เรียกว่าประสบการณ์มันสอนเรา เข้าใจลึกซึ้งถ่องแท้

เวรกรรมมันเป็นของมีจริง ที่ว่าทำไว้ยังไงก็ได้ยังงั้นขึ้นมาได้ ก็ต้องลงไปได้ด้วย คนเรา....

ก็เป็นคนธรรมดาเดินดิน ก็ต้องตะเกียกตะกายกันไป จะให้บินคงไม่ได้

ถึงพื้นด้วยความปลอดภัยอีกครั้ง ผ่านทางบันไดนี้

เดินไปตามป้ายเส้นทางเดินนักท่องเที่ยว บนฐานปราสาท

ปราสาทบาปวน สถาปัตยกรรมชั้นสูง ซึ่งมองจากตรงนี้เหมือนกองอิฐ กองหิน

สูงสุดสู่สามัญ ทางบันได สุดท้ายแล้วของทริปนี้

คำถามยังคงไม่ได้รับคำตอบ บางครั้งอาจเป็นแค่เรื่องของกิเลสพื้นๆที่มนุษย์ทั่วไปๆต่างมีกัน

คันดินเส้นทางเดินนักท่องเที่ยว วนรอบนอกปราสาทมองเห็นฐานปราสาทชั้นล่างที่เพิ่งลงมาเมื่อครู่

สูงมากเมื่อมองจากตรงนี้

ถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์โดยมนุษย์ ที่งดงามอีกชิ้นหนึ่ง

การที่ได้กดดันตัวเองจนถึงขีดสุด ก็เหมือนกับว่าได้เรียนรู้ศักยภาพของตัวเอง

เลาะลงมาเดินตามทาง ข้างฐานปราสาท

สองข้างทางเป็น กองงานบูรณะซ่อมแซม

เหมือนพิพิธภัณฑ์หินกลางแจ้ง

ถือเป็นการจัดระเบียบสังคมหิน

ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ให้ครอบครัวเป็นครอบครัว

การรอคอย ไม่แน่ว่าอาจชั่วนาตาปีแต่อย่างน้อยมันก็ได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่ อย่างสง่างาม

สะพานยาวเหยียดตั้งแต่ทางเข้าจนถึงตัวปราสาท

และที่สำคัญ แน่นอนว่าแทบทุกปราสาท ย่อมต้องมีแหล่งน้ำ

ที่สุดแล้ว ก้อนหินเหล่านี้ก็ยังคงทรงคุณค่าเทียบเท่าปราสาท

คือกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่สัมผัสจับต้องได้และด้วยทุกประสาทสัมผัส รับรู้

ปราสาทบาปวน อยู่ไกลๆ

ออกมาทางลานช้าง

เอาไว้ขึ้นช้างหรือเปล่าแถวนี้

ฐานพลับพลาสร้างด้วยหินสลักเป็นรูปช้างและครุฑพ่าห์ พื้นพลับพลาเป็นหินตั้งอยู่ด้านหน้าประตูพระราชวังมีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน คือมุขช้างเอราวัณและมุขรูปครุฑพ่าห์มีบันไดขึ้นลงได้ 5 ทาง บันไดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง เป็นทางพระราชดำเนินที่จะใช้ลงไปยังสนามหลวงของพระมหากษัตริย์เท่านั้น

จากลานช้างข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม เป็นลานกว้างที่เรียกว่า สนามหลวง

มองเห็นปราสาทบายนอยู่ไกลๆ เบื้องหน้า

ผ่านปราสาทบายนอีกรอบ

ขอขอบคุณ: http://www.baanjomyut.com/travel/cambodia/baphuon.html

 
ขอขอบคุณ http://www.youtube.com : เพลงพระทอง-นางนาค / พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์